บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๓

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๓…

…“ภิกษุจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลอันดี จงมีความดำริตั้งมั่นตามรักษาจิตของตนเถิด”

“อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว
สุสมาหิตสงฺกปฺปา สจิตฺตมนุรกฺขถ”
…พุทธสุภาษิต มหาปรินิพพานสูตร ๑๐/๑๒๐…

…ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วดับไป เมื่อใจไม่ไปยึดติดยึดถือความห่วงหาอาลัยก็ไม่มี อยู่กับสภาวะแห่งความเป็นปัจจุบันธรรม ตามวิถีที่เป็นไปในแต่ละวัน ทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ ตามบทบาทและหน้าที่ที่เป็นอยู่ จิตตามดู ตามรู้ ตามเห็นในความเป็นไปที่แท้จริงของกายและจิต มีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกายและจิตอยู่ทุกขณะ คิดให้เป็นกุศลวันเวลาก็จะผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็วเพราะว่าใจเราไม่ไปยึดถือ จิตโปร่งกายเบา ไม่ซึมเซา เพราะมีอารมณ์ปีติทรงอยู่ เรียนรู้และพิจารณาทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๗…

…ถามตัวเองอยู่เสมอว่า วันเวลาที่ผ่านไปนั้น เราได้อะไรจากวันเวลาและคุ้มค่ากับวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่เพื่อไม่ให้เราหลงกับวัยและเวลาชีวิตที่เหลืออยู่จะได้เร่งสร้างคุณค่าให้กับชีวิต แม้นเพียงสักน้อยนิดก็ยังดีกว่าที่เรานั้นจะไม่ได้ทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ไม่ได้หวังว่าจะต้องได้ในชาตินี้หรือชาติหน้าเพียงแต่ตั้งใจว่าจะทำไปเรื่อย ๆ ถึงเมื่อไหร่ไปเมื่อนั้น จะไม่สร้างความกดดันให้กับตัวเองเหมือนที่เคยผ่านมา เพราะว่าจะทำให้เกิดอาการเกร็ง เพราะไปเคร่งแล้วมันจะเครียด เป็นการเบียดเบียนตนเองความเจริญในธรรมทั้งหลายก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะว่าความกังวลกดดันมาขวางกั้นความเจริญในธรรมทั้งหลายมิให้เกิดขึ้น…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๗”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๑

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๑…

…แก่นแท้ของการประพฤติพรหมจรรย์…

“…ภิกษุทั้งหลาย..! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติ…มิใช่ ! มีลาภสักการะและสรรเสริญเป็นอานิสงส์เพราะเปรียบเท่ากับกิ่งและใบของต้นไม้มิใช่ ! มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์เพราะเปรียบเท่ากับสะเก็ดของต้นไม้มิใช่ ! มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์เพราะเปรียบเท่ากับเปลือกของต้นไม้มิใช่ !ความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะ (ปัญญา) เป็นอานิสงส์ เพราะเปรียบเท่ากับกระพี้ของต้นไม้ภิกษุทั้งหลาย !

…การประพฤติพรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิตนั้น นั่นแหละเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย เป็นแก่นสาร เป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์ เพราะเปรียบเท่ากับแก่นของต้นไม้…”
(พระไตรปิฎก มหาสาโรปมสูตร เล่มที่ ๑๒/๓๗๓/๓๕๒)

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๑”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๗…

…ทุกอย่างย่อมจะมีความสำเร็จได้ถ้าหากเรานั้นมีความตั้งใจและพยายามเดินตามความฝันของเรานั้นต่อไปไม่ท้อถอยหรือหวั่นไหวกับอุปสรรคปัญหามีความศรัทธาและเชื่อมั่นในความดีที่กระทำสิ่งนั้นย่อมจะนำไปสู่ความสำเร็จของชีวิตในสิ่งที่ตนคิดและกิจที่ตนนั้นปรารถนาเพราะว่าความสำเร็จของชีวิต อยู่ที่จิตคิดว่าพอ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๗”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๒

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๒…

…ชีวิตเคยผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านเรื่องราวหลายหลากมามากมาย ดีและชั่วล้วนแล้วเคยกระทำมาสุขทุกข์ด้วยกิเลสตัณหาเคยพบพานก้าวเดินย่างผ่านบนโลกธรรมทั้งแปดประการ ลาภ ยศ สรรเสริญสุข ทำให้เราลุ่มหลงมัวเมา เสื่อมยศเสื่อมลาภ นินทา ทุกข์ ทำให้เราเศร้าอนิจจา…โลกนี้มันเป็นเช่นนั้นเอง…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๖…

…จิตระลึกถึงสุภาษิตบทหนึ่งขึ้นมาเป็นโพธิสัตว์คาถาที่ว่า…

…” อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ อธุรายํ นิยุญํํชติ
ทุนฺนโย เสยฺยโส โหติ สมฺมา วุตฺโต ปกุปฺปติ
วินยํ โส น ชานาติ สาธุ ตสฺส อทสฺสนํ “…

…แปลความว่า…
” คนพาลชอบชักนำในทางที่ผิด
คนพาลมักทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ
คนพาลมักเห็นผิดเป็นชอบ
คนพาลแม้พูดดีๆก็โกรธ
คนพาลไม่ยอมรับระเบียบวินัย
ดังนั้น การไม่พบเห็นคนพาลจึงเป็นการดี “
…โพธิสัตว์คาถา อกิตติชาดก ๒๗/๓๓๗…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๖”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๐

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๐…

…เมื่อใจของเรามีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้ว ความศรัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็จะบังเกิดขึ้นและส่งผลไปยังพระสงค์สาวกของพระพุทธองค์ ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สืบทอดพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อกันมา

…พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสสติ นั้นเป็นอนุสสติที่เกื้อกูลกัน สืบเนื่องกันเป็นการระลึกนึกคิดที่เป็นพื้นฐานของกุศลธรรมทั้งหลาย ที่จะเจริญยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป ถ้าเราทั้งหลายนั้นมีศรัทธาตั้งมั่น ไม่ละความความเพียรในการประกอบกรรมดี…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๖…

…อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ…

…ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติไหว้กราบมีปกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์…

…แต่ละวันที่ผ่านไปนั้นทุกอย่างดำเนินไปตามปกติ ทำกิจวัตรของสงฆ์ตามปกติเสร็จจากกิจวัตรของสงฆ์ ก็มาปฏิบัติกิจวัตรของการเป็นผู้นำเจ้าของสถานที่ของหมู่คณะ คือการตรวจตราดูแลการก่อสร้าง ดูแลความเรียบร้อยในที่อยู่อาศัย สนทนาและให้กำลังใจแก่คนผู้ร่วมงานทั้งหลาย คิดโครงการวางแผนงานที่จะทำกันต่อไป นี้คืองานในทางโลก

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๖”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำบทที่ ๘๑

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำบทที่ ๘๑…

…ทุกวันเวลาที่ผ่านไปทุกขณะจิตนั้น มันเป็นการสั่งสมประสบการณ์ของชีวิต สอนให้เรานั้นได้คิดได้พิจารณาเพิ่มขึ้นขอเพียงให้เรานั้นมั่นคงในจุดยืนของการดำเนินชีวิต ที่คิดจะสร้างจะทำก่อกรรมดีสร้างมงคลให้กับชีวิต เพื่อจะได้พัฒนาทางจิตให้เจริญก้าวหน้าในทางธรรมการเจริญสตินั้นจึงเป็นงานที่ต้องกระทำอยู่ตลอดเวลา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำบทที่ ๘๑”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๕…

… ธรรมะนั้น ไม่มีคำว่าดีที่สุดและถูกต้องที่สุด แต่จะมีความเหมาะสมที่สุด ด้วยองค์ประกอบของเหตุและปัจจัย ธรรมะทั้งหลายจึงเป็นธรรมะสัปปายะ คือธรรมที่เหมาะสมกับ จังหวะ เวลา โอกาสสถานที่และตัวบุคคล ตามเหตุตามผลของพละกำลังและอินทรีย์ที่ได้สะสมมา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๕”