ปรารภธรรมในยามเย็น

…ปรารภธรรมในยามเย็น…

…ความรู้ในเรื่องทางโลกนั้นเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องภายนอกกายและจิตของเรา ส่วนความรู้ในทางธรรมนั้นศึกษาค้นหาภายในตัวเรา เกี่ยวกับกายและจิต คือเรื่องความคิดและการกระทำของตัวเราเอง เพื่อให้เข้าใจกายและจิตเข้าใจความคิด ความรู้สึกและการกระทำของตัวเรา แยกแยะในสิ่งที่เป็นกุศลและความเป็นอกุศล รู้จักข่มจิตข่มใจ ควบคุมความคิดและจิตไม่ให้เป็นอกุศล ด้วยองค์แห่งคุณธรรมคือความมี “หิริและโอตตัปปะคือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป” ด้วยการมีสติและสัมปชัญญะที่เป็นฝ่ายกุศลธรรม

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมในยามเย็น”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๑

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๑…

…จิตสำนึกแห่งคุณธรรม…

… มนุษย์ทุกคนมีความคิดถูกหรือผิดต่างรู้อยู่แก่ใจ แต่ที่ยังกระทำลงไปในสิ่งผิดเป็นเพราะว่าขาดจิตสำนึกแห่งคุณธรรม ที่จะหักห้ามใจมิให้กระทำผิด

… จิตสำนึกต้องผ่านการฝึกฝน ฝึกนึกฝึกคิดปรับจิตให้เป็นกุศล ฝึกพูดในสิ่งที่เป็นมงคลแก่ตนเองและผู้อื่น ฝึกกระทำในสิ่งที่คิดและพูดที่เป็นความดี เพียรกระทำอย่างนี้อย่างสม่ำเสมอ จนเกิดเป็นความเคยชินและติดเป็นนิสัย

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๑”

สาระกวีธรรมในยามก่อนรุ่งอรุณ

…สาระกวีธรรมในยามก่อนรุ่งอรุณ…

๐ สายลมเย็น พัดผ่าน ในยามค่ำ
ฟ้ามืดดำ คล้ายเดือนแรม ไม่แจ่มใส
เดือนและดาว บนฟ้า มาลาไป
ท้องฟ้าไร้ ซึ่งแสง แห่งดวงดาว

๐ เสียงสายลม พัดประสาน เป็นงานศิลป์
กลิ่นไอดิน ฟุ้งกระจาย ให้เหน็บหนาว
สกุณา ขับขาน เป็นครั้งคราว
คือเรื่องราว ที่ผ่านไป ในค่ำคืน

๐ ลมพัดพา เมฆไป ให้กระจ่าง
ฟ้าสว่าง พาใจ ให้สดชื่น
ช่วยปลุกใจ มิให้หลับ กลับมาตื่น
และพลิกฟื้น หัวใจ ให้ใฝ่ธรรม

อ่านเพิ่มเติม “สาระกวีธรรมในยามก่อนรุ่งอรุณ”

ใคร่ครวญทบทวนธรรมหลังตื่นนอน

…ใคร่ครวญทบทวนธรรมหลังตื่นนอน…

…หลวงพ่อพุทธทาสท่านสอนไว้ว่า ชีวิตคือการทำงาน การทำงานอย่างมีสตินั้นคือการปฏิบัติธรรม ดำเนินชีวิตด้วยการทำงาน ทั้งทางภายนอกและภายใน ควบคุมกายใจด้วยสติและสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา พิจารณาให้เห็นความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ทำใจให้ยอมรับกับสภาพแห่งความเป็นจริงในสิ่งเหล่านั้น เมื่อใจรับได้ เพราะรู้และเข้าใจในความเป็นไปของสิ่งเหล่านั้น เห็นที่มาที่ไปเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น เมื่อละวางมันได้ความทุกข์เพราะความกังวลทั้งหลายก็หายไปสิ้นไป จิตเข้าสู่ความโปร่ง โล่ง เบา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญทบทวนธรรมหลังตื่นนอน”

รำพึงธรรมกับสายลมที่พัดผ่าน

…รำพึงธรรมกับสายลมที่พัดผ่าน…

…สังคหวัตถุธรรม ๔ ประการ คือธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจหมู่คณะ และประสานหมู่คณะทั้งหลายให้เกิดความสามัคคีรักใคร่ซึ่งกันและกัน อันเป็นการสงเคราะห์ด้วยธรรมอันได้แก่…

๑. ทาน การให้คือการมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือแนะนำกัน

