ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๘

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๘…

…ทุกสิ่งอย่างสามารถที่จะสงเคราะห์เข้ากับหลักธรรมคำสอนขององค์พระศาสดาพระสัมพุทธเจ้าได้ ถ้าเรานั้นเปิดใจ ยอมรับความเป็นของสรรพสิ่งที่เป็นไปในโลกนี้ บนหลักของความไม่เที่ยงแท้แน่นอน แปรเปลี่ยนไปได้ทุกโอกาส ตามเหตุและปัจจัย

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๘”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๙๓

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๙๓…

“ผู้ใด มีปัญญาทราม อาศัยทิฏฐิลามกคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีปกติเป็นธรรมพฤติกรรมของผู้นั้นย่อมเป็นไปเพื่อฆ่าตน เหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่”

“โยสาสนํ อรหนฺตํ อริยานํ ธมฺมชีวินํ
ปฏิกฺโกสติ ทุมฺเมโธ ทิฏฺฐึ นิสฺสาย ปาปกํ
ผลานิ กณฺฏกสฺเสว อตฺตฆญฺญาย ผลฺลติ”
…พุทธสุภาษิตธรรม…

…ก้าวย่างตามรอยทาง เพื่อสร้างรอยธรรม…

๐ ได้พบ ได้เห็น หลายสิ่ง
เรื่องจริง จึงมา บอกกล่าว
ให้รู้ รับทราบ เรื่องราว
ทุกก้าว ที่เดิน ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๙๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๗…

…ถ้าไม่ยึดอะไรในสิ่งรู้ ก็จะอยู่อย่างสงบพบเยือกเย็น จากหนังสือ “ฟ้าสางทางสุภาษิต ที่ข้าพเจ้าชอบ”…

…หลวงพ่อพุทธทาส โมกขพลาราม ไชยา…

…แต่ละวันที่ผ่านไปนั้น มีเรื่องราวมากมาย ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ที่ทำให้เราคิดและต้องทำ มีผัสสะสิ่งกระทบมากมาย ให้เรานั้นได้รับรู้ เราจึงควรจะจดจำเพียงสิ่งที่มีประโยชน์และเป็นสาระ ส่วนสิ่งที่เป็นขยะทางความคิดลบมันไปไม่จดจำ ใช้สติใคร่ครวญทบทวนสิ่งผ่านเข้ามา ว่าสิ่งไหนเป็นสาระ สิ่งไหนไม่เป็นสาระ พิจารณาให้เห็นคุณ เห็นโทษ เห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของทุกเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามา พิจารณาเข้าสู่ความเป็นกุศลและอกุศล มีสติเตือนตนให้อยู่ในความไม่ประมาท ไม่ปรุงแต่งในอกุศลประคองจิตของตนให้อยู่ในธรรมน้อมนำจิต เข้าสู่ความสงบนิ่ง มองทุกสรรพสิ่งให้เป็นธรรมะ แล้วจะพบสัจธรรมของธรรมชาติในกายและจิตของเรา…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๗”

รำพึงธรรมคำกวีในยามค่ำคืนหลังการปฏิบัติโยธากัมมัฏฐาน

…รำพึงธรรมคำกวีในยามค่ำคืนหลังการปฏิบัติโยธากัมมัฏฐาน…

๐ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
หมุนสลับ กันไป ทุกแห่งหน
เพราะว่ายัง เวียนว่าย ในวังวน
ยังไม่พ้น จากวัฏฏะ เวียนวนมา

๐ เก่าดับไป สิ่งใหม่ ก็แทนที่
เป็นอย่างนี้ มานาน กันหนักหนา
เพราะโลกนี้ ล้วนแล้ว แต่มายา
จึงเวียนว่าย กันมา ไม่หมดกรรม

๐ เมื่อมีเกิด ก็ย่อม จะมีดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป ให้น่าขำ
เพราะกิเลส ตัณหา ชักพานำ
ก่อเกิดกรรม เวียนว่าย ในสายธาร

๐ คือสายธาร ของมนุษย์ ไม่หลุดพ้น
จึงเวียนวน เกิดดับ กับสังขาร
ไม่สิ้นสุด เวียนว่าย มานมนาน
คือสังขาร วัฏฏะ ที่หมุนวน

๐ แต่แนวทาง พุทธะ นั้นละได้
โดยฝึกใจ ให้ชอบ ประกอบผล
ละกิเลส ตัณหา และตัวตน
ก็หลุดพ้น จากกรรม ที่ทำมา

๐ ไม่ต้องกลับ มาเกิด ประเสริฐสุด
ก็เพราะหลุด จากกิเลส และตัณหา
เพราะเห็นทุกข์ เห็นภัย ในมายา
ละอัตตา ละมานะ ละตัวตน

๐ ไม่ก่อกรรม ทำบาป ที่หยาบช้า
ปรารถนา อยู่กับ บุญกุศล
เพิ่มกำลัง บารมี ให้แก่ตน
และฝึกฝน เจริญจิต ภาวนา

