ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๗…

…ไม่ใช่บทความหรือเรื่องสั้น ไม่ใช่บันทึกประจำวัน แต่มันเป็นคำบอกเล่าจากความรู้สึกในชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งมันเป็นจริงในขณะนั้น อาจจะเรียกได้ว่ามันเป็นปัจจุบันธรรม เป็นถ้อยคำที่เรียบง่าย ไร้การปรุงแต่งหรือกลั่นกรองเพราะเป็นมุมมองในขณะนั้น

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๗”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๗…

…เป้าหมายของชีวิตที่ตั้งใจใฝ่ฝันอยากจะก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลาเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้ชีวิตนั้นจะเดินไปในหนทางใดมันอยู่ที่การตัดสินใจของตัวเราเองตามความคิดความเห็นและสิ่งที่เป็นอยู่รอบกายคือเหตุและปัจจัยเส้นทางชีวิตจึงมีหลายสายให้เราเลือกเดิน ซึ่งมันขึ้นอยู่กับจิตสำนึกและคุณธรรมของเรา ว่าจะเลือกเอาเส้นทางสายไหนที่จะก้าวเดินไป…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๗”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘๒

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘๒…

…อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการ… “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการ เหล่านี้” คือ…

๑. ย่อมได้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟัง
๒. สิ่งที่ได้ฟังแล้วแต่ไม่เข้าใจชัดย่อมเข้าใจชัดขึ้น
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔. ทำความเห็นให้ตรงถูกต้องได้
๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล”
…ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกายเล่ม ๒๒/๒๗๖…

…แสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง…

๐ มีมากมาย หลายหลาก มากเรื่องราว
ถ้าสืบสาว ก็จะเห็น ที่เป็นอยู่
เอาทุกสิ่ง รอบกาย มาเป็นครู
และเรียนรู้ ความคิด ชีวิตคน

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๖…

…บรรยายธรรมเป็นคำกวี…

“…สุขในการให้ ยิ่งกว่าสุขในการรับ…”

…ผู้ให้ใจประเสริฐ
เพราะสุขเกิดจากภายใน
สุขกายสบายใจ
เพราะจิตที่มีเมตตา

…ผู้รับนั้นเฝ้ารอ
การร้องขอรอเวลา
รอไปกว่าได้มา
อาจจะทุกข์เพราะเฝ้ารอ

…ผู้ให้ใจเป็นสุข
ไม่มีทุกข์มาเกิดก่อ
ให้ไปไม่ต้องขอ
มาจากจิตเพราะเต็มใจ

…ผู้ให้ไม่ตระหนี่
เพราะว่ามีจิตแจ่มใส
สละส่วนตนไป
จิตเมตตากรุณา

…เป็นพรหมขึ้นในจิต
มีความคิดมุทิตา
ให้แล้วอุเบกขา
ไม่มาคิดให้กังวล

…ความสุขในการให้
มีมากมายหลายเหตุผล
สร้างทานต่อผู้คน
ล้วนก่อเกิดเป็นกรรมดี…

…แด่คำคม..คำครู…ที่คงอยู่
มายาวนาน ศรัทธาในปัญญา
ของปราชญ์แต่ก่อนกาล…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม…
…๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๖…

…คติธรรมคำสอนของหลวงพ่อจำเนียร…

…ไม่น้อยใจตัวเองและผู้อื่น
…ไม่เสียใจตัวเองและผู้อื่น
…ไม่โกรธตัวเองและผู้อื่น
…ไม่ประชดตัวเองและผู้อื่น

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๖”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘๑

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘๑…

…ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้น มันอยู่ที่ทุกคนจะคิดและทำหรือไม่อย่าได้น้อยใจและโทษวาสนาบารมีต่อว่าตัวเรานั้นไม่ดีไม่มีอำนาจวาสนา เพราะว่าการทำอย่างนั้นเท่ากับเป็นการสาปแช่งตัวเองขาดความศรัทธาเชื่อมั่นในการกระทำของตนเองซึ่งมันจะทำให้มีแต่ความเสื่อมถอยไม่มีความเจริญ…

…โศลกธรรมนำสู่บทกวี…

…เมื่อน้ำนั้นนิ่งใส ก็จะเห็นสิ่งที่อยู่ภายในนั้นชัดเจนถ้าน้ำนั้นยังกระเพื่อมอยู่ก็เห็นได้ไม่ชัดเจนเปรียบกับจิตที่เป็นหนึ่งหยุดนิ่งย่อมรู้หมดมีอะไรรู้หมด เห็นกายเห็นจิตของตนเองได้แล้วก็ย่อมจะรู้และเข้าใจในกายและจิตของผู้อื่นเช่นกัน…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘๑”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๕…

…วิถีในทางโลกและทางธรรม บางครั้งนั้นก็ตรงกันข้ามกัน ทางธรรมนั้นเป็นไปเพื่อการลดละในสิ่งที่ยึดถือ แต่ในทางโลกกลับเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูนสะสม แต่โลกและธรรมนั้นเดินไปด้วยกันได้ไปพร้อมกันได้ ถ้าเราเข้าใจในเหมาะสมความพอดีและพอเพียง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๕”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๕…

…มีผู้ปรารถนาดีหวังดีมาถามอยู่เสมอว่า ทำไม่ไม่อยู่อย่างผู้อื่นเขาทำไมไม่เอาอย่างเขา ก็ตอบไปว่าเราอยู่กับตัวตนที่แท้จริงของเราไม่เคยคิดที่จะสร้างภาพมายาให้คนมาศรัทธาชื่นชมกล่าวยกย่องสรรเสริญอยู่กับความเป็นจริง ทำในสิ่งที่ควรทำและทำได้ในขณะนั้น

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๕”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘๐

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘๐…

…ดั่งที่เคยกล่าวไว้ว่า “วิถีโลกและวิถีธรรมนั้นต้องจะเดินคู่กันไป” เพราะว่าเราทั้งหลายนั้น ต้องใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม มิอาจจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ต้องมีการอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกันมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่มากก็น้อยตามจังหวะ เวลา โอกาศ สถานที่และตัวบุคคล เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน

…โลกและธรรมจึงต้องเดินคู่กันไปแต่คนส่วนใหญ่นั้นมักจะปฏิเสธธรรมเพราะคิดว่าเป็นเพียงเรื่องของศาสนาเป็นลัทธิ เป็นความเชื่อเฉพาะตนทั้งที่จริงแล้วธรรมะนั้นคือธรรมชาติแห่งความเป็นจริง เป็นสิ่งใกล้ตัวที่เราพบเห็นอยู่เป็นประจำในชีวิตของเรา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๔…

…ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นอยู่ที่การเริ่มต้น “It is never too late to mend ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น” ถ้าเรามีความตั้งใจที่จะทำและมีความรับผิดชอบ ในความคิดของเราเอง คือมีสัจจะต่อตนเองแล้วทุกอย่างเริ่มต้นได้ทันทีและทุกเวลาทุกโอกาส

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๔”