เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๓

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๓…

…มองย้อนกลับไป หลายปีที่ผ่านไปเราได้เห็นอะไรมากมาย ได้จดบันทึกไว้และเมื่อเราได้นำบันทึกเก่าๆกลับมาอ่านได้เห็นถึงพัฒนาการของจิต ความรู้สึกนึกคิดที่แปรเปลี่ยนไป ซึ่งเกิดจากการสั่งสมอบรมจิตอย่างต่อเนื่องไม่ทิ้งธุระไม่ละศรัทธา พิจารณาอยู่เนืองนิจ จิตจึงได้พัฒนา ความเจริญก้าวหน้านั้นต้องประกอบด้วยปัจจัย ๔ ที่เรียกว่าอิทธิบาท ๔ อันประกอบด้วย…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๓”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๒

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๒…

…บนวิถีแห่งเส้นทางสายธรรมอุปสรรคปัญหา คือบททดสอบของผู้ปฏิบัติธรรม ว่าจะข้ามผ่านเพื่อไปสู่สภาวะที่สูงยิ่งขึ้นไป

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๒”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล ปฐมบท

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล ปฐมบท…

…ธรรมะทั้งหลายเป็นเรื่องใกล้ตัวและทุกท่านก็ได้ปฏิบัติอยู่ในกิจวัตรประจำวันอยู่แล้ว เพราะว่าการปฏิบัติธรรมนั้น คือการทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ ตามหลักของมรรคองค์ ๘ มีสติระลึกรู้อยู่ในสิ่งที่คิดและกิจที่ทำ มีองค์แห่งคุณธรรมคือความละอายและเกรงกลัวต่อบาปกรรมคุ้มครองจิตอยู่ ก็ได้ชื่อว่าผู้นั้นกำลังปฏิบัติธรรมอยู่…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล ปฐมบท”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๘

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๘…

…ทุกวันเวลาที่ผ่านไปทุกขณะจิตนั้นมันเป็นการสั่งสมประสบการณ์ของชีวิตสอนให้เรานั้นได้คิดได้พิจารณาเพิ่มขึ้นขอเพียงให้เรานั้นมั่นคงในจุดยืนของการดำเนินชีวิต ที่คิดจะสร้างจะทำก่อกรรมดีสร้างมงคลให้กับชีวิต เพื่อจะได้พัฒนาทางจิตให้เจริญก้าวหน้าในทางธรรมการเจริญสตินั้นจึงเป็นงานที่ต้องกระทำอยู่ตลอดเวลา

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๘”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๗

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๗…

…การเป็นพระภิกษุตามธรรมวินัยนั้นต้องมีความเคารพกันด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิ สามารถที่จะว่ากล่าวตักเตือนกันได้โดยธรรมวินัย มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เพื่อเป็นการลดมานะละทิฏฐิเป็นผู้ใฝ่ศึกษาหาความรู้ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามธรรมวินัย เป็นผู้มีจิตอาสาไม่นิ่งดูดาย ขวนขวายเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนจนเกินไป มีน้ำในต่อหมู่คณะ คือธรรมที่นำมาซึ่งความรักสามัคคี…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๗”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๖

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๖…

…เป็นเวลาผ่านไปสิบสามปีกว่าแล้วที่ได้กลับมาเขียนบทความบทกวีซึ่งมีผลงานที่ได้เขียนไว้มากมายหลายพันบท ทั้งที่เป็นบทความและบทกวี ซึ่งผลงานที่ผ่านมานั้นผู้เขียนไม่ได้สงวนลิขสิทธิ์ เพียงเพื่อจะถ่ายทอดความรู้สึกคิดและมุมมองเผยแผ่ธรรมะออกไป ซึ่งธรรมะทั้งหลายนั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของเป็นของที่อยู่คู่กับธรรมชาติ คู่โลกกันมา เพียงแต่การใช้ภาษานั้นอาจจะแตกต่างกันในสำนวนและลีลา แต่เนื้อหาและความหมายต่างก็ไปในทิศทางเดียวกัน คือการสร้างสรรค์ให้โลกใบนี้นั้นสงบและร่มเย็น ชี้ให้เห็นคุณและโทษของกิเลสทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความจางคลายในทิฐิมานะและอัตตาตัณหาและอุปาทานธรรมะนั้นจึงไม่ควรมีการสงวนลิขสิทธิ์ยึดถือมาเป็นของผู้ใดแต่ผู้เดียวทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดและจิตสำนึกของแต่ละคนที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากธรรมะนั้น…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๖”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๕

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๕…

…อย่าไปวุ่นวายใจกับคำนินทา เราไม่เก็บคำนินทามาคิด จิตเราก็จะสบาย คำติฉินนินทานั้นคือยาชูกำลังที่จะยับยั้งไม่ให้เราหลงระเริงหยิ่งผยองลำพองใจ คำนินทานั้นคือสิ่งกระตุ้นเตือนตัวเราได้คิดพิจารณาตัวของเรา เขาติดีกว่าเขาชม ทำให้เรารู้ตัวว่าเขาคิดอย่างไรกับเรา ซึ่งถ้าตัวเรานั้นเป็นจริงอย่างที่เขานั้นกล่าวนินทา เราก็จะได้รู้และปรับปรุงแก้ไข แล้วเราจะไปโกรธเขาทำไม ซึ่งถ้าเราไปโกรธตอบต่อเขาก็เท่ากับเรานั้นกำลังแพ้ภัยกิเลสในใจของเรานั้นเอง….

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๕”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๔

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๔…

…มันเป็นวิบากกรรมของชีวิตที่คิดจะหลีกเลี่ยงก็ไม่เป็นผลเหตุการณ์มันบังคับให้ต้องกระทำเพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์ต่อเพื่อนมนุษย์ พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ อำนาจของจิตพลังลึกลับของธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ควรศึกษาและเรียนรู้ แต่ไม่ควรเข้าไปยึดถือหรือเข้าไปหลงใหลรู้ เห็น เข้าใจ ทำได้ แต่ไม่ไปยึดติดทุกสิ่งล้วนเป็นประสพการของชีวิตเป็นกำไรของชีวิต พรสวรรค์หรืออุปนิสัย เป็นของที่ลอกเลียนแบบกันไม่ได้ เกิดจากวาสนาและบารมีที่สั่งสมกันมาจงใช้เวลาของชีวิตที่เหลืออยู่ มาเรียนรู้ชีวิตที่เป็นจริงทุกสิ่งที่ผ่านมา คือมายาของชีวิตที่ลิขิตไปตามแรงแห่งกิเลสตัณหาเป็นโลกมายาของกิเลส พระไตรลักษณ์คือความเป็นจริงของชีวิต

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๔”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๓

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๓…

….“คนเราควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ ที่คอยชี้โทษและกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไป ว่าผู้นั้นแหละ คือผู้ชี้ขุมทรัพย์ละ ควรคบหาบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อคบหากับบัณฑิตเช่นนั้นอยู่ ย่อมมีแต่คุณอันประเสริฐส่วนเดียว ไม่มีเสื่อมเลย”…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๓”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๒

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๒…

…พระพุทธพจน์…
…เหตุ ๖ ประการเหล่านี้คือ

– การนอนตื่นสาย ๑
– การเสพภรรยาผู้อื่น ๑
– การผูกเวร ๑
– ความเป็นผู้ทำแต่สิ่งอันหาประโยชน์มิได้ ๑
– มิตรชั่ว ๑
– ความเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่น ๑

ย่อมกำจัดบุรุษเสียจากประโยชน์ที่จะพึงได้พึงถึง…
…(ที.ปาฏิ.๑๘๕ )…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖๒”