…ระลึกถึงธรรมในยามดึก…
…การทำงานที่ต้องใช้แรงงานนั้นทำให้เสียกำลังทางกาย ทำให้เกิดอาการเหนื่อย เพลีย หิว อารมณ์นั้นจะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ถ้าเราไม่ควบคุมกายและจิตของเราด้วยสติและสัมปชัญญะแล้ว อารมณ์ปฏิฆะคือความขุ่นใจ อารมณ์ ถีนมิทธะคือความง่วง ความเกียจคร้านจะเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะว่าร่างกายมันอ่อนเพลีย เสียพลังงาน
…เมื่อไม่ได้ตามที่ต้องการมันก็จะเกิดความขุ่นใจไม่พอใจ เมื่อร่างกายมันเพลียเสียพลังงานมันก็ต้องการพักผ่อน อยากจะนอน ไม่อยากจะทำงาน ซึ่งต้องแก้ไขด้วยการสร้างอารมณ์ปีติให้เกิดขึ้นและทรงไว้เพื่อให้กายและจิตมีกำลัง โดยใช้การปรุงแต่งในปุญญาภิสังขารคือการคิดถึงบุญกุศล สิ่งที่ดีงามมาเป็นตัวสร้างซึ่งอารมณ์ปีตินั้นให้เกิดขึ้น
…โดยคิดว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้คือการสร้างกุศลบารมีสร้างความดีให้กับชีวิต คิดถึงสิ่งที่เป็นกุศลและผลประโยชน์ของส่วนรวม ของศาสนา ที่จะได้รับในสิ่งที่เราทำ มันจะทำให้เรามีกำลังใจ มีความปีติ เอิบอิ่มเกิดขึ้นในใจเรา ทำให้เรามีกำลังทำงานโยธากรรมฐานจึงเป็นการปฏิบัติเพื่อฝึกควบคุมจิตโดยการมีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกายและจิต…
…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๕…