๐ มีสติ อยู่กับตัว รู้ทั่วพร้อม
แล้วก็น้อม ตั้งจิต ปรารถนา
ดูกายจิต ความคิด ที่เป็นมา
ให้ปัญญา เห็นทุกข์ และเข้าใจ

๐ เมื่อเห็นทุกข์ เห็นธรรม เพราะทำจิต
เปลี่ยนความคิด ตั้งจิต กับสิ่งใหม่
อยู่กับธรรม มีธรรม ประจำใจ
ก้าวเดินไป ตามทางธรรม พระสัมมา

๐ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
เอาเป็นเหตุ ฝึกฝน และค้นหา
เพื่อให้เกิด สมาธิ และปัญญา
จะนำพา ชีวิต พ้นวังวน…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม…
…๑๐ กันยายน ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๗…

…การปฏิบัติธรรมไม่ได้ทำให้ เรานั้นฉลาดขึ้น แต่ทำให้เรา เห็นความโง่ความหลงผิด ในอดีต ของเราที่ผ่านมา ปฏิบัติมากก็เห็นมากขึ้น…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๗”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๙๒

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๙๒…

…การรักษาศีลนั้น เราอย่าไปยึดติดกับถ้อยคำและตัวอักษรให้มากเกินไปมันอยู่ที่ใจของเรา เพราะว่าการรักษาศีลนั้น คือการมีสติและสัมปชัญญะอยู่กับกายและใจของเรา (ภาษาชาวบ้านเรียกว่าใจอยู่กับกับเนื้อกับตัว) รู้ว่าเรากำลังทำอะไรและสิ่งที่เราทำนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล

…ถ้าเป็นอกุศลก็ไม่ควรกระทำ ควรงดเว้นการที่เราหักห้ามใจในอกุศลได้นั้นทำให้เกิดคุณธรรม คือหิริและโอตตัปปะ (ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป) ศีลจะสมบูรณ์ได้นั้น ต้องประกอบด้วยคุณธรรม คือมีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป มีสติและสัมปชัญญะที่สมบูรณ์

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๙๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๖…

…การปฏิบัติธรรมที่ให้เริ่มต้นจากการให้ทานนั้น ก็เพื่อให้เป็นพื้นฐานในการปรับจิต ให้รู้จักคิดเสียสละ ลด ละซึ่งความเห็นแก่ตัว เพื่อให้มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟือเผื่อแผ่ มีพรหมวิหาร ๔ อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต จิตนั้นจะอ่อนโยนลง ไม่หยาบ ไม่แข็งกระด้างเป็นการสร้างคุณธรรมให้แก่จิต แต่ก็ไม่ให้ไปยึดติดในทานนั้นจนเกินไปจนกลายเป็นทิฐิมานะและอัตตา โดยคิดว่าเราดี เราเด่นกว่าผู้อื่น “แม้นน้อยนิดด้วยปัจจัย แต่ยิ่งใหญ่ด้วยอานิสงส์ ถ้าจิตจำนงนั้นบริสุทธิ์” ไตรสิกขา ๓ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้สำหรับประชาชนทั้งหลาย จึงเริ่มต้นด้วยทาน ศีล ภาวนา ซึ่งต้องปฏิบัติให้สอดคล้องต้องกัน เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตให้มีความเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๖….

…เราไม่อาจจะไปปรับหลักธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ให้มาตรงกับความคิดเห็นของเราได้แต่เราสามารถที่จะย้ายจุดยืนของเราให้ไปตรงกับหลักที่วางไว้ตั้งไว้ได้ เพียงเราปรับความคิดและมุมมองของเราเสียใหม่เพื่อให้สอดคล้องรองรับกับหลักธรรม

“เพียงคุณเปลี่ยนความคิด ชีวิตคุณก็จะเปลี่ยน”

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕๖”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๙๑

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๙๑…

…ในยามดึกสงัดของราตรีหนึ่ง นั่งมองจันทร์ที่ริมหน้าต่างดูลมหายใจเข้าออกของตนเอง ภายนอกเคลื่อนไหวภายในสงบนิ่งเสียงหรีดหริ่งเรไรดังแว่วมาแผ่วเบาคล้ายเสียงดนตรีแห่งรัตติกาล พระจันทร์เสี้ยวของคืนขึ้นสี่ค่ำหมู่ดาวที่พราวแสงบนท้องฟ้าธรรมชาติจัดสรรมาได้อย่างลงตัว…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๙๑”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๕…

…”เสียหนึ่ง อย่าเสียสอง
เสียของ อย่าเสียใจ
เสียแล้ว ให้เสียไป
ใจอย่าเสีย “…

…เป็นคำสอนของหลวงพ่อจำเนียรสีลเสฏโฐ ประธานสงฆ์วัดถ้ำเสือซึ่งท่านได้กล่าวเตือนสติบรรดาศิษย์ทั้งหลาย ให้นำไปพิจารณาปฏิบัติตามแนวของสติปัฏฐาน ๔ ในเรื่องของจิต คือการมีสติพิจารณาความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติเมื่อมีสิ่งมากระทบแล้วจิตเข้าไปปรุงแต่งตาม

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๕”