บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๘

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๘…

…ชีวิตนี้มันเป็นของน้อยทุกวินาทีที่ผ่านไป คือการเดินไปสู่ความตายจึงจำเป็นต้องทำวันนี้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ “การทำความเพียรนั้นอย่าได้หลอกตนเอง ทำให้จริงจังตั้งสติกำหนดให้สตินั้นมีกำลังแก่กล้า ทำสติและสัมปชัญญะให้มันแจ้ง” ทาน ศีล ภาวนาศีล สมาธิ ปัญญา การเจริญภาวนานั้นเป็นเครื่องชำระจิตใจให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใสที่กระทำนั้นไปมีความหมายเพื่อที่จะกำจัดกิเลสภายในใจของเรา ไม่ใช่ทำไปเพื่อสนองตัณหา ให้ก่อเกิดมานะอัตตาแต่เป็นไปเพื่อความลดละแห่งกิเลสตัณหา ด้วยการพิจารณาดูกาย ดูจิต ดูความคิดของตัวเราเอง ดูตัวเราว่ามีปัญญาที่จะพิจารณาธรรมเป็นไหมและทำอย่างไร เพื่อให้เกิดความเจริญในธรรมเพิ่มขึ้น…

…คนดีชอบแก้ไข คนจัญไรชอบแก้ตัว…

๐ มัวแต่มอง จ้องผิด คนอื่นเขา
แต่ตัวเรา เป็นอย่างไร ไม่เคยรู้
จิตคิดเลว อย่างไร ไม่เคยดู
เรื่องคนอื่น เที่ยวรู้ ไปรอบทิศ…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๘”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๙

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๙…

…ถามตัวเองอยู่เสมอว่า วันเวลาที่ผ่านไปนั้น เราได้อะไรจากวันเวลาและคุ้มค่ากับวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่เพื่อไม่ให้เราหลงกับวัยและเวลาชีวิตที่เหลืออยู่จะได้เร่งสร้างคุณค่าให้กับชีวิต แม้นเพียงสักน้อยนิดก็ยังดีกว่าที่เรานั้นจะไม่ได้ทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ไม่ได้หวังว่าจะต้องได้ในชาตินี้หรือชาติหน้าเพียงแต่ตั้งใจว่าจะทำไปเรื่อย ๆ ถึงเมื่อไหร่ไปเมื่อนั้น จะไม่สร้างความกดดันให้กับตัวเองเหมือนที่เคยผ่านมา เพราะว่าจะทำให้เกิดอาการเกร็ง เพราะไปเคร่งแล้วมันจะเครียด เป็นการเบียดเบียนตนเองความเจริญในธรรมทั้งหลายก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะว่าความกังวลกดดันมาขวางกั้นความเจริญในธรรมทั้งหลายมิให้เกิดขึ้น…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๔…

…มีสติอยู่กับกายและจิตในขณะทำงานที่ร่างกายนั้นเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาคือการเจริญสติสัมปชัญญะ ตามแนวของสติปัฏฐาน ๔ ในอิริยาบถบรรพและสัมปชัญญะบรรพ คือพิจารณาดูอิริยาบถของกายและพิจารณา รู้ตัวทั่วพร้อมในความเคลื่อนไหว ขณะที่ทำงานไปพิจารณาไปจนไม่ได้สนใจกับเวลาที่ผ่านไป พยายามทรงไว้ซึ่งอารมณ์กรรมฐานไว้ โดยการมีสติและสัมปชัญญะอยู่กับกาย เวทนา จิต ธรรมอยู่ตลอดเวลา พิจารณาในหัวข้อธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๔”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๓…

…ทบทวนเรื่องราวหลากหลายของชีวิตที่ผ่านมาในอดีตทั้งที่เป็นฝ่ายกุศลและฝ่ายที่เป็นอกุศล ก่อนที่จะเข้าสู่เส้นทางสายธรรม วิเคราะห์หาเหตุและปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบในสมัยนั้นที่มันเป็นไปเพราะอะไรเราจึงคิดและทำอย่างนั้นแล้วมองย้อนกลับมาสู่ปัจจุบัน จึงเห็นซึ่งความแตกต่างความแปรเปลี่ยนไปเมื่อก่อนนั้น จิตมันหยาบแข็งกระด้างเพราะอัตตาและมานะของเรายังไม่ถูกขัดเกลา จึงแน่นหนาไปด้วยกิเลสคือความรักโลภ โกรธ หลง ที่เข้าครอบงำจิตของเรา พฤติกรรมที่แสดงออกนั้นจึงก้าวร้าวรุนแรง ตอบโต้ทุกครั้งที่มีอะไรเข้ามากระทบจิต ไม่รู้จักความผิดชอบและชั่วดี ดำเนินชีวิตอยู่ในวิถีแห่งคนพาลสันดานหยาบ หมกมุ่นอยู่กับกิเลสตัณหาและอุปาทานโดยคิดว่ามันคือความสุขจากการที่ได้เสพในสิ่งที่ตอบสนองเหล่านั้น…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๓”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๗

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๗…

…ธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายนั้นต่างมีทิฏฐิมานะและอัตตาอยู่ในตัวชอบผลักภาระความผิดไปให้ผู้อื่นไม่ยอมรับความผิดในสิ่งที่ตนได้กระทำไป มักอ้างว่า เพราะสิ่งนั้นเพราะสิ่งนี้ เพราะคนนั้น เพราะคนนี้มันจึงเป็นเช่นนี้ และเมื่อหาคนมารับผิดแทนตนไม่ได้ ก็ไปโทษสิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่มองไม่เห็นตัวตนโทษสถานที่ โทษผีสาง เทวดาให้มารับผิดแทนตน คอยแต่จะโทษผู้อื่นและสิ่งอื่น ไม่ยอมที่จะมามองตนเอง เพื่อที่จะปรับปรุงและแก้ไขตนเอง

…มันจึงเกิดความวุ่นวาย ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น ล้วนแล้วมาจากกรรม คือการกระทำของตัวเราเองทั้งในอดีตและปัจจุบันทั้งที่จำได้และจำไม่ได้ ทุกอย่างล้วนมีเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นและสิ่งนี้ ขอเพียงให้เรามีสติระลึกรู้คิดทบทวนใคร่ครวญเราก็จะเห็นเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดของสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งทางดีและทางร้ายที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๗”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๘

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๘…

…ฤดูกาลแห่งพรรษาผ่านล่วงเลยไปเกินครึ่งพรรษา รู้สึกธรรมดากับวันเวลาที่ผ่านไปเพราะว่าใจเรานั้นไม่ได้มีความกังวล ไม่เหมือนสมัยเมื่อแรกบวชนั้น เรายังทำใจไม่ได้ไม่เข้าใจธรรม ไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ พอถึงฤดูเข้าพรรษาใจเรามันเร้าร้อน มีความกังวลกับวันเวลาที่ผ่านไปในแต่ละวันนั่งนับวัน นับคืน ดูปฏิทิน อยากจะให้วันเวลานั้นผ่านไปให้ถึงวันออกพรรษาเร็ว ๆ เพื่อจะได้เดินทางท่องเทียวเปลี่ยนสถานที่ ไปแสวงหาครูบาอาจารย์ตามที่ต่าง ๆ …

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๘”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๓…

…มีพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐานเป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้ เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขรและสัตว์จตุบาท ทวิบาทนานาชนิดบุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบายมีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่ปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อย ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน” ….

…”สวรรค์ อยู่ในอก
และนรก อยู่ในใจ “
เราทำ สิ่งใดไว้
รู้แก่ใจ ของเราเอง

…ดีชั่ว ตัวกำหนด
จะละลด ควรรีบเร่ง
ความชั่ว จงกลัวเกรง
อย่าอวดเบ่ง เพราะถือดี

…บาปกรรม อันน้อยนิด
จะตามติด ไปทุกที่
ส่งผล ทางไม่ดี
ให้เรามี ความทุกข์ใจ

…ความดี ควรรีบทำ
เพื่อจะนำ จิตสดใส
ความดี ที่ทำไป
ส่งผลให้ ได้เจริญ

…เมื่อใจ ไม่คิดชั่ว
และทำตัว น่าสรรเสริญ
พาใจ ให้เพลิดเพลิน
จิตเจริญ ในทางธรรม

…มองโลก ในแง่ดี
ก็จะมี ความสุขล้ำ
ความชั่ว ไม่ครอบงำ
ก็จะทำ แต่สิ่งดี

…สิ่งดี เริ่มที่จิต
อยู่ที่คิด ไม่ผิดที่
คิดดี และทำดี
เพียงเท่านี้ ดีก็มา

…ใจดี ก็มีสุข
เพราะว่าทุกข์ ไม่มาหา
ใจสุข ภาวนา
เกิดปัญญา เห็นความจริง

…ความจริง ของชีวิต
เห็นเมื่อจิต นั้นอยู่นิ่ง
มองเห็น สรรพสิ่ง
เห็นความจริง คือเห็นธรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๒

..ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๒…

…ในยามที่จิตคิดฟุ้งซ่าน การเข้าไปจัดการความฟุ้งซ่านให้ดับลง ต้องใช้การน้อมใจมาดูจิต ดูความคิดทั้งหลายของเรา เอาจิตถามจิต ว่าทำไมต้องคิดต้องปรุงแต่งคิดแล้วได้อะไร คิดแล้วทำได้หรือไม่ สิ่งที่คิดนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล คิดแล้วมีผลเป็นอย่างไรมีคุณหรือไม่ อะไรเป็นเหตุที่ทำให้คิดเอาจิตถามจิต หาคำตอบที่จิตของเราเองเอาจิตถามจิต จนเห็นที่เกิดของจิตคือเห็นต้นเหตุแห่งความคิด จึงจะเข้าใจในความคิด เข้าใจจิตและเข้าใจในธรรมซึ่งต้องหมั่นทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ จนเกิดเป็นความเคยชินของจิต เมื่อมีสิ่งมากระทบและทำให้เกิดความคิด ทำให้จิตแปรเปลี่ยนไป ตามดู ตามรู้ ตามเห็น ให้ทันกับสิ่งเหล่านั้นที่เกิดขึ้น

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๒”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๖

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๖…

…นรกหรือสวรรค์ นั้นเป็นสิ่งที่ยังไม่เห็นในวันนี้ แต่สิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ คือความสุขและความทุกข์ทั้งหลาย ที่เราสัมผัสได้ในปัจจุบัน ทำอย่างไรที่เราจะอยู่กับมันอยู่เหนือมัน ทำอย่างไรให้ใจของเรานั้นไม่สับสนและวุ่นวาย นั้นคือสิ่งที่เราต้องทำในวันนี้ เป็นสิ่งที่เห็นและสัมผัสได้ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ยากถ้าคุณคิดที่จะทำ…

…ทบทวน ในข้อธรรม
เพื่อเตือนย้ำ จิตสำนึก
ควบคุม ความรู้สึก
มีสติ ควบคุมกาย

…รู้ตัว อยู่ทั่วพร้อม
จิตนำน้อม สู่จุดหมาย
ตั้งจิต ไว้ในกาย
ไม่ส่งออก ควบคุมตน

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๖”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๗

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๗…

…สติและสัมปชัญญะ การระลึกรู้และความรู้ตัวทั่วพร้อมที่น้อมเข้าหาธรรม จะนำมาซึ่งความสุขและความสงบ เป็นสิ่งที่เรารับรู้ได้ด้วยจิต มันเป็นความรู้สึกที่รู้ได้เฉพาะตนสิ่งนั้นคือความเป็น “ปัตจัตตัง”

…เมื่อเรานั้นได้ย้อนมาพิจารณากายจิตของเราเราย่อมได้รู้ถึงสภาวะที่เป็นอยู่ของกายจิตเราสุขหรือทุกข์ สับสนวุ่นวายหรือสงบ สิ่งเหล่านั้นไม่มีใครจะมารู้ดีกว่าตัวของเราเอง ดั่งที่ครูบาอาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า “ไม่มีใครรู้ซึ้งเท่าหนึ่งจิต”หากเราให้เวลาแก่ชีวิต หันมาพิจารณาดูกายดูจิตตัวของเราเอง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๗”