ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๓…

…มีพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐานเป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้ เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขรและสัตว์จตุบาท ทวิบาทนานาชนิดบุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบายมีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่ปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อย ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน” ….

…”สวรรค์ อยู่ในอก
และนรก อยู่ในใจ “
เราทำ สิ่งใดไว้
รู้แก่ใจ ของเราเอง

…ดีชั่ว ตัวกำหนด
จะละลด ควรรีบเร่ง
ความชั่ว จงกลัวเกรง
อย่าอวดเบ่ง เพราะถือดี

…บาปกรรม อันน้อยนิด
จะตามติด ไปทุกที่
ส่งผล ทางไม่ดี
ให้เรามี ความทุกข์ใจ

…ความดี ควรรีบทำ
เพื่อจะนำ จิตสดใส
ความดี ที่ทำไป
ส่งผลให้ ได้เจริญ

…เมื่อใจ ไม่คิดชั่ว
และทำตัว น่าสรรเสริญ
พาใจ ให้เพลิดเพลิน
จิตเจริญ ในทางธรรม

…มองโลก ในแง่ดี
ก็จะมี ความสุขล้ำ
ความชั่ว ไม่ครอบงำ
ก็จะทำ แต่สิ่งดี

…สิ่งดี เริ่มที่จิต
อยู่ที่คิด ไม่ผิดที่
คิดดี และทำดี
เพียงเท่านี้ ดีก็มา

…ใจดี ก็มีสุข
เพราะว่าทุกข์ ไม่มาหา
ใจสุข ภาวนา
เกิดปัญญา เห็นความจริง

…ความจริง ของชีวิต
เห็นเมื่อจิต นั้นอยู่นิ่ง
มองเห็น สรรพสิ่ง
เห็นความจริง คือเห็นธรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๒

..ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๒…

…ในยามที่จิตคิดฟุ้งซ่าน การเข้าไปจัดการความฟุ้งซ่านให้ดับลง ต้องใช้การน้อมใจมาดูจิต ดูความคิดทั้งหลายของเรา เอาจิตถามจิต ว่าทำไมต้องคิดต้องปรุงแต่งคิดแล้วได้อะไร คิดแล้วทำได้หรือไม่ สิ่งที่คิดนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล คิดแล้วมีผลเป็นอย่างไรมีคุณหรือไม่ อะไรเป็นเหตุที่ทำให้คิดเอาจิตถามจิต หาคำตอบที่จิตของเราเองเอาจิตถามจิต จนเห็นที่เกิดของจิตคือเห็นต้นเหตุแห่งความคิด จึงจะเข้าใจในความคิด เข้าใจจิตและเข้าใจในธรรมซึ่งต้องหมั่นทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ จนเกิดเป็นความเคยชินของจิต เมื่อมีสิ่งมากระทบและทำให้เกิดความคิด ทำให้จิตแปรเปลี่ยนไป ตามดู ตามรู้ ตามเห็น ให้ทันกับสิ่งเหล่านั้นที่เกิดขึ้น

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๒”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๖

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๖…

…นรกหรือสวรรค์ นั้นเป็นสิ่งที่ยังไม่เห็นในวันนี้ แต่สิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ คือความสุขและความทุกข์ทั้งหลาย ที่เราสัมผัสได้ในปัจจุบัน ทำอย่างไรที่เราจะอยู่กับมันอยู่เหนือมัน ทำอย่างไรให้ใจของเรานั้นไม่สับสนและวุ่นวาย นั้นคือสิ่งที่เราต้องทำในวันนี้ เป็นสิ่งที่เห็นและสัมผัสได้ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ยากถ้าคุณคิดที่จะทำ…

…ทบทวน ในข้อธรรม
เพื่อเตือนย้ำ จิตสำนึก
ควบคุม ความรู้สึก
มีสติ ควบคุมกาย

…รู้ตัว อยู่ทั่วพร้อม
จิตนำน้อม สู่จุดหมาย
ตั้งจิต ไว้ในกาย
ไม่ส่งออก ควบคุมตน

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๖”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๗

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๗…

…สติและสัมปชัญญะ การระลึกรู้และความรู้ตัวทั่วพร้อมที่น้อมเข้าหาธรรม จะนำมาซึ่งความสุขและความสงบ เป็นสิ่งที่เรารับรู้ได้ด้วยจิต มันเป็นความรู้สึกที่รู้ได้เฉพาะตนสิ่งนั้นคือความเป็น “ปัตจัตตัง”

