ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๘

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๘…

…”การปฏิบัติธรรมคือการทำกิจชีวิตจึงมีกิจที่ต้องทำ” คนเรานั้นมีการสื่อสารกันด้วยการใช้ภาษาทั้งภาษาพูดและภาษากายสื่อความหมายเพื่อให้เข้าใจกันและการพูดของคนเรานั้น ก็มีหลายประเภทเช่น คิดดี พูดดีทำดี…คิดดี พูดดี แต่ทำไม่ได้

…คิดดี พูดไม่ดี แต่ทำได้ คิดดี พูดไม่ดี และทำไม่ได้คิดไม่ดี พูดดี แต่ทำไม่ได้คิดไม่ดี พูดไม่ดี และไม่ทำอะไรโปรดลองคิดเล่นๆดูว่าเราอยู่ประเภทไหน (ห้ามคิดเข้าข้างตัวเองนะ) คนบางคนพูดดีจนกลายเป็นดีแต่พูด เพราะพูดแล้วไม่เคยทำได้อย่างที่พูดเลย

…การพูดหรือการแสดงออกทางกายนั้น บางครั้งทำให้เรารู้ถึงความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของเขา เพราะคำพูดสีหน้า แววตา มันสื่อถึงความรู้สึกภายในของเขา ซึ่งถ้าเราเป็นผู้ฟังหรือคู่สนทนา ควรที่จะสังเกตในอาการเหล่านั้นและการพูดนั้นมันสื่อให้รู้ถึงภูมิปัญญาของผู้พูด ว่ารู้จริงหรือไม่ หรือว่าได้แต่พูดโดยไม่รู้จริง แต่คนที่นิ่งไม่พูด ไม่แสดงออกนั้น เราอ่านความรู้สึกนึกคิดของเขานั้นยากเพราะเขาไม่ยอมเผยตัวตนที่แท้จริงออกมา…

…เหมือนดั่งคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “น้ำนิ่งไหลลึก”เราไม่รู้ว่าเขาคิดอย่างไร เหมือนกับสายน้ำที่ลึกและกว้างใหญ่ ผืนน้ำด้านบนคล้ายดั่งสงบนิ่ง แต่ว่าเบื้องล่างกระแสน้ำไหลเชี่ยวและแรง ฉะนั้นอย่าได้รีบตัดสินโดยสายตาที่มองเห็น จงคิดและพิจารณาให้ถ้วนถี่ รอบคอบเสียก่อน แล้วจึงตัดสินว่าสิ่งนั้นมันเป็นอย่างไร อย่ารีบด่วนสรุปว่าเขาเป็นอย่างไร โดยเพียงคำพูดและการกระทำ ที่เราได้เห็น ได้รู้หรือได้ยิน ต้องศึกษากันไปก่อนให้คุ้นเคยกัน แล้วจึงจะสรุปว่าเขาเป็นอย่างไร…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑ กันยายน ๒๕๖๕…