เรียงร้อยธรรมไปตามกาล ปัจฉิมบท

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล ปัจฉิมบท…

…“ทุกข์ไม่มา ปัญญาไม่มี บารมีไม่เกิด” เป็นคำสอนที่กล่าวกันมานานแล้วและเป็นความจริงมาตลอด เพราะว่ามนุษย์เรานั้นในยามที่มีความสุขมักจะหลงเพลิดเพลินลืมคิดถึงธรรม ดั่งที่เคยเขียนโศลกธรรมบทหนึ่งไว้ว่า “ตราบใดที่ยังมีหนทางไปใจย่อมไม่นึกถึงพระธรรม แต่เมื่อคุณชอกช้ำพระธรรมคือที่พึ่งสำหรับคุณ”

…และโศลกธรรมอีกบทหนึ่งที่เขียนไว้ว่า “เมื่อยังไม่ถึงกาลเวลาที่เหมาะสม จิตย่อมเข้าไม่ถึงธรรม จึงยากที่จะอธิบายให้เข้าใจได้อดทนรอให้เขามีความพร้อมจึงกล่าวธรรม”

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล ปัจฉิมบท”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๙

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๙…

…มีเวลาว่างหยุดพักการเดินทางเพราะเสร็จสิ้นภารกิจไปวาระหนึ่งพักเพื่อเตรียมการสำหรับภารกิจที่จะมาถึง ทำให้มีเวลาพิจารณาทบทวนใคร่ครวญธรรมตามที่ได้ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติมา เพื่อรักษาและทรงไว้ซึ่งสภาวธรรมที่เคยได้พบมามิให้เสื่อมไปและปฏิบัติเพื่อให้สภาวธรรมตัวใหม่เกิดขึ้นมา

…ยกเอาหลักธรรมทั้งหลายเข้ามาสงเคราะห์ อนุเคราะห์ เป็นเหตุเป็นปัจจัยในการพิจารณาปฏิบัติมีสติและสัมปชัญญะ คอยเตือนตนอยู่เสมอ ไม่ให้เผลอจิตคิดคล้อยตามกระแสซึ่งความเป็นโลกธรรมทั้งหลาย พึงพอใจในสิ่งที่มีและสิ่งที่เป็น พยายามกระตุ้นเตือนจิตสำนึกถึงบทบาทและหน้าที่ของตน ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ตามกำลังความรู้ความสามารถที่มี สงเคราะห์ซึ่งโลกและธรรมให้ก้าวไปพร้อมกัน…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๙”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๘

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๘…

…ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวเตือนไว้ว่า เรียนทางโลกนั้น เรียนไป ๆ ก็ยิ่งทำให้กิเลสหนาขึ้นทุกขณะ แต่ถ้าเรามาเรียนธรรมะ มาเรียนเรื่องละ ละโลภละโกรธ ละหลง ละกิเลสตัณหามันก็มีแต่จะเบาบางลง จนไม่มีภาระเมื่อเข้าถึงธรรมะแล้ว ใจนั้นก็จะเป็นสุขไม่ทุกข์อยู่กับโลกธรรมทั้งหลาย …

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๘”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๗

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๗…

…อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการ…

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการ เหล่านี้คือ…
๑. ย่อมได้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟัง
๒. สิ่งที่ได้ฟังแล้วแต่ไม่เข้าใจชัดย่อมเข้าใจชัดขึ้น
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔. ทำความเห็นให้ตรงถูกต้องได้
๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล”
…ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย
เล่ม ๒๒/๒๗๖…

…“กมฺมุนา วตฺตตีโลโก”…
สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไป
ตามกรรม ที่สุดของพรหมวิหาร ๔
ก็คือการวางอุเบกขา เพราะเรา
เมตตาสงสาร จึงเข้าไปสงเคราะห์
ช่วยเหลือ ถ้าเขาดีขึ้นเราก็ยินดี
ด้วยกับเขา

…แต่ถ้าสงเคราะห์แล้วยังเหมือนเดิม
หรือแย่ลงกว่าเดิมก็ต้องทำใจปล่อยวาง
เพราะว่าเราทำหน้าที่ของเรานั้น
สมบูรณ์แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันเป็น
วิบากกรรมของเขาเองที่จะต้องได้รับ

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๗ มิถุนายน ๒๕๖๕…

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๖

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๖…

…การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหวังซึ่งบุญกุศล เพื่อความเป็นมงคลของชีวิต ซึ่งต้องดูที่ดำริเจตนาในการปฏิบัติ ว่าผู้ปฏิบัตินั้นปรารถนาอะไรจากการปฏิบัติธรรมนั้นและสิ่งที่ตั้งใจปรารถนานั้น เป็นไปโดยชอบประกอบด้วยกุศลหรือไม่ หรือเป็นไปเพื่ออกุศล คือความอยากดี อยากเด่นอยากดัง มุ่งหวังคำสรรเสริญเยินยอหรือลาภสักการะ ประโยชน์ส่วนตนผู้ปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำความรู้ความเข้าใจในเจตนาของตนเองเสียก่อนเพื่อให้ไม่หลงทาง เพราะว่าถ้าผิดแต่เริ่มต้น ผลต่อไปมันก็จะออกมาผิดทาง…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๖”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๕

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๕…

…ในการตอบปัญหาธรรมหรือเขียนบทความบทกวีธรรมนั้น คือการทบทวนในธรรมที่ได้เคยปฏิบัติมา ไม่ใช่ภาระ ไม่ใช่หน้าที่ แต่เป็นการฝึกหัดปฏิบัติตน เพราะในบางครั้งเรานั้นอาจจะไม่ได้ทบทวนในข้อธรรมนั้นๆแต่เมื่อมีผู้มาถาม จะเป็นการกระตุ้นเตือนให้เราได้คิดและพิจารณาในธรรมข้อนั้นๆ ซึ่งเป็นการฟื้นความทรงจำให้แก่ตัวเราเองและคำตอบที่จะย้ำเตือนผู้ปฏิบัติธรรมอยู่เสมอนั้นก็คือการตั้งเจตนาในการกระทำ ในการปฏิบัติว่าต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นที่ถูกต้องเพราะจะทำให้ปฏิบัติไปไม่พิดพลาดหลงทางไม่สำคัญผิดคิดคลาดเคลื่อนในการปฏิบัติ

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๕”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๔

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๔…

…ย้ำเตือนตนอยู่ตลอดว่า จงทำตนให้เป็นคนเลี้ยงง่าย มีกิจวัตรประจำวันที่เรียบง่ายใจก็จะโปร่งสบาย ทำให้การเจริญสติภาวนาปฏิบัติจึงทำได้ง่าย สมาธิก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายความวุ่นวายก็น้อยลง ความกังวลยึดติดก็จะเบาบางลง…

…อย่าไปวุ่นวายใจกับคำนินทา เราไม่เก็บคำนินทามาคิด จิตเราก็จะสบาย คำติฉินนินทานั้นคือยาชูกำลัง ที่จะยับยั้งไม่ให้เราหลงระเริง คำนินทานั้นคือสิ่งกระตุ้นเตือนตัวเรา เขาติดีกว่าเขาชม ทำให้เรารู้ตัวว่าเขาคิดอย่างไรกับเรา ซึ่งถ้าเราอย่างที่เขานินทานั้น เราก็จะได้รู้และปรับปรุงแก้ไขแล้วเราจะไปโกรธเขาทำไม ซึ่งถ้าเราไปโกรธเขา ก็เท่ากับว่าเรานั้นกำลังแพ้ภัยกิเลสในใจของเรานั้นเอง…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๔”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๓

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๓…

…สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ “มันก็เป็นเช่นนั้นเอง” ตามที่พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า “จิตใจคนจะเสื่อมไปจากคุณธรรมตามกาลและเวลา จนสิ้นสุดพระศาสนา เมื่อครบ ๕,๐๐๐ ปี” เพราะโลกนี้เปลี่ยนแปลงไปตามกฎของพระไตรลักษณ์ แต่ขอเพียงความเสื่อมจากคุณธรรมนั้น อย่าเกิดจากเราเป็นผู้กระทำก็เพียงพอแล้ว…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๓”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๒

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๒…

…สติและสัมปชัญญะนั้นต้องมีควบคู่กันในการเจริญสติภาวนา เพื่อให้ไม่หลงอารมณ์กัมมัฏฐาน ไม่หลงกับสภาวธรรมที่เกิดขึ้น การเจริญสมถะสมาธินั้นอาจจะทำให้หลงอารมณ์ได้ง่าย เพราะว่าเน้นไปที่กำลังของสติแต่เพียงอย่างเดียวคือ ดู รู้ เห็น แต่เฉพาะที่กำลังเพ่งดูอยู่ไม่รับรู้ในปัจจุบันธรรม

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๒”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๑

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๑…

…ไม่เคยยึดติดอยู่กับผลงานหรือสถานที่ เพียงทำหน้าที่ให้เสร็จสมบูรณ์แล้วจากไป ทิ้งไว้และเก็บไปเพียงความทรงจำที่ดีงาม ผ่านมาแล้วก็จากไป อาจจะหวนมาใหม่เมื่อถึงกาลเวลา ชีวิตที่ผ่านมาจึงคล้ายกับสายลมที่พัดผ่านกาลเวลา

…มาเพื่อเติมเต็มในสิ่งที่ได้ขาดหายไปนั้นคือความมั่นใจในตนเองของผู้คนที่เขาขาดความเชื่อมั่น ซึ่งทุกคนนั้นมีพลังความสามารถอยู่ในตัวเองกันทุกคน เพียงแต่บางครั้งนำมาใช้ไม่เป็น จึงต้องหาที่พึ่งทางใจพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคล ครูบาอาจารย์เพื่อเพิ่มความมั่นใจและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ตนและสิ่งที่จะเสริมศรัทธา ความเชื่อมั่นให้แก่เขาได้นั้น มันต้องเป็นสิ่งที่จับต้องได้และเห็นได้ด้วยตาเนื้อ เขาจึงจะเชื่อและศรัทธา

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๑”