บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๐

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๐…

…โกโธ ธัมมานัง ปริปันโถ ความโกรธเป็นอันตรายต่อสติและปัญญาของตนเอง ถ้าเผลอสติหลงไปกับอารมณ์นั้นมันจะเป็นการทำลายตนเอง ความโกรธจึงเป็นอันตรายต่อธรรมทั้งหลาย ทำลายชื่อเสียงเกียรติยศและความดีทั้งหลายให้พังทลายลง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๐”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๙

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๙…

…คำว่า “คน” คือคลุกเคล้า ให้เข้ากัน
สารพัน สารพัด จะจัดหา
มาหล่อรวม ร่วมไว้ ในโลกา
นี่ละนา นี่ละหนา คำว่า “คน”

… โลกสับสน วุ่นวาย มาหลายยุค
ให้เกิดทุกข์ โทษภัย มาหลายหน
เพราะต่างคน ต่างเอา แต่ใจตน
ไร้เหตุผล จนต้อง ทะเลาะกัน

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๕…

…บางครั้งในสิ่งที่ไม่อยากจะทำก็ต้องทำและในสิ่งที่อยากจะทำก็ไม่ได้ทำ เพราะว่าทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่กับ จังหวะ เวลา โอกาสสถานที่และตัวบุคคล เป็นเหตุและปัจจัยให้เกิดสิ่งนั้น พิจารณาเป็นธรรมะ มันก็อยู่ในฐานเวทนาหนึ่งในสติปัฏฐาน ๔ คือ ความยินดีและไม่ยินดี ถ้าเราได้กระทำในสิ่งที่เรายินดี ในสิ่งที่ชอบในสิ่งที่ใช่ใจของเราก็จะมีความยินดีพอใจในสิ่งที่กระทำนั้น

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๕”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๔…

…อดีตที่ผ่านมานั้นคือบทเรียน มันเป็นบทเรียนของชีวิต มีทั้งการลองผิดและลองถูกสลับกันไป ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น มันไม่ใช่ความล้มเหลวแต่เป็นประสบการณ์ของชีวิตและเป็นการเรียนรู้กับชีวิต ไม่ยึดติดฝังใจอยู่กับความผิดพลาดที่ผ่านมานำสิ่งนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆทำให้ดีกว่าที่ผ่านมาชีวิตนั้นต้องเดินไปข้างหน้า สิ่งที่ผ่านมาทั้งหลายนั้นคือประสบการณ์ของชีวิต

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๔”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๙

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๙…

…อนุวิจฺจการํ กโรหิ…
“ จงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ ”
…พุทธสุภาษิต อุปาลีวาทสูตร ๑๓/๖๒…

…“ทำงานทุกชนิดให้จิตนั้นอยู่กับธรรม” คือพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างด้วยหลักธรรมมีสติระลึกรู้และความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา รู้จักแยกแยะถูกผิด ชั่วดี รู้จักข่มจิตข่มใจไม่คล้อยตามกิเลสความอยากทั้งหลายที่เป็นอกุศลกรรม มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปคุ้มครองจิตอยู่ทุกขณะทำหน้าที่ของตนไปตามบทบาทและหน้าที่ให้เต็มกำลังความรู้ความสามารถของตนเอง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๙”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๘

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๘…

๐ จงทำงาน ทุกชนิด ด้วยจิตว่าง
คือละวาง อัตตา และทิฐิ
เพื่อวางแผน ก่อนงาน การเริ่มริ
ด้วยการตริ การตรอง มองดูงาน

๐ การทำงาน ต้องประสาน สรรพสิ่ง
ให้เป็นจริง ไปได้ ทุกสถาน
ให้เหมาะสม กับปัจจัย และเหตุการณ์
การทำงาน คือการ ประพฤติธรรม

๐ คือการเอา หลักธรรม นำความคิด
และฝึกจิต ฝึกใจ ไม่ใฝ่ต่ำ
จงอย่าให้ อัตตา เข้าครอบงำ
จงน้อมนำ เอาธรรม เป็นแนวทาง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๘”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๔…

…คติธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต….
คัดจากหนังสือ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ…..

…”การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง”…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๔”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๓…

…หลายคนอาจจะมองว่าชีวิตช่างวุ่นวายทำไปทำไมมากมาย ควรจะอยู่นิ่ง ๆ ทำกิจของสงฆ์ไป ไม่ต้องมาวุ่นวายกับเรื่องของทางโลก ก็เลยย้อนถามกลับไปว่า อะไรคือโลก อะไรคือธรรม ธรรมนั้นอยู่ที่ไหน ธรรมนั้นใครคือผู้ใช้ผู้ปฏิบัติธรรม โลกและธรรมคือของคู่กัน อาศัยซึ่งกันและกัน…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๓”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๘

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๘…

…เมื่อไหร่ที่เราคิดว่า การปฏิบัติธรรมนั้นทำให้เราฉลาดขึ้น ทำให้เราบริสุทธิ์ขึ้น ขณะนั้นเรากำลังหลงทาง หลงตัวเอง เพราะมันกำลังก่อเกิดอัตตา มานะทิฏฐิ การถือตัวถือตน โดยเราไม่รู้ตัวขึ้นมาทุกขณะนานวันไปมันจะมีมากขึ้น ยากที่จะแก้ไขได้…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๘”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๗

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๗…

…ความเป็นผู้รู้ประมาณในกาลเวลา…

“การแสดงความคิดเห็นนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเหมาะสมพอดีพอเหมาะและพอควร มากเกินไปมันจะกลายเป็นความฟุ้งซ่านไร้สาระน่าเบื่อหน่ายต่อผู้รับ ทำให้ความคิดเห็นต่อ ๆ ไปกลายเป็นสิ่งที่ถูกปฏิเสธไม่ได้รับความสนใจ ทั้งที่อาจจะเป็นความคิดเห็นที่ดี ๆ สิ่งนั้นคือเรื่องของกาลเทศะ การรู้จัก จังหวะเวลา โอกาส สถานที่และบุคคลที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจในการแสดงความคิดเห็นและการสนทนากับผู้อื่น”

…เป็นคำพูดที่ได้กล่าวแก่ผู้มาปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ ถึงเรื่องที่ควรระวังในการแลเปลี่ยนความคิดเห็นพูดคุย เพื่อนำไปสู่ความรู้และความเข้าใจและการตอบรับของผู้ฟัง…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๔…