ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๖…

…เวรกรรมมีจริง ไม่ต้องรอชาติหน้าเห็นผลได้ในชาตินี้ เราทำกรรมอะไรไว้มันจะส่งผลให้ไม่ช้าก็เร็ว ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ซึ่งเราต้องเตรียมตัวเตรียมใจอย่าหวั่นไหวและตื่นตกใจ อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด ให้มันเป็นไปตามกรรมที่เราได้ทำมา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๖”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๐

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๐…

…เมื่อใจนั้นยอมรับซึ่งความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลายว่าเรานั้นเป็นผู้กระทำสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นผลแห่งวิบากกรรมที่เรานั้น ได้เคยกระทำมา ไม่โทษดินโทษฟ้า หาผู้รับผิดมาแทนเรา ใจนั้นก็จะเบา เพราะว่าได้วางจากการยึดถือทั้งหลาย ความทุกข์ที่มีนั้นก็จะคลายและเมื่อใจสบาย ความคิดนั้นก็จะโปร่งโล่งเบา เพราะว่าเข้าใจในปัญหาและอุปสรรคทั้งหลายที่เกิดขึ้นและเมื่อทำใจยอมรับได้ซึ่งความเป็นจริง อุปสรรคปัญหาในทุกสิ่งนั้นย่อมจะมีหนทางที่จะแก้ไขอยู่ที่ว่าเรานั้นทำใจได้แล้วหรือยัง…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๐”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๑

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๑…

…ไม่เคยหวังพึ่งโชคชะตาวาสนาบารมีอยู่กับสิ่งที่มีและสิ่งที่เป็นไปได้ โดยการลงมือกระทำ เพราะตนคือที่พึ่งของตนทุกสิ่งมันต้องเริ่มต้นจากตัวของเราเององค์ประกอบภายนอกนั้นคือสิ่งที่ช่วยส่งเสริมเติมต่อในสิ่งที่เราก่อเริ่มไว้ไม่ยึดติดอยู่กับความฝันอันเป็นเพียงจินตนาการ เชื่อมั่นศรัทธาในการลงมือกระทำ…

๐ เรียงร้อย ถ้อยคำ พร่ำสอน
บทกลอน บทความ นำสู่
ให้เห็น ให้เรียน ให้ดู
ให้รู้ แนวทาง แห่งธรรม

๐ เชื่อมั่น ศรัทธา ต่อท่าน
สร้างงาน ให้เสพ เช้าค่ำ
ไม่เคย จองเวร ก่อกรรม
ที่ทำ ก็เพื่อ พวกเรา

๐ แบ่งปัน เนื้อหา สาระ
อยากจะ ส่งเสริม พวกเขา
ช่วยเหลือ แบ่งปัน บรรเทา
ให้เขา ได้รู้ ทางธรรม

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๑”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๖…

…พระพุทธพจน์…
…เหตุ ๖ ประการเหล่านี้คือ
– การนอนตื่นสาย ๑
– การเสพภรรยาผู้อื่น ๑
– การผูกเวร ๑
– ความเป็นผู้ทำแต่สิ่งอันหาประโยชน์มิได้ ๑
– มิตรชั่ว ๑
– ความเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่น ๑
ย่อมกำจัดบุรุษเสียจากประโยชน์ที่จะพึงได้พึงถึง…
…(ที.ปาฏิ.๑๘๕ )…

๐ ใคร่ครวญ ทบทวนธรรม
เตือนความจำ ไว้ในจิต
แยกแยะ ความถูกผิด
ระลึกรู้ อยู่แก่ใจ

๐ สติ ระลึกรู้
เฝ้าตามดู อยู่ภายใน
รู้เห็น ความเป็นไป
การเกิดดับ ของอารมณ์

๐ ผัสสะ สิ่งกระทบ
ที่ค้นพบ ประสานสม
เผลอใจ ไปชื่นชม
จิตปรุงแต่ง และคล้อยตาม

๐ ก่อเกิด เป็นปัญหา
เพราะนำพา ให้เสื่อมทราม
เล่ห์กล แห่งบ่วงกาม
โลกธรรม นั้นนำพา

๐ เผลอใจ เพียงน้อยนิด
เพราะลืมพิจารณา
ขาดซึ่ง ตัวปัญญา
เพราะตามรู้ ดูไม่ทัน

๐ สติ ระลึกได้
จึงแก้ไข โดยฉับพลัน
มาดู ใจเรานั้น
ให้รู้ตัว และทั่วพร้อม

๐ เอาใจ ไว้กับธรรม
กุศลนำ ให้นึกน้อม
ข่มใจ ให้ยินยอม
การปรุงแต่ง ก็ดับลง

๐ เกิดดับ สลับกัน
ถ้าเรานั้น ไม่ไปหลง
สติ ที่มั่นคง
ทำให้รู้ อยู่กับธรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๕…

…ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้นมันอยู่ที่ทุกคนจะคิดและทำหรือไม่อย่าได้น้อยใจและโทษวาสนาบารมีต่อว่าตัวเรานั้นว่าไม่ดีไม่มีอำนาจวาสนาเพราะว่าการทำอย่างนั้นเท่ากับการแช่งตัวเอง ขาดความศรัทธาเชื่อมั่นในการกระทำของตนเอง ซึ่งมันจะทำให้มีแต่ความเสื่อมถอยไม่มีความเจริญ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๕”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๙

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๙…

…ทุกสิ่งอย่างล้วนมีเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปมันเป็นเรื่องของบุพกรรมที่ทำมาทั้งที่มาจากโดยตรงและทางอ้อมเพราะเรื่องของกรรมนั้นมันเป็นสิ่งที่ผูกพัน เป็นทายาท เป็นเผ่าพันธุ์จึงส่งผลมาสู่ปัจจุบันอย่างที่เป็นอยู่เมื่อใจยอมรับและรับรู้ ในเรื่องของกรรมและวิบากแห่งกรรม เพียรสร้างกุศลกรรมขึ้นมาใหม่ ใจก็จะมีแต่ความสุข ไม่ทุกข์กับวิบากกรรมทุกสิ่งอย่าง “มันเป็นเช่นนั้นเอง”…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม…
…๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๔…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๐

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๐…

…“นิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว” วิธีการอย่างนี้ ต้องใช้ให้เหมาะสมกับจังหวะ เวลาโอกาส สถานที่และตัวบุคคล มันจึงจะได้ผลทุกอย่างต้องมีการวิเคราะห์และพิจารณาว่าควรจะทำอย่างไร ซึ่งเราต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและแก้ไข ให้เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่เสมอ

… “สัพเพ ธัมมา อนัตตา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งที่เป็นสังขารและมิใช่สังขาร ทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเราว่าตัวว่าตนของเรา”…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๐”

ความหมาย และอานิสงส์ของการถวายฉัตรพระประธาน

…ความหมายและอานิสงส์ของการถวายฉัตรพระประธาน…

…คำ ว่า “ฉัตร” สามัญชนหมายถึง “ร่ม” แต่ถ้าเป็นบุคคลผู้สูงศักดิ์ เช่น พระมหากษัตริย์ เป็นต้น เรียกกันว่า “เศวตฉัตร” ตามพระราชประเพณีเรียกกันว่า “เครื่องสูง” เป็นการสถาปนาพระเกียรติยศ สำหรับผู้ที่ควรแก่การยกย่องเชิดชู เช่น การถวายเศวตฉัตร ๗ ชั้น ให้แก่ สมเด็จพระพี่นางฯ เป็นต้น

…ตามธรรมเนียมของคนไทย โดยเฉพาะในเรื่องพระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ เชื่อว่าตัวเลขที่เป็นมงคล ต่างก็ให้ความหมายไว้ดังนี้
– เลข ๓ ได้แก่ พระรัตนตรัย คือ แก้วทั้ง ๓ ประการ
– เลข ๕ อาจจะหมายถึง พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์
– เลข ๗ น่าจะหมายถึง โพชญงค์ ๗ (คุณเครื่องแห่งความสำเร็จ)
– เลข ๙ คนไทยถือว่าเป็นเลขดี มีความก้าวหน้าเป็นต้น โดยเฉพาะทางพุทธศาสนาหมายถึง มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑

…ฉะนั้น การจะถวายฉัตรให้แก่พระสงฆ์ผู้มีสมณศักดิ์ชั้นสูง หรือถวายเศวตฉัตรให้แก่พระมหากษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงก็ตาม คงจะถวายไปตามลำดับความสำคัญของบุคคลนั้นๆ ซึ่งเป็นไปตามพระราชประเพณีมาแต่โบราณ

…ส่วนอานิสงส์การถวาย “ร่ม” หรือ “ฉัตร” นั้น ในทางพระพุทธศาสนาถือว่ามีอานิสงส์สูง สมัยที่พระพุทธเจ้ายังเป็นหน่อเนื้อพระบรมโพธิสัตว์ พระองค์ยังทรงเคยถวายร่มให้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งด้วย การถวายร่มหรือถวายอาสนะ เชื่อกันว่าจะได้เกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน

…โดยเฉพาะสมัยพุทธกาล พระภัททิยะ ได้เกิดในตระกูล “ศากยราช” เมื่อออกบวช (ออกบวชพร้อมพระอานนท์) แล้วพระพุทธเจ้าได้ทรงยกย่องว่า “เป็นผู้เกิดในตระกูลสูง” ตามประวัติเล่าว่า ชาติก่อนท่านได้เคยถวายอาสนะเป็นต้น ด้วยอานิสงส์ทั้งหลายเหล่านี้ ท่านได้เกิดในตระกูลกษัตริย์ติดต่อกันถึง ๕๐๐ ชาติ เพราะตามธรรมดาคนทั่วไปมักจะเกิดสลับชาติกัน บางชาติเป็นคนธรรมดา บางชาติเป็นบุคคลสูงศักดิ์ อย่างนี้ เป็นต้น

อานิสงส์ของการถวายฉัตร

…เราได้ถวายฉัตรในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ

– เราไม่รู้สึกหนาว
– ไม่รู้สึกร้อน
– ละอองและธุลีไม่แปดเปื้อน
– เราเป็นผู้ไม่มีอันตราย
– ไม่มีจัญไร
– อันมหาชนยำเกรงทุกเมื่อ
– เป็นผู้มีผิวพรรณละเอียด
– เป็นผู้มีใจกว้างขวาง (ไม่หดหู่)

…เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ ฉัตรหนึ่งแสนคันอันประกอบด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง เว้นชาตินี้แล้ว ทรงไว้เหนือศีรษะ ของเรา เพราะผลแห่งกรรมนั้น…

…ปรารถนาดีและไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๕…

…”วันคืน ไม่ควรให้ผ่านไปเปล่า “
“รตฺโย อโมฆา คจฺฉนฺติ “…
…โพธิสัตว์สุภาษิต…

…ชีวิตแก้ไขได้ เมื่อละลายพฤติกรรม…

…วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง
สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ในทุกหน
แม้นแต่จิต และใจ ภายในตน
ยังดิ้นรน ไขว่คว้า หาทางไป

…ภายนอกนั้น อาจจะดู ว่าสงบ
แต่ค้นพบ ว่าจิตนั้น ยังหวั่นไหว
กระแสโลก ที่กระทบ จบที่ใจ
จิตหวั่นไหว เพราะว่าใจ ไม่มั่นคง

…จึงตามดู ตามรู้ ดูที่จิต
ดูความคิด ของจิต เมื่อมันหลง
ดูให้เห็น ความเป็นอยู่ แล้วก็ปลง
จิตมั่นคง เมื่อมีธรรม นั้นนำทาง

…ความเคยชิน ที่สะสม มานมนาน
เพราะว่าผ่าน หลายเรื่องราว ในโลกกว้าง
การจะลด การจะเลิก การจะวาง
จึงต้องสร้าง ความชินใหม่ ไปทดแทน

…นั้นคือการ ละลาย พฤติกรรม
ที่เคยทำ จนเกาะกุม เป็นปึกแผ่น
จึงต้องสร้าง สิ่งใหม่ ไปทดแทน
แม้นจะแสน ยากนัก จักต้องทำ

…ทุกอย่างนั้น มีแนวทาง จะแก้ไข
อยู่ที่ใจ ของเรา จะหนุนค้ำ
ยอมแก้ไข ในสิ่ง ที่เคยทำ
พฤติกรรม เก่าเก่า ยอมละวาง

…ยอมลดละ อัตตา และมานะ
ยอมลดละ ทำใจ ให้เปิดกว้าง
โลกทัศน์ ชีวทัศน์ ต้องจัดวาง
เปลี่ยนทุกอย่าง ที่เคยทำ กรรมไม่ดี

…ไม่มีคำ ว่าสาย หากเริ่มต้น
ความหลุดพ้น มีได้ ในทุกที่
เริ่มจากใจ จากจิต คิดให้ดี
ต้องเริ่มที่ ใจของเรา เท่านั้นเอง…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๔…

…ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนแต่สมมุติกันขึ้นมา บัญญัติกันตามชาติและภาษาจึงมีชื่อแตกต่างกันออกไป ไม่มีอะไรจะฝืนกฎของพระไตรลักษณ์ได้เลย ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมานั้น คือมายาของโลกสมมุติ ที่เราหลงไปติดอยู่ หลงเข้าไปยึดถือ จนไม่เห็นสัจธรรมที่แท้จริง ของสรรพสิ่งจากธรรมชาติที่อยู่รอบกายและภายในจิตภายในใจของเรา…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๔”