บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๒

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๒…

…บันทึกเรื่องราวความรู้สึกนึกคิดของจิตวิญาณ ผ่านกาลเวลาแห่งช่วงอารมณ์ มันคือปัจจุบันธรรมอันเป็นธรรมชาติของจิต ที่แท้จริงที่เราควรคิดพิจารณา

…“ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็นแล้วก็ปล่อย” สิ่งนี้เป็นคติธรรมที่ใช้สอนศิษย์และคนใกล้ชิดทั้งหลายเพื่อที่จะได้รู้พื้นฐานความคิดและจิตสำนึกของเขาเหล่านั้น ว่าเขามีพื้นฐานเป็นอย่างไร โดยการกระทำทางกายให้เห็น ทำให้เป็นตัวอย่างไม่ต้องกล่าวไม่ต้องสอนด้วยวาจา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖…

… “รู้ไปหมด แต่อดไม่ได้” นั้นเป็นเพราะความเคยชินที่สะสมมาต้องพยายามแก้ไขพฤติกรรมทางความคิดเสียใหม่ค่อยๆคิดค่อยๆทำ สั่งสมประสบการณ์ทางจิต ทางความคิด สร้างความเคยชินให้เป็นนิสัย เปิดมุมมองของจิตให้เปิดกว้างและต้องพยายามกระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นพฤติกรรมปกติของจิตในการคิดการทำและการพูด

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๐

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๐…

…ชีวิตคือการเดินทางของจิตวิญญาณ ที่ต้องผ่านบททดสอบมามากมายกว่าจะถึงจุดหมายปลายทางของชีวิต เรียนรู้ความถูกผิดและดีชั่วอยู่ตลอดเวลา แสวงหาซึ่งความสำเร็จของชีวิตที่คิดไว้แตกต่างกันไปตามความปรารถนาของแต่ละคน

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๔๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖…

…อย่าไปหวั่นไหวกับกระแสโลกจนเกินไป คืออย่าไปยินดี ยินร้ายกับคำสรรเสริญและคำนินทาความสุขหรือความทุกข์และลาภยศทั้งหลาย อย่าไปหวั่นไหวกับมันเพราะว่าความหวั่นไหวนั้นมันจะทำให้เราขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง เรียกว่าเป็นคนโลเลไม่แน่นอน ไม่มีความกล้าที่จะลงมือกระทำในสิ่งใดจิตนั้นย่อมทุรนทุรายหวั่นไหวไปกับโลกธรรม ซึ่งจะนำมาซึ่งความทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเราวางใจให้อยู่เหนือโลกธรรมได้เมื่อไรใจของเรานั้นก็จะเป็นสุข

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๑

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๑…

…ถ้าไม่ยึดอะไรในสิ่งรู้ ก็จะอยู่อย่างสงบพบเยือกเย็น…จากหนังสือ “ฟ้าสางทางสุภาษิต ที่ข้าพเจ้าชอบ”…
…หลวงพ่อพุทธทาส โมกขพลาราม ไชยา…

…แต่ละวันที่ผ่านไปนั้น มีเรื่องราวมากมาย ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ที่ทำให้เราคิดและต้องทำ มีผัสสะสิ่งกระทบมากมาย ให้เรานั้นได้รับรู้ เราจึงควรจะจดจำเพียงสิ่งที่มีประโยชน์และเป็นสาระ ส่วนสิ่งที่เป็นขยะทางความคิดลบมันไปไม่จดจำ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๑”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕…

…พุทธประสงค์ ๕ ประการ…

๑. สุตตานัง วิสุทธิยา ทำกายวาจาใจของสัตว์โลกให้บริสุทธิ์หมดจด

๒. โสกปริเทวานัง สมติกกมายะ ดับความเศร้าโศกปริเทวนาต่าง ๆ

๓. ทุกขโทมนัสสานัง อัตถังคมายะดับความทุกข์กาย ดับความทุกข์ใจ

๔ .ญายัสสะ อธิคมายะ เพื่อบรรลุมรรค

๕. นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๓๙

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๓๙…

…“ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็นแล้วก็ปล่อย” คือคติธรรมประจำใจในการสอนลูกศิษย์ทั้งหลาย ไม่ไปจัดระเบียบ เรียกร้องผู้อื่น ให้กระทำตามความต้องการของเรา จัดระเบียบของตัวเราเอง เรียกร้องตัวเราเองในการประพฤติปฏิบัติ ใครจะทำหรือไม่ทำนั้นเป็นเรื่องของเขา แต่ตัวเราต้องกระทำให้เป็นตัวอย่างแก่เขาในกิจวัตรของสงฆ์ทั้ง ๑๐ ประการให้สมบูรณ์ครบถ้วน

…เป็นการสอนแบบไม่ได้สอน นั้นคือการทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแบบอย่างเพื่อสร้าง จิตสำนึกให้แก่เขา ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ว่าจะเก็บเกี่ยวได้มากน้อยเพียงใด ในการที่จะศึกษาเรียนรู้

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๓๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕…

…การรักษาศีลนั้น เราอย่าไปยึดติดกับถ้อยคำและตัวอักษรให้มากเกินไปมันอยู่ที่ใจของเรา เพราะว่าการรักษาศีลนั้น คือการมีสติและสัมปชัญญะอยู่กับกายและใจของเราภาษาชาวบ้านเรียกว่าใจอยู่กับกับเนื้อกับตัว รู้ว่าเรากำลังทำอะไรและสิ่งที่เราทำนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ถ้าเป็นอกุศลก็ไม่ควรกระทำ ควรงดเว้นการที่เราหักห้ามใจในอกุศลได้นั้น ทำให้เกิดคุณธรรม คือหิริและโอตตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๕”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๐

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๐…

…ระลึกถึงคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ท่านได้กล่าวไว้ “จิตที่ส่งออก เป็นสมุทัยผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกเป็นทุกข์จิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ”

…การเจริญวิปัสสนาคือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ คือการบำเพ็ญภาวนากุศลการฝึกตนให้มีสติอยู่กับรูปและนามคือความเป็นผู้ไม่ประมาทไม่อยู่ปราศจากสติ ผู้นั้นจึงได้ชื่อว่าปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเป็นมัชฌิมาคือสายกลาง ปฏิบัติถูกต้องตามพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔…

…ในการทำงานนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสติสัมปชัญญะและมีสมาธิในการทำงาน เพราะในการทำงานแต่ละอย่างนั้น ย่อมมีอุปสรรคและปัญหาอยู่ตลอดเวลา การที่เรามีสตินั้นจะช่วยให้เราเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ ทำให้สามารถที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้เสมอเพราะว่าเรามีสมาธิในการทำงานจึงสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ ไม่ตื่นตกใจหรืออารมณ์เสียเมื่อเจอปัญหา ทำให้สามารถที่จะแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔”