จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒…

…รำพึงธรรมในยามเย็น….

๐ บางครั้งเหนื่อยล้ากับการแรมรอนของชีวิต จนเคยคิดที่จะหยุดซึ่งลมหายใจ อยากจะจากไปโดยไม่ต้องหวนกลับมา บอกลาซึ่งการเกิดแก่และเจ็บตาย แต่ยังทำไม่ได้เพราะบุญกุศลไม่เพียงพอ จึงต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปในโลกที่แสนจะวุ่นวายฝึกทำใจให้ยอมรับกับความจริงสิ่งเหล่านั้นให้ได้

๐ สิ่งทั้งหลายมันก็เป็นเช่นนั้นเองมันเป็นเรื่องของกิเลสตัณหาอุปาทานความทะยานอยาก ที่มีมากน้อยแตกต่างกันไปในทุกผู้คนบนโลกใบนี้เพราะความไม่พอดีและพอเพียงของจิตที่คิดกันไป ทำให้ธรรมชาติทั้งหลายนั้นต้องเปลี่ยนแปลงไปตามแรงของกิเลสและตัณหาของมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมชาตินั้นจึงเอาคืนเมื่อเราไปฝืนกฎของธรรมชาติ

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๗…

…”เมื่อน้ำนั้นนิ่งใส ก็จะเห็นสิ่งที่อยู่ภายในนั้นชัดเจน ถ้าน้ำนั้นยังกระเพื่อมอยู่ก็เห็นได้ไม่ชัดเจนเปรียบกับจิตที่เป็นหนึ่ง หยุดนิ่งย่อมรู้หมด มีอะไรรู้หมด เห็นกายเห็นจิตของตนเองได้แล้ว ก็ย่อมจะรู้และเข้าใจในกายและจิตของผู้อื่นเช่นกัน “…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๗”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๖…

…บางครั้งเราต้องละทิ้งรูปแบบตามพยัญชนะ มาเน้นสาระในเรื่องความหมายความเข้าใจให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมะทั้งหลายเพื่อให้ฟังแบบสบายๆ ไม่เกร็งไม่เคร่งและไม่เครียด ในการสนทนาธรรม จึงเป็นที่มาของคำว่า “ไร้รูปแบบ แต่ไม่ไร้สาระ” คือการถ่ายทอดธรรมะเพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจโดยไม่ยึดติดในรูปแบบ ซึ่งทุกอย่างต้องใช้การคิดและพิจารณา ไตร่ตรอง ใคร่ครวญทบทวน อยู่ตลอดเวลา ปรับเข้าหาหลักธรรมะเพื่อความเหมาะสมมองทุกสิ่งทุกอย่างรอบกายให้เป็นธรรมะ ใช้หลักแห่งความเป็นจริงตามหลักของธรรมชาติโดยการลดละซึ่งอัตตาและคติไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวเข้ามาใช้ในการคิดและวิเคราะห์แล้วเราจะเข้าถึงสภาวะแห่งธรรมะที่แท้จริง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๖”

จากการเดินทางบนสายธรรม ปฐมบท

…จากการเดินทางบนสายธรรม ปฐมบท…

…เคยกล่าวเตือนเพื่อนสหธรรมิกอยู่เสมอว่า “ถึงคุณจะทำความดีมาเป็นร้อยครั้ง แต่ถ้าคุณพลาดทำไม่ดีเพียงครั้งเดียว คนส่วนมากจะมองข้ามความดีที่คุณเคยทำมา หันมาให้มองความผิดพลาดสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้น จนลืมความดีที่คุณได้ทำมา ฉะนั้นจงอย่าประมาทขาดสติ หรือคิดเข้าข้างตนเอง ว่าสังคมเขาจะไม่ซ้ำเติมในความผิดพลาดของเรา”…

อ่านเพิ่มเติม “จากการเดินทางบนสายธรรม ปฐมบท”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๖…

…จิตระลึกถึงสุภาษิตบทหนึ่งขึ้นมาเป็นโพธิสัตว์คาถาที่ว่า…

…” อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ อธุรายํ นิยุญํํชติ
ทุนฺนโย เสยฺยโส โหติ สมฺมา วุตฺโต ปกุปฺปติ
วินยํ โส น ชานาติ สาธุ ตสฺส อทสฺสนํ “…

…แปลความว่า…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๖”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๕…

…เมื่อมีการกระทำ ย่อมมีผลของการกระทำ ซึ่งผลของการกระทำนั้นจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับ จังหวะเวลา โอกาส สถานที่ ตัวบุคคลและเจตนาแห่งการกระทำนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดผลซึ่งแต่ละคนย่อมมีเหตุและปัจจัยที่แตกต่างกัน ทำให้ความรู้ ความเห็นและความเข้าใจนั้น แตกต่างกันไปตามเหตุและปัจจัย ไม่มีใครคิดเห็นถูกไปเสียทั้งหมดและไม่มีใครผิดไปทั้งหมด เพราะความคิดเห็นของแต่ละคนนั้นเป็นปัจเจก จึงไม่มีอะไรดีที่สุดและอะไร ถูกต้องที่สุด มีเพียงความเหมาะสมกับจังหวะ เวลา โอกาสสถานที่และตัวบุคคล ” สัพเพ ธัมมาอนัตตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็นอนัตตา แปรเปลี่ยนไปตามเหตุและปัจจัย เป็นไปตามความเหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๕”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๕…

…แต่ละวันที่ผ่านไปนั้น มีเรื่องราวมากมายที่ได้ผ่านเข้ามาในชีวิตที่ทำให้เราคิดและต้องทำ มีผัสสะสิ่งกระทบมากมาย ให้เรานั้นได้รับรู้เราจึงควรจะจดจำเพียงสิ่งที่มีประโยชน์และเป็นสาระ ส่วนสิ่งที่เป็นขยะทางความคิดลบมันไปไม่จดจำใช้สติใคร่ครวญ ทบทวนสิ่งที่ผ่านเข้ามา ว่าสิ่งไหนเป็นสาระ สิ่งไหนไม่เป็นสาระ พิจารณาให้เห็นคุณเห็นโทษ เห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาพิจารณาเข้าสู่ความเป็นกุศลและอกุศล…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๕”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๑๐๐

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๑๐๐…

…“ไม่มีใครรู้ซึ้งเท่าหนึ่งจิต” เราต้องรู้จักตัวเรา เพราะไม่มีใครจะรู้เหตุและผลของตัวเราเท่ากับตัวเรา เราเองต้องเป็นผู้สอบอารมณ์ของตัวเราไม่ต้องให้ใครเขามาสอบอารมณ์ของตัวเรา “จงรู้จักกาย รู้จักจิต รู้จักความคิดและรู้ในสิ่งที่กำลังกระทำ” เราจึงจะไม่หลงทาง หลงตัวเอง หลงกิเลส และการสอบอารมณ์ที่ดีที่สุดก็คือการทำงานที่ใช้กำลังแรงงานร่วมกับผู้อื่น เพราะเราจะได้เจอผัสสะ (สิ่งที่มากระทบ) ทั้งภายนอกและภายใน เราจะได้เห็นความหวั่นไหวและความสงบนิ่งของเรา ซึ่งมันคือของจริงคือสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่ แล้วเราจะได้รู้ว่าการปฏิบัติธรรมของเรานั้นมันก้าวหน้าไปถึงไหน (รู้ได้เมื่อภัยมาปัญหาไม่มา ปัญญาไม่มี บารมีไม่เกิด) ไม่ใช่นั่งคิดนั่งฝันว่ามันเป็นอย่างนั้นมันเป็นอย่างนี้ มันต้องมีของจริงมาพิสูจน์มาทดสอบอารมณ์ของเรา…

…แด่การทำงานหนักที่สอนให้เข้าใจถึงการปฏิบัติธรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๔…

…ย้ำเตือนบุคคลรอบข้างอยู่เสมอว่า

…อย่าได้เชื่อทันทีในสิ่งรู้และในสิ่งที่เห็น เพราะมันอาจจะชักนำไปสู่ความงมงาย ไร้ปัญญา ควรคิดพิจารณา ถึงเหตุและผล ให้เห็นทุกข์เห็นภัย เห็นโทษ เห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ของสิ่งที่รู้และสิ่งที่ได้เห็นนั้น

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๔…

…เมื่อจิตเข้าสู่ความเป็นสมาธิ มีความสงบนิ่งอยู่ มีสติระลึกรู้ในสภาวะแห่งความสงบ เราก็จะพบกับความเป็นจริงทุกสิ่งจะเข้าสู่ความเป็นระบบ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๔”