ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙…

…อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ
วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร
ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ
วณฺโณ สุขํ พลํ…

…ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคล ผู้มีปกติไหว้กราบ มีปกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๓

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๓…

…คงจะเป็นเพราะความอิ่มตัวจึงทำให้ใกล้ถึงเวลาที่จะคืนกลับสู่ความเป็นสามัญ หลังจากที่ได้เปิดตัวออกมาเพื่อสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ สามเณรและญาติโยมทั้งในเรื่องทางโลกและทางธรรมตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น ได้กระทำมาเกือบหมดทุกอย่างแล้ว เริ่มจากเป็นพระนักการเกษตรปลูกพืชผักผลไม้ เป็นพระนักสวด เป็นพระนักเทศน์ เป็นพระหมอยา หมอต่อเส้น หมอกระดูก หมองู หมอดูหมอผี เป็นหมอเจ้าพิธี เป็นพระนักสร้างนักพัฒนา เป็นพระเกจิอาจารย์อธิษฐานจิตปลุกเสกเลขยันต์สร้างวัตถุมงคล เป็นพระอาจารย์สักยันต์ เป็นพระศิลปินสร้างงานศิลป์ ออกแบบเขียนแบบวัดวาอารามเป็นช่างถ่ายภาพ เป็นนักเขียนเป็นมาทำมาเกือบทุกอย่างแล้วเหลือเพียงสิ่งเดียวที่ยังไม่ได้ทำคือทำพระนิพพานให้แจ้ง

…คงจะถึงเวลาที่จะต้องหันมาสงเคราะห์ตนเองให้เวลาแก่ตนเองมากขึ้น ปลีกตัวออกจากหมู่คณะลดการคลุกคลียุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลกทั้งหลาย มาเน้นเรื่องทางธรรมให้มากขึ้น ยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๓”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๔

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๔…

…อยู่กับปัจจุบันธรรม ด้วยการเจริญสติและสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ไม่หนีปัญหาด้วยการหลบเข้าอารมณ์สมาธิใช้สติและปัญญาพิจารณาหาเหตุหาปัจจัยของอารมณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วเข้าไปดับที่เหตุ โดยการพิจารณาให้เห็นทุกข์ เห็นภัย เห็นโทษ เห็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ของอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จนเกิดความกลัวความละอายและเกรงกลัวต่ออกุศลจิตทั้งหลาย เกิดธรรมสังเวชขึ้นในจิต เพื่อให้จิตถอดถอนจากการยึดถือเพราะเกิดความเบื่อหน่ายจางคลาย เกิดการปล่อยวาง เมื่อจิตไม่เข้าไปเกี่ยวข้องยึดถือแล้วมันก็ดับเหตุไปได้ครั้งหนึ่ง ซึ่งเราจะต้องพยายามกระทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนเกิดความเคยชินความชำนาญ ในการคิดการพิจารณา รู้เท่าทันอารมณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นและดับอารมณ์เหล่านั้นให้ได้รวดเร็วขึ้น จนเป็นอุปนิสัย แล้วเราจึงจะปลอดภัยจากกระแสโลก

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๔”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘…

…มีผู้สงสัยเพราะไม่เข้าใจในความหมายของคำว่า “ใบลานเปล่า” และคำว่า “น้ำที่เต็มแก้ว” ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรซึ่งทั้งสองคำนี้เป็นการอุปมาอุปมัยถึงภูมิธรรมภูมิปัญญาของผู้ศึกษาและผู้ปฏิบัติธรรมมีความหมายเนื้อหาที่แตกต่างกันโดยลักษณะ ซึ่งพอจะอธิบายขยายความได้ดังนี้…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๒

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๒…

…ชีวิตต้องดำเนินต่อไป ตราบที่ลมหายใจนั้นยังมีอยู่ การเริ่มต้นของเช้าวันใหม่ เราควรจะทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตของเราเองเมื่อรู้สึกตัวตื่นขึ้นมา จงเจริญสติและสัมปชัญญะให้มีความสมบูรณ์มีความระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมในกายและจิตของเรา ตั้งจิตของเราให้เป็นกุสลจิต เพื่อชีวิตในเช้าวันใหม่เป็นการสร้างเหตุและปัจจัยให้แก่ชีวิตของเรา เพื่อที่จะรับเอาสิ่งที่ดีๆเข้ามาสู่ชีวิต ซึ่งมันต้องเริ่มที่จิตของเรา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘…

