จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๕

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๕…

…ใช้ชีวิตตามปกติในแต่ละวันที่ผ่านไปโดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุมอยู่ระลึกรู้ในสิ่งที่คิดและในกิจที่ทำพยายามเตือนย้ำตนเองให้เกรงกลัวต่อบาปกรรม ในการคิดและทำกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น มองเห็นคุณ เห็นโทษเห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากสิ่งที่เราคิดและเรานั้นทำ ทุกครั้งในการคิดและก่อนจะพูดหรือลงมือทำสิ่งนั้น

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๕”

วัฏฏะสงสาร การเวียนว่ายในวังวน

…วัฏฏะสงสาร การเวียนว่ายในวังวน…

๐ ทุกชีวิต ในโลกนี้ ที่ได้เห็น
มันก็เป็น เช่นนั้น กันทุกหน
ล้วนเกิดแก่ เจ็บตาย ในวังวน
หนี้ไม่พ้น ล้วนพบ ประสพกัน

๐ อนิจจา ชีวิต คิดว่าเที่ยง
จิตลำเอียง เพราะใจ นั้นใฝ่หา
ประกอบด้วย กิเลส และอัตตา
จึงนำพา ชีวิต ให้ผิดทาง

๐ เพราะไปหลง ยึดติด ในโลกธรรม
จึงก่อกรรม ทำเวร ไม่เว้นว่าง
อยากจะมี อยากจะได้ ในทุกทาง
จึงออกห่าง ทางธรรม กรรมของคน

๐ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
หมุนสลับ กันไป ทุกแห่งหน
เพราะว่ายัง เวียนว่าย ในวังวน
ยังไม่พ้น จากวัฏฏะ สังขารา

๐ เก่าดับไป สิ่งใหม่ ก็แทนที่
เป็นอย่างนี้ มานาน กันหนักหนา
เพราะโลกนี้ ล้วนแล้ว แต่มายา
จึงเวียนว่าย กันมา ไม่หมดกรรม

๐ เมื่อมีเกิด ก็ย่อม จะมีดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป ให้น่าขำ
เพราะกิเลส ตัณหา ชักพานำ
ก่อเกิดกรรม เวียนว่าย ในสายธาร

๐ คือสายธาร ของมนุษย์ ไม่หลุดพ้น
จึงเวียนวน เกิดดับ กับสังขาร
ไม่สิ้นสุด เวียนว่าย มานมนาน
คือสังสาร วัฏฏะ ที่หมุนวน

๐ แต่แนวทาง พุทธะ นั้นละได้
โดยฝึกใจ ให้ชอบ ประกอบผล
ละกิเลส ตัณหา และตัวตน
ก็หลุดพ้น จากกรรม ที่ทำมา

๐ ไม่ต้องกลับ มาเกิด ประเสริฐสุด
ก็เพราะหลุด จากกิเลส และตัณหา
เพราะเห็นทุกข์ เห็นภัย ในมายา
ละอัตตา ละมานะ ละตัวตน

๐ ไม่ก่อกรรม ทำบาป ที่หยาบช้า
ปรารถนา อยู่กับ บุญกุศล
เพิ่มกำลัง บารมี ให้แก่ตน
และฝึกฝน เจริญจิต ภาวนา

๐ มีสติ อยู่กับตัว รู้ทั่วพร้อม
แล้วก็น้อม ตั้งจิต ปรารถนา
ดูความคิด ดูกาย ที่เป็นมา
ให้ปัญญา เห็นทุกข์ และเข้าใจ

๐ เมื่อเห็นทุกข์ เห็นธรรม เพราะทำจิต
เปลี่ยนความคิด ตั้งจิต กับสิ่งใหม่
อยู่กับธรรม มีธรรม ประจำใจ
ก้าวเดินไป ตามทางธรรม พระสัมมา

๐ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท
เอาเป็นเหตุ ฝึกฝน และค้นหา
เพื่อให้เกิด สมาธิ และปัญญา
จะนำพา ชีวิต ไม่ผิดทาง

๐ บุญกุศล เร่งทำ ในวันนี้
ตอนที่มี ชีวิต ควรคิดสร้าง
และรู้จัก การปล่อยปละ และละวาง
ตามแนวทาง แห่งพุทธะ จะได้ดี

๐ มีความสุข ความเจริญ ในชีวิต
ก็เพราะจิต ของเรา เพียงเท่านี้
เมื่อรู้พอ ความดิ้นรน ก็ไม่มี
เพียงเท่านี้ ใจก็สุข ทุกข์ไม่นาน…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม…
…๒๒ กันยายน ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๙…

…ชีวิตเคยผ่านร้อนผ่านหนาวผ่านเรื่องราวหลายหลากมามากมายดีและชั่วล้วนแล้วเคยกระทำมาสุขทุกข์ด้วยกิเลสตัณหาเคยพบพานก้าวเดินย่างผ่านบนโลกธรรมทั้งแปดประการ ลาภ ยศ สรรเสริญสุข ทำให้เราลุ่มหลงมัวเมา เสื่อมยศเสื่อมลาภ นินทา ทุกข์ ทำให้เราเศร้าอนิจจา…โลกนี้มันเป็นเช่นนั้นเอง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๙”

ลมหายใจแห่งสายธรรม

…ลมหายใจแห่งสายธรรม…

…พยายามเน้นย้ำกับผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายอยู่เสมอในเรื่องของทิฏฐิอัตตาและมานะ ให้หมั่นดูในเรื่องนี้มองให้เห็น หาให้เจอ พยายามเพ่งโทษตนเองอยู่เสมอ จะได้ไม่เผลอหลงตนเอง เพราะปัญหาของผู้ปฏิบัติธรรมส่วนมากนั้นคือ จะมีมานะ ถือตัวถือตน ว่าตนเองปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบกว่าผู้อื่น เอาสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติไปเพ่งโทษผู้อื่น เอาสิ่งที่ตนดีกว่าไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น แล้วมองผู้อื่นว่า ด้อยกว่าเรา ไม่ดีเท่าเราซึ่งความคิดอย่างนั้นมันจะพาให้หลงทาง เพราะจะคิดเข้าข้างตนเองตลอด ทำให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ยาก จะเกิดจิตปฏิฆะขึ้นได้ง่าย รับไม่ได้กับสิ่งที่มากระทบและพบเห็นจะกลายเป็นคนเห็นแก่ตัวในที่สุดเพราะมองโลกในแง่ร้าย เอาแต่ใจคือความคิดเห็นของตนเอง

อ่านเพิ่มเติม “ลมหายใจแห่งสายธรรม”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๙…

… วันเวลาแห่งชีวิตลิขิตไปตามกฎแห่งกรรมสิ่งที่เราเคยได้กระทำมาในอดีตและปัจจุบันส่งผลมาสู่วันนี้ทั้งกรรมดีที่เป็นกุศลส่งผลให้พบสิ่งดีและกรรมที่เป็นอกุศลที่ส่งผลมาเป็นอุปสรรคปัญหา สิ่งที่ผ่านมาแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วเพราะมันเป็นอดีตจงยืดอกยิ้มสู้ยอมรับในกฎแห่งกรรม…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๙”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๔

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๔…

…กฎกติกานั้น เกิดขึ้นมาจากความต้องการของมนุษย์ ซึ่งคือตัวตัณหาความทะยานอยากทั้งหลาย ที่อยากจะให้เป็นอย่างนั้น อยากจะให้เป็นอย่างนี้ หรือไม่อยากจะเป็นอย่างนั้นไม่ให้เป็นอย่างนี้ ทำให้ความพอดีจึงไม่มีในกฎกติกา เพราะว่าแต่ละคนในสังคมนั้น ย่อมมีพื้นฐานที่แตกต่างกันจึงไม่มีบรรทัดฐานแห่งความพอดีจึงไม่มีกฎกติกาอะไรที่ดีที่สุด มีเพียงแต่ความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับ จังหวะเวลา โอกาส สถานที่และตัวบุคคลเป็นไปเพื่อความสอดคล้องเหมาะสมกับธรรมชาติทั้งหลาย ซึ่งย่อมจะแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์แห่งยุคสมัย…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๘

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๘…

…ถ้าหากเราทำงานเพื่อหวังผลของงานเราจะมีความรู้สึกว่า มันหนัก มันเหนื่อยมันมีความวิตกกังวลใจ เพราะว่าใจของเรานั้นมันเข้าไปยึดถือ มันจึงเป็นทุกข์

…แต่ในทางกลับกัน หากเรานั้นทำงานเพื่อเป็นการปฏิบัติธรรม เพื่อทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ โดยไม่คาดหวังผลผลนั้นจะออกมาอย่างไร เรายอมรับในผลที่ออกมา ใจเราก็จะไม่ทุกข์ ไม่กังวลมีแต่ความปีติสุขจากการที่ได้ทำ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๘”

จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๓

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๓…

…ชื่นชอบความสงบ แต่ต้องอยู่กับความวุ่นวาย

…ชอบความโดดเดี่ยว แต่ต้องพบปะผู้คนมากมาย

…ชอบความเรียบง่าย แต่ต้องเป็นผู้กำหนดกฏกติกา

…ชอบเรียนรู้แสวงหา แต่ต้องมาเป็นผู้สอนผู้บรรยาย

…นี้คือบททดสอบของชีวิต ที่ต้องเรียนรู้และอยู่กับมันให้ได้…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๘…

…ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้น เป็นสภาวะแห่งปัตจัตตัง คือรู้ได้เฉพาะตนโดยการปฏิบัติ การศึกษาปริยัติ การอ่าน การฟังนั้นเป็นเพียงขั้นพื้นฐาน เป็นเพียงการเก็บข้อมูลหาแนวทาง หาแบบอย่างที่จะนำไปปฏิบัติ

…เพียงแต่ฟัง เพียงแต่อ่าน เพียงแต่คิดนั้น จิตยังไม่ถือว่าเข้าถึงธรรม จำได้พูดได้และเข้าใจ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงความคิด เป็นเพียงนามธรรม เป็นเพียงความฝัน เป็นเพียงการจินตนาการตราบใดที่ยังไม่ได้เอาธรรม ที่ได้ยินได้ฟังได้ศึกษานั้นนำมาปฏิบัติกับตนก็เป็นได้เพียงนกแก้วนกขุนทองที่ท่องได้ พูดได้ เป็นเพียงใบลานเปล่าเพราะว่ายังไม่เข้าถึงสภาวธรรมที่แท้จริง

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๘”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๗…

…น้อมใจมาดูจิต ดูความคิดทั้งหลายของเรา เอาจิตถามจิตว่าทำไมต้องคิด ต้องปรุงแต่งคิดแล้วได้อะไร คิดแล้วทำได้หรือไม่ สิ่งที่คิดนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล คิดแล้วมีผลเป็นอย่างไร มีคุณหรือไม่อะไรเป็นต้นเหตุที่ทำให้คิดเอาจิตถามจิต หาคำตอบที่จิตของเราเอง เอาจิตถามจิตจนเห็นที่เกิดของจิต คือเห็นต้นเหตุแห่งความคิด จึงจะเข้าใจในความคิด เข้าใจจิตและเข้าใจในธรรม

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๗”