ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๐๐

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๐๐…

…คนที่เขาคิดว่าตัวเขาเป็นปราชญ์ เป็นผู้ฉลาดในทางโลก มีความรู้ความสามารถเป็นครูบาอาจารย์ เป็นนักวิชาการทางโลกมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ เป็นทีรู้จักของคนทั่วไปนั้น เมื่อเข้าสู่ทางธรรมต้องถอดวางหัวโขนนั้นให้หมดเสียก่อนเพราะส่วนใหญ่นั้น เมื่อมาศึกษาธรรมะแล้วก็เป็นได้เพียงนักวิจารณ์ธรรมเพราะชื่อเสียงและศักดิ์ศรี อัตตานั้นมันมาบังอยู่ จึงทำให้ไม่รู้สภาวธรรมที่แท้จริง คนฉลาดกับคนมีปัญญานั้นแตกต่างกัน ภาษาโลกและภาษาธรรมนั้นความหมายต่างกัน ความฉลาดและมีปัญญาทางโลกนั้นวัดกันด้วยไอคิวสมอง แต่ความฉลาดและปัญญาในทางธรรมนั้น รู้กันที่ใครจะมีสติและสัมปชัญญะมากกว่ากัน

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๐๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๙…

…”กมฺมุนา วตฺตตีโลโก”…สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรมที่สุดของพรหมวิหาร ๔ ก็คือการวางอุเบกขาเพราะเราเมตตาสงสาร จึงเข้าไปสงเคราะห์ช่วยเหลือ ถ้าเขาดีขึ้นเราก็ยินดีด้วยกับเขาแต่ถ้าสงเคราะห์แล้ว ยังเหมือนเดิมหรือแย่ลงกว่าเดิมก็ต้องทำใจปล่อยวาง เพราะว่าเราทำหน้าที่ของเรานั้นสมบูรณ์แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันเป็นวิบากกรรมของเขาเองที่จะต้องได้รับ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๘…

…ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้อย่าเอาชีวิตไปยึดติดกับผู้ใดขอให้ศรัทธาในธรรมะที่เขากล่าวให้มากกว่าตัวของผู้กล่าวธรรมแล้วท่านจะไม่เสียใจเมื่อผู้กล่าวธรรมนั้นแปรเปลี่ยนไป

…จงให้ความสำคัญในธรรมของพระพุทธองค์ที่มีผู้นำมากล่าวมากกว่าตัวของผู้กล่าวธรรมจงเอาที่ธรรมะ อย่าไปเอาที่ตัวบุคคล แล้วจะทำให้ท่านไม่เสียใจหรือเสียความรู้สึกเมื่อผู้ที่กล่าวธรรมนั้นมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป …

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๘”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๗


…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๗…

…ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้อย่าเอาชีวิตไปยึดติดกับผู้ใดขอให้ศรัทธาในธรรมะที่เขากล่าวให้มากกว่าตัวของผู้กล่าวธรรมแล้วท่านจะไม่เสียใจเมื่อผู้กล่าวธรรมนั้นแปรเปลี่ยนไป

…จงให้ความสำคัญในธรรมของพระพุทธองค์ที่มีผู้นำมากล่าวมากกว่าตัวของผู้กล่าวธรรมจงเอาที่ธรรมะ อย่าไปเอาที่ตัวบุคคล แล้วจะทำให้ท่านไม่เสียใจหรือเสียความรู้สึกเมื่อผู้ที่กล่าวธรรมนั้นมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป …

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๗”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๖…

…ธรรมโอวาท…

…” ท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอน คอยกัดแทะกระดาษแห่งคัมภีร์ใบลานเปล่าๆ โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว ซึ่งเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้า มาเป็นสมบัติของตน ด้วยความเข้าใจผิดว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจยิ่งกว่าภูเขาไฟ มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย จงพากันมีสติคอยระวังตัว อย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่า ๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่าไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย “…
…หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๖”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๕…

…”น ปณฺฑิตา อตฺตสุขสฺส เหตุ
ปาปานิ กมฺมานิ สมาจรนฺติ”
“บัณฑิตไม่ประกอบกรรมชั่วเพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว”…

…ระลึกถึงธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า เป็นเครื่องกระทำให้เป็นสมณะ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๕”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๔…

“ผู้มีปัญญาย่อมเว้นสิ่งไม่เป็นประโยชน์ และถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์”

“อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต”
…พุทธสุภาษิต ปัญหาสูตร ๒๑/๕๔…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๔”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๓…

“ ผู้มีปัญญาย่อมเว้นสิ่งไม่เป็นประโยชน์และถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ”
“ อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต ”
…พุทธสุภาษิต ปัญหาสูตร ๒๑/๕๔…

…การปฏิบัติธรรมนั้น ท่านต้องถามใจของท่านว่า ท่านปรารถนาสิ่งใดในการปฏิบัติธรรมและสิ่งที่ท่านปรารถนานั้นเป็นไปโดยชอบประกอบด้วยกุศลหรือไม่เพื่อจะได้ไม่หลงทางในการปฏิบัติ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๒…

…คำสอนในพุทธศาสนานั้น สอนให้เชื่อในเรื่องของกรรมและให้ยอมรับในผลของกรรม ทั้งในกรรมดีและกรรมเลวที่ได้กระทำมา ชี้ให้เห็นคุณและโทษของกรรมทั้งหลาย ชี้ทางที่ควรทำและห้ามในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๑…

…งานที่ใช้กำลัง ถ้าเราไม่ระวังสำรวมสติ จิตจะหยาบ…

…ในการทำงานที่ต้องใช้แรงงานนั้นมันย่อมมีผลต่อร่างกายและจิตใจซึ่งต้องใช้ความอดทนที่สูงมากถ้าขาดสติตามรู้ตามเห็นไม่ทันกิเลสนั้นจะแสดงออกมา (ความเอาแต่ใจตัวเอง ความเห็นแก่ตัว ความน้อยใจ ความเสียใจ ความมักง่ายความขี้เกียจ ความโกรธ) จะปรากฏขึ้นที่เป็นเช่นนั้นเพราะกิเลสมันถูกเผาให้เร้าร้อน มันถูกกระตุ้นด้วย ความเหนื่อย ความร้อน ความหิวกระหายความที่ไม่ได้ตามที่ใจปรารถนา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๑”