…ในส่วนลึกของจิตสำนึกนั้นทุกคนย่อมจะมีจิตสำนึกแห่งความใฝ่ดีซ่อนอยู่เสมอ เพียงแต่บางครั้งยังไม่ได้แสดงออกมาเพราะเงื่อนไขของเรื่องจังหวะเวลา โอกาส สถานที่และตัวบุคคลนั้นยังไม่เอื้ออำนวย ไม่เปิดโอกาสให้แสดงออกมาได้ในสิ่งนั้นทุกคนต่างมีเหตุปัจจัยและพื้นฐานความคิดที่แตกต่างกัน ทำให้ความคิดเห็นของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๓

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๓…

…อะไร ๆ ในโลกนี้ “มันก็เป็นเช่นนั้นเอง” ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า “จิตใจคนจะเสื่อมไปจากคุณธรรมตามกาลและเวลา จนสิ้นสุดพระศาสนาเมื่อครบ ๕,๐๐๐ ปี” เพราะโลกนี้เปลี่ยนแปลงไป ตามกฎของพระไตรลักษณ์ “ขอเพียงความเสื่อมนั้นอย่าเกิดจากเราเป็นผู้กระทำก็เพียงพอแล้ว”…

“…อย่าทำดีเพียงเพื่อ…ดีกว่าคนอื่น…”

…ยกคำอุทาหรณ์
และบทกลอนมาขยาย
เพื่อให้เข้าใจง่าย
ในความหมายให้จดจำ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗…

…การศึกษาธรรมและการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องมีวิจารณญาณอย่าเชื่อทันทีที่ได้ยินได้ฟังมาอย่าได้ศรัทธาเพราะยึดติดในตัวบุคคล จงเอาเหตุและผลมาเป็นที่ตั้ง แห่งการคิดและพิจารณาธรรมว่าควรจะเชื่อหรือจะปฏิเสธ ในสิ่งที่ได้อ่าน ได้ยินหรือได้ฟังมา ดั่งที่เคยกล่าวอยู่เสมอไว้ว่า “ถ้าเชื่อในทันที จะนำไปสู่ความงมงาย ถ้าปฏิเสธทันทีจะทำให้เสียโอกาสขาดประโยชน์” …

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๑

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๑…

…ใคร่ครวญทบทวน ตัดปลิโพธความกังวลทั้งหลายออกไปชั่วขณะ ทำจิตให้ว่างจากอัตตา พิจารณาทุกอย่างตามความเป็นจริงในสิ่งที่เห็นและรับรู้ วางจิตให้นิ่ง ไม่เอาความรักความเกลียด ความพอใจและไม่พอใจมาตัดสินในปัญหามีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกายและจิตอยู่ตลอดเวลา แยกแยะกุศลและอกุศลออกจากกัน โดยการพิจารณาถึงคุณ ถึงโทษ ถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ในสรรพสิ่งที่ได้เห็นและได้รับรู้ เอามาเป็นครูสอนธรรม เตือนย้ำในจิตสำนึกอยู่ตลอดเวลาให้ระลึกรู้ในสิ่งที่ควรคิด ในกิจที่ควรทำตามบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่พึงมีทำหน้าที่ของเรานั้นให้สมบูรณ์ ตามกำลังความรู้ความสามารถที่เรานั้นพึงมี ให้จิตของเรานี้ระลึกถึงธรรมอยู่ตลอดเวลาเมื่อเรารักษาธรรม ธรรมนั้นจะกลับมารักษาคุ้มครองเรา…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๑”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗…

…โรคที่รักษายากที่สุดคือโรคอุปาทาน เพราะว่ามันเกิดที่จิต มันยึดติดอยู่ใจมันคิดอยู่ตลอดว่าโรคนั้นยังไม่หายมันยังเป็นอย่างนั้นอย่างนี้อยู่ จิตมันจะสร้างภาพและอาการของโรคที่คิดว่าเป็นอยู่ขึ้นมาตลอดเวลา

…การที่จะรักษาโรคอุปาทานนั้นจึงจำเป็นต้องมีพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ให้เขาเกิดความศรัทธาในการรักษา เพื่อให้เชื่อว่าอาการที่เขาเป็นอยู่นั้น ได้รับการรักษาและแก้ไขให้แล้ว พิธีกรรมนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีและต้องทำ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗”