ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๒…

…ฝากสายลม ผ่านร่มไม้ จากชายน้ำ บันทึกเรื่องราวความรู้สึกนึกคิดของจิตวิญาณ ผ่านกาลเวลาแห่งช่วงอารมณ์ มันคือปัจจุบันธรรม อันเป็นธรรมชาติของจิตที่แท้จริงที่เราควรคิดพิจารณา

…“ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็นแล้วก็ปล่อย” สิ่งนี้เป็นคติธรรมที่ใช้ในการสอนศิษย์และคนใกล้ชิดทั้งหลาย เพื่อที่จะได้รู้พื้นฐานความคิดและจิตสำนึกของเขาเหล่านั้นว่าเขามีพื้นฐานเป็นอย่างไร โดยการกระทำทางกายให้เห็น ทำให้เป็นตัวอย่าง ไม่ต้องกล่าวไม่ต้องสอนด้วยวาจาในเบื้องต้น

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๑…

…อย่าดูหมิ่นว่าบุญเล็กน้อยไม่มีผลการสะสมบุญทำให้มีความสุขและเป็นที่พึ่งของตนในโลกหน้า ถ้าทำบุญช้าไป ใจจะยินดีในบาป…
…พุทธพจน์…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๑”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๕

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๕…

…ทุกครั้งที่รู้สึกตัว ตื่นขึ้นมาจะกำหนดจิตระลึกย้อนไปถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาของช่วงเวลาที่ผ่านไปในวันที่ผ่านมา ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นจากภายนอกและสิ่งที่เกิดขึ้นจากภายในที่สัมผัสได้ด้วยกายและรับรู้ได้ด้วยจิต ในสิ่งที่คิดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่ทำ เป็นการทบทวนธรรมฝึกความจำ คือการระลึกรู้อดีตนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้นซึ่งเป็นวิธีการฝึกจิตอย่างหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๕”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๖

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๖…

…มีบางครั้งที่รู้สึกท้อแท้และเบื่อหน่ายต่อสังคม แต่เมื่อสติระลึกได้ ก็ปรับความรู้สึกได้ ละวางซึ่งอารมณ์นั้น เป็นธรรมดาของชีวิตและความคิดที่เกิดขึ้น เพราะมันมีเหตุและปัจจัย “ธรรมารมณ์สิ่งที่มากระทบจิต” ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดจิตไปเสพรับรู้ซึ่งอารมณ์นั้นและปรุงแต่งมันให้มีกำลังเพิ่มขึ้น ถ้าไม่รู้จักควบคุมใจหมั่นดูจิตของตน ปล่อยให้ความคิดมันปรุงแต่งไป ใจนั้นก็จะเป็นทุกข์เพราะเข้าไปยึดถือ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่๑๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่๑๑…

…เหนื่อยล้ากับการแรมรอนของชีวิตบางครั้งเคยคิดที่จะหยุดซึ่งลมหายใจอยากจะจากไปโดยไม่ต้องหวนกลับมาบอกลาซึ่งการเกิดแก่และเจ็บตายแต่ยังทำไม่ได้เพราะบุญกุศลไม่เพียงพอจึงต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปในโลกที่แสนจะวุ่นวายทำให้ยอมรับกับความจริงสิ่งเหล่านั้นให้ได้

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่๑๑”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๐

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๐…

… จงเป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่เลี้ยงง่ายไม่สร้างความลำบากใจ ความอึดอัดและความกดดันให้แก่บุคคลรอบข้างให้ทุกอย่างเป็นไปตามสามัญลักษณะของธรรมชาติที่มันควรจะเป็น โดยมีธรรมวินัยเป็นกฎกติกาของชีวิตและเป็นกิจที่ต้องกระทำ อย่าได้ไปตั้งกฎกติกาใหม่ขึ้นมาเพื่อสนองตอบตัณหาของตนเอง ไม่ควรตัด ไม่ควรเติมเพิ่มในสิ่งที่พระพุทธองค์นั้นทรงตรัสไว้ชอบแล้ว ตรัสไว้ดีแล้ว เพราะสิ่งที่ไปตัดออกหรือเพิ่มเข้ามาใหม่นั้นมันมาจากตัณหา ความอยากความต้องการของเราเองทั้งนั้น ที่อยากจะให้มันเป็นไปตามที่ใจของเรานั้นปรารถนาและต้องการ มันเป็นการทำเพื่อสนองตอบ ตัณหาของตัวเราเอง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๐…

…หลวงพ่อพุทธทาสท่านสอนไว้ว่า ชีวิตคือการทำงาน การทำงานอย่างมีสตินั้นคือการปฏิบัติธรรมดำเนินชีวิตด้วยการทำงานทั้งทางภายนอกและภายใน ควบคุมกายใจด้วยสติและสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา พิจารณาให้เห็นความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลายทำใจให้ยอมรับกับสภาพแห่งความเป็นจริงในสิ่งเหล่านั้น เมื่อใจรับได้เพราะรู้และเข้าใจในความเป็นไปของสิ่งเหล่านั้น เห็นที่มาที่ไปเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น เมื่อละวางมันได้ความทุกข์เพราะความกังวลทั้งหลายก็หายไปสิ้นไป จิตเข้าสู่ความโปร่ง โล่ง เบา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๐”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๔

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๔…

…ขออนุโมทนาบุญกับทุก ๆ ท่านที่ได้มีส่วนร่วมในการบูรณะสร้างวัดลาดเค้าขึ้นมาใหม่ จนอย่างที่เห็นเช่นปัจจุบันนี้ขออานิสงส์แห่งคุณความดีทั้งหลายจงปกปักคุ้มครองรักษา ให้ทุก ๆ ท่านประสพกับความสุขความเจริญ ทั้งในทางโลกและทางธรรม อย่าเจ็บ อย่าไข้อย่าจน บุญกุศลหนุนนำ ธรรมรักษาเทวดาคุ้มครอง…

“ถ้าศีลธรรมไม่กลับมาโลกาวินาศ มนุษย์ชาติจะเลวกว่าเดรัจฉาน”
…(คำของหลวงพ่อพุทธทาส)…

…ถ้าคน ขาดศีลธรรม
ก็จะนำ สู่ทางชั่ว
เพราะจิต หลงเมามัว
เห็นแก่ตัว ประโยชน์ตน

…แก่งแย่ง และแข่งขัน
คดโกงกัน ไปทุกหน
ในจิต คิดเล่ห์กล
ต่างฉ้อฉล เอาเปรียบกัน

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๔”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๕

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๕…

…เหมือนดั่งโบราณที่ท่านว่า “สิบปากว่า ไม่เท่าหนึ่งตาเห็นสิบตาเห็น ไม่เท่าหนึ่งมือคลำสิบมือคลำ ไม่เท่ากับทำเอง”

…การเรียนรู้และการเข้าใจในตำรานั้นมันเป็นเพียงกระบวนการทางความคิดความจำ ไม่เข้าถึงสภาวธรรมที่แท้จริงเพราะเรายังไม่ได้ทำ สภาวธรรมนั้นเป็นของเฉพาะตนคือความเป็นปัจจัตตังสภาวธรรมทั้งหลายนั้นมีเพียงความคล้ายคลึงกัน แต่จะไม่เหมือนกันไปหมดทุกอย่าง เพราะความเป็นของเฉพาะตนนั้นเอง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๕”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙…

…การปรุงแต่งในปุญญาภิสังขาร บางครั้งก็เป็นทุกข์ได้ เพราะว่าเกินความพอดี ทำให้เกิดความฟุ้งซ่านได้ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดีและความเหมาะสม ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้เป็นทุกข์เป็นโทษได้ เพราะว่าเกินกำลัง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙”