ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๓…

…หลักธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้นจัดเรียงกันอย่างเป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่ไม่มีการขัดแย้งกัน สงเคราะห์อนุเคราะห์เกื้อกูลรองรับซึ่งกันและกัน เราไม่อาจจะไปปรับหลักทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ให้มาตรงกับความคิดเห็นของเรานั้นได้แต่เราสามารถที่จะย้ายจุดยืนของเรานั้นให้ไปตรงกับหลักที่วางไว้ตั้งไว้ได้

…เพียงเราปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมองของเราเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องรองรับกับหลักธรรม เพียงคุณเปลี่ยนความคิดชีวิตคุณก็จะเปลี่ยน

…น้อมจิตเข้ามาพิจารณาตัวของเราเองให้เห็นกาย เห็นจิต เห็นความคิด เห็นการกระทำ โดยการมีสติและสัมปชัญญะที่เป็นสัมมาทั้งหลายคุ้มครองกายจิตอยู่วางจิตให้เป็นกลาง ไม่เข้าข้างความคิดเห็นของตนเอง แล้วดวงตาเห็นธรรมก็จะเกิดขึ้นแก่ตัวคุณ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๒…

…การที่เราอยู่ร่วมกับหมู่คณะในสังคมนั้นเราต้องทำความรู้ ความเข้าใจกับสถานที่และตัวบุคคลในที่นั้นๆ เพราะว่าคนแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยธาตุและอินทรีย์ จึงทำให้มีความคิดและพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป เราจึงต้องทำความเข้าใจกับบุคคลและสถานที่นั้นๆ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๒”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๗

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๗…

…ย้ำเตือนบุคคลรอบข้างอยู่เสมอว่า

…อย่าได้เชื่อทันทีในสิ่งรู้และในสิ่งที่เห็นเพราะมันอาจจะชักนำไปสู่ความงมงายไร้ปัญญา ควรคิดพิจารณา ถึงเหตุและผลให้เห็นทุกข์ เห็นภัย เห็นโทษ เห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ของสิ่งที่รู้และสิ่งที่ได้เห็นนั้น

…ในทางกลับกัน อย่าได้ปฏิเสธทันทีในสิ่งที่ได้รู้และในสิ่งที่ได้เห็นนั้น เพราะการปฏิเสธในทันทีนั้น มันอาจจะทำให้เราเสียโอกาสขาดสติเกิดความประมาททางจิตขึ้นมาได้จงใช้สติสัมปชัญญะและปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ด้วยเหตุและผลแห่งทุกข์ ภัย โทษประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นนั้นแล้วจึงจะเชื่อหรือปฏิเสธ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๗”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๖

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๖…

… คุณค่าของวันเวลาที่ผ่านมานั้นจัดสรรให้มีค่ามากที่สุด เท่าที่จะทำได้ไม่ปล่อยให้ผ่านเลยไปโดยไร้ซึ่งประโยชน์ ทั้งในเรื่องทางโลกและในเรื่องทางธรรม ตอกย้ำจิตสำนึกในบทบาทภาระและหน้าที่ เพราะวันเวลาของชีวิตที่ได้ผ่านมานั้น มันคือกำไรของชีวิตแห่งการที่ยังมีลมหายใจอยู่

…ชีวิตก้าวข้ามความตายมาหลายครั้งในสมัยที่ยังไม่รู้จักคุณค่าของชีวิตเดินอยู่บนเส้นทางที่พลาดผิดห่างไกลธรรม เพลิดเพลินในการประกอบกรรมอันเป็นอกุศลโดยไม่มีความรู้สึกรักตัวและกลัวตายในสิ่งที่ทำ ชีวิตที่รอดมาได้จนถึงวันนี้มันจึงคือกำไรของชีวิต เมื่อมีความรู้สึกสำนึกผิด ชีวิตที่เหลือก็ไม่มีอะไรที่น่ากลัวอีกต่อไป…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๒…

…เร่ร่อนอยู่บนถนนที่ทอดยาว มากมายด้วยยวดยานที่ผ่านไปมา เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง หยุดบ้างพักบ้างเมื่อเหนื่อยล้า พบปะเจรจากับเพื่อนผู้ร่วมทาง ต่างคนต่างมีเป้าหมายของการเดินทาง

…เก็บเกี่ยวทุกอย่างที่เป็นประสบการณ์เรียนรู้ชีวิตและความคิดของผู้ร่วมทางนำมาเป็นแบบอย่างและปรับใช้ให้เหมาะสมกับความเป็นไปของชีวิตจังหวะ เวลา โอกาส สถานที่ และบุคคลคือเหตุผล และความเหมาะสม ของการดำเนินการ มองทุกสิ่งทั้งสองอย่างทั้งคุณและโทษ ให้เห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสิ่งเหล่านั้นจัดสรรทุกอย่างให้อยู่บนความเหมาะสม

…เรียนรู้และพอใจในสิ่งที่มีและเป็นอยู่ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็น แล้วก็ปล่อยทำหน้าที่ของผู้ให้… ให้สมบูรณ์… สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปเป็นเรื่องของวิบากกรรม…

…แด่การเดินทางของชีวิต…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๕ สิงหาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๑…

…ได้กล่าวบอกแก่ผู้คนที่มาหาเพื่อสนทนาธรรมเสมอว่าการปฏิบัติธรรมนั้นมันคล้ายกับการปลูกต้นไม้ ผู้ปลูกต้องมีความอดทนที่จะรอให้เห็นผลเฝ้าดูการเจริญเติบโตของต้นไม้นั้นรอจนถึงวันที่มันแตกดอกออกผลให้เราได้ชม ได้ใช้ผลหรือได้เก็บกินซึ่งทั้งหมดทั้งสิ้นนั้น มันต้องใช้ระยะเวลาแห่งการเฝ้ารอคอยหมั่นดูแลและบำรุงรักษา เพื่อมิให้ต้นไม้นั้นมีอันตรายจากสิ่งที่จะมารบกวนส่วนการเจริญเติบโตของต้นไม้นั้นมันเป็นไปตามกาลเวลาและอายุของมัน…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๑”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๖

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๖…

…เวลาจะช้าหรือจะเร็วนั้น มันขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเรา กับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ถ้าเรารู้สึกยินดีกับสิ่งที่กำลังเป็นและเพลิดเพลินกับสิ่งนั้นเราจะรู้สึกว่าเวลานั้นแสนสั้นเหลือเกินเพราะว่าใจของเรานั้นผูกพันยึดถืออยู่กับสิ่งนั้น ไม่อยากจะให้มันผ่านพ้นไป ในทางกลับกัน ถ้าในเวลานั้นเรารู้สึกไม่พอใจไม่ยินดีกับสิ่งที่กำลังมีและกำลังเป็น อยากจะให้มันผ่านไปจบสิ้นไปโดยเร็ว เราก็จะรู้สึกว่า เวลานั้นผ่านไปช้าเหลือเกินเพราะใจของเราไม่ชอบและปฏิเสธในสิ่งที่กำลังเป็นไป มันจึงรู้สึกว่าเวลานั้นผ่านไปช้ามาก

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๖”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๕

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๕…

…พยายามรักษาจิต ปรับความคิดและมุมมองใหม่ ปลีกตัวออกจากหมู่คณะนั่งดูกายดูจิต ดูความคิดของตนเองเพราะว่าถ้าเราไม่หลีกออกมาจากจุดนั้นยังติดอยู่กับปัญหาและบุคคล สถานที่นั้นมันก็จะเพิ่มความกดดัน เพราะมีผัสสะคือสิ่งกระทบอยู่ตลอดเวลา จึงต้องถอยออกมาตั้งหลัก พักกาย พักใจ ปรับจิตเสียใหม่ แล้วจึงเข้าไปแก้ไขปัญหา

…การที่จะแก้ไขปัญหานั้น เราต้องทำใจให้อยู่เหนือปัญหา คือละวางปัญหานั้นเสียก่อน อย่ามองว่ามันเป็นปัญหาของเราของพวกเรา หรือว่าเรานั้นมีส่วนร่วมในปัญหาเหล่านั้น ยกจิตออกจากปัญหาปรับความคิดเสียใหม่ แล้วมองย้อนไปที่ปัญหา มองแบบคนนอกที่ไม่มีส่วนได้เสียกับปัญหาเหล่านั้น

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๕”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๑…

…จิตตื่น กายตื่น น้อมจิตสู่ธรรม…

…พบสิ่งใหม่ และที่ใหม่ ใจจะตื่น
จะพลิกฟื้น จิตใหม่ ให้ค้นหา
เพราะที่ใหม่ สิ่งใหม่ นั้นแปลกตา
อยากรู้ว่า สิ่งที่เห็น เป็นเช่นไร

…เมื่อได้ดู ได้รู้ และได้เห็น
มันก็เป็น อย่างนั้น สิ้นสงสัย
ความแปลกตา แตกตื่น ก็หมดไป
จากสิ่งใหม่ กลายเป็นเก่า ก็เท่ากัน

…ความคุ้นเคย อาจทำให้ ใจนั้นหย่อน
จิตถอดถอน หย่อนยาน ไม่แข็งขัน
ความเคยชิน นั้นทำให้ ใจผูกพัน
เห็นทุกวัน ทำทุกวัน กันเรื่อยไป

…แต่ถ้าใจ ของเรา นั้นตั้งมั่น
จะกี่ปี หรือกี่วัน และที่ไหน
ทุกอย่างเกิด จากจิต และจากใจ
คิดอะไร ทำอะไร ใจมั่นคง

…มีสัจจะ รับผิดชอบ ต่อหน้าที่
สิ่งที่มี สิ่งที่เป็น ไม่ลืมหลง
รักษาจิต รักษาใจ ให้ยืนยง
และมั่นคง ต่อข้อวัตร ด้วยศรัทธา

…จิตสำนึก การใฝ่ดี นั้นมีอยู่
จิตรับรู้ เร่งฝึกฝน เพื่อค้นหา
ปลุกสำนึก การใฝ่ดี ให้ตื่นมา
เพื่อนำพา สู่ชีวิต ทิศทางด

…ต้องเริ่มทำ ที่ตัวเรา เอาแบบอย่าง
สู่เส้นทาง สายใหม่ ในวิถี
ลบสลาย พฤติกรรม ที่ไม่ดี
ที่มันมี ที่มันทำ แต่ก่อนมา

…เพียงคุณเปลี่ยน ความคิด ชีวิตเปลี่ยน
ไม่วนเวียน อยู่ใน ห้วงตัณหา
มีสติ คุณธรรม นำปัญญา
ก็จะพา สู่ชีวิต นิมิตดี

…ทุกสิ่งนั้น ไม่ยาก เกินแก้ไข
ถ้าหากใจ ยอมทำ ตามหน้าที่
รับผิดชอบ ในบทบาท ตามที่มี
เพียงเท่านี้ ก็ชื่อว่า เข้าหาธรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๔ สิงหาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๐

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๐…

…วันเวลาแห่งชีวิตของทุกคนนั้นสั้นลงทุกขณะทุกชีวิตกำลังเดินไปสู่ความตาย จะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของแต่ละคนที่ได้ทำมา ซึ่งแตกต่างกันแต่ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วนั้น ทุกคนก็ไม่อาจจะหนีพ้นความตายไปได้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนั้นมันสั้นลงในทุกวินาทีที่ผ่านเลยไปจงใช้เวลาที่เหลืออยู่นั้นให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมให้มากที่สุดเท่าที่เรานั้นจะทำได้อย่าได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเปล่าโดยไร้สาระ ทบทวนใคร่ครวญในสิ่งที่ผ่านมา ว่าเรานั้นได้สร้างได้ทำอะไรมาบ้างแล้ว เรามีความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราได้สร้างได้ทำมาแล้วหรือไม่ ชีวิตนี้มีความทรงจำที่ดีเก็บไว้แล้วหรือยัง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๐”