…เมื่อเรานั้นได้ย้อนมาพิจารณากายจิตของเราเราย่อมได้รู้ถึงสภาวะที่เป็นอยู่ของกายจิตเราสุขหรือทุกข์ สับสนวุ่นวายหรือสงบ สิ่งเหล่านั้นไม่มีใครจะมารู้ดีกว่าตัวของเราเอง ดั่งที่ครูบาอาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า “ไม่มีใครรู้ซึ้งเท่าหนึ่งจิต”หากเราให้เวลาแก่ชีวิต หันมาพิจารณาดูกายดูจิตตัวของเราเอง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๗”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๒…

…ฝากสายลม ผ่านร่มไม้ จากชายน้ำ บันทึกเรื่องราวความรู้สึกนึกคิดของจิตวิญาณ ผ่านกาลเวลาแห่งช่วงอารมณ์ มันคือปัจจุบันธรรม อันเป็นธรรมชาติของจิตที่แท้จริงที่เราควรคิดพิจารณา

…“ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็นแล้วก็ปล่อย” สิ่งนี้เป็นคติธรรมที่ใช้ในการสอนศิษย์และคนใกล้ชิดทั้งหลาย เพื่อที่จะได้รู้พื้นฐานความคิดและจิตสำนึกของเขาเหล่านั้นว่าเขามีพื้นฐานเป็นอย่างไร โดยการกระทำทางกายให้เห็น ทำให้เป็นตัวอย่าง ไม่ต้องกล่าวไม่ต้องสอนด้วยวาจาในเบื้องต้น

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๑…

…อย่าดูหมิ่นว่าบุญเล็กน้อยไม่มีผลการสะสมบุญทำให้มีความสุขและเป็นที่พึ่งของตนในโลกหน้า ถ้าทำบุญช้าไป ใจจะยินดีในบาป…
…พุทธพจน์…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๑”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๕

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๕…

…ทุกครั้งที่รู้สึกตัว ตื่นขึ้นมาจะกำหนดจิตระลึกย้อนไปถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาของช่วงเวลาที่ผ่านไปในวันที่ผ่านมา ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นจากภายนอกและสิ่งที่เกิดขึ้นจากภายในที่สัมผัสได้ด้วยกายและรับรู้ได้ด้วยจิต ในสิ่งที่คิดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่ทำ เป็นการทบทวนธรรมฝึกความจำ คือการระลึกรู้อดีตนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้นซึ่งเป็นวิธีการฝึกจิตอย่างหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๕”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๖

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๖…

…มีบางครั้งที่รู้สึกท้อแท้และเบื่อหน่ายต่อสังคม แต่เมื่อสติระลึกได้ ก็ปรับความรู้สึกได้ ละวางซึ่งอารมณ์นั้น เป็นธรรมดาของชีวิตและความคิดที่เกิดขึ้น เพราะมันมีเหตุและปัจจัย “ธรรมารมณ์สิ่งที่มากระทบจิต” ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดจิตไปเสพรับรู้ซึ่งอารมณ์นั้นและปรุงแต่งมันให้มีกำลังเพิ่มขึ้น ถ้าไม่รู้จักควบคุมใจหมั่นดูจิตของตน ปล่อยให้ความคิดมันปรุงแต่งไป ใจนั้นก็จะเป็นทุกข์เพราะเข้าไปยึดถือ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่๑๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่๑๑…

…เหนื่อยล้ากับการแรมรอนของชีวิตบางครั้งเคยคิดที่จะหยุดซึ่งลมหายใจอยากจะจากไปโดยไม่ต้องหวนกลับมาบอกลาซึ่งการเกิดแก่และเจ็บตายแต่ยังทำไม่ได้เพราะบุญกุศลไม่เพียงพอจึงต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปในโลกที่แสนจะวุ่นวายทำให้ยอมรับกับความจริงสิ่งเหล่านั้นให้ได้

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่๑๑”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๐

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๐…

… จงเป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่เลี้ยงง่ายไม่สร้างความลำบากใจ ความอึดอัดและความกดดันให้แก่บุคคลรอบข้างให้ทุกอย่างเป็นไปตามสามัญลักษณะของธรรมชาติที่มันควรจะเป็น โดยมีธรรมวินัยเป็นกฎกติกาของชีวิตและเป็นกิจที่ต้องกระทำ อย่าได้ไปตั้งกฎกติกาใหม่ขึ้นมาเพื่อสนองตอบตัณหาของตนเอง ไม่ควรตัด ไม่ควรเติมเพิ่มในสิ่งที่พระพุทธองค์นั้นทรงตรัสไว้ชอบแล้ว ตรัสไว้ดีแล้ว เพราะสิ่งที่ไปตัดออกหรือเพิ่มเข้ามาใหม่นั้นมันมาจากตัณหา ความอยากความต้องการของเราเองทั้งนั้น ที่อยากจะให้มันเป็นไปตามที่ใจของเรานั้นปรารถนาและต้องการ มันเป็นการทำเพื่อสนองตอบ ตัณหาของตัวเราเอง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๐”