๒. ปิยวาจา มีวาจาเป็นที่รัก กล่าวคำสุภาพไพเราะ วาจาที่สมานสามัคคี

๓. อัตถจริยา ขวนขวายบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ร่วมกัน

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมกับสายลมที่พัดผ่าน”

รำพึงธรรมในยามเช้าของวันสิ้นเดือน

…รำพึงธรรมในยามเช้าของวันสิ้นเดือน…

….พยายามใช้เวลาที่ผ่านไปให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ระลึกรู้อยู่กับกายและจิต ยกข้อธรรมขึ้นมาพิจารณา ใคร่ครวญทบทวนตัดปลิโพธความกังวลทั้งหลายออกไปชั่วขณะ ทำจิตให้ว่างจากอัตตาพิจารณาทุกอย่างตามความเป็นจริงในสิ่งที่เห็นและรับรู้ วางจิตให้นิ่งไม่เอาความรัก ความเกลียด ความพอใจและไม่พอใจ มาตัดสินในปัญหามีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกายและจิตอยู่ตลอดเวลา แยกแยะกุศลและอกุศลออกจากกัน

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมในยามเช้าของวันสิ้นเดือน”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๐

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๐…

… “ทำงานทุกชนิดให้จิตนั้นอยู่กับธรรม” คือพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างด้วยหลักธรรมมีสติระลึกรู้และความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดรู้จักแยกแยะถูกผิด ชั่วดี รู้จักข่มจิตข่มใจไม่คล้อยตามกิเลสความอยากทั้งหลายที่เป็นอกุศล มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปคุ้มครองจิตอยู่ทุกขณะ ทำหน้าที่ของตนไปตามบทบาทและหน้าที่ ให้เต็มกำลังความรู้ความสามารถของตนเอง ทำอยู่อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าท่านนั้นกำลังปฏิบัติธรรม เพราะการปฏิบัติธรรมนั้น คือการทำหน้าที่อย่างมีสติและสัมปชัญญะระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา มีเจตนาคือกุศลจิตในขณะกระทำไม่ก้าวล่วงศีลธรรมและประเพณีที่ดีงาม ทำตามหน้าที่และความรับผิดชอบของตน รู้จักเหตุและผลในการกระทำนั้น ๆ ก็ได้ชื่อว่าท่านเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เป็นผู้มีธรรมและอยู่กับธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๐”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๐

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๐…

…การทำงานทุกอย่างเป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว เพราะว่าการปฏิบัติธรรมนั้นคือการเจริญกุศลจิต เจริญสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกขณะจิต มีความระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา ทั้งในการคิดและการกระทำ ซึ่งคนทุกคนนั้นล้วนแล้วแต่มีความคิด มีสติ แต่สิ่งที่ขาดไปคือกุศลจิต ซึ่งเป็นคุณธรรมคุ้มครองจิตไม่ให้คิดไปในทางที่ผิด รู้จักหักห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล รู้จักวางตนอยู่ในสัมมาทิฏฐิซึ่งสิ่งที่ขาดหายไปนั้นเกิดจากพื้นฐานของคุณธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละคนดังคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ว่า…บุคคลแตกต่างด้วยธาตุและอินทรีย์ บารมีที่สร้างสมกันมา

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๙๐”

ความเบื่อหรือความอยาก เกิดจากจิต

…ความเบื่อหรือความอยาก เกิดจากจิต…

…เบื่อเบื่อ อยากอยาก หลายครั้ง…..เมื่อยัง ฝึกฝน ใหม่ใหม่
หลบหลีก อยู่ตาม พงไพร…..หวั่นไหว ต่อโลก มายา
ไม่ว่า จะอยู่ ที่ไหน…..ไม่ไร้ วุ่นวาย ปัญหา
เพราะต้อง พบปะ พึ่งพา…..ศรัทธา หาเลี้ยง ชีพตน
มีคน ก็มี ปัญหา…..เพราะว่า หลบหลีก ไม่พ้น
จึงต้อง ฝึกความ อดทน…..ฝึกจน ให้เกิด ชำนาญ
ตามดู ตามรู้ ตามเห็น…..ให้เป็น อารมณ์ กรรมฐาน
รู้กาย รู้จิต เหตุการณ์…… คิดอ่าน อารมณ์ ปัจจุบัน
รู้ตัว รู้ทั่ว รู้พร้อม….. นำน้อม ความคิด สร้างสรรค์
ตามดู รู้จิต ให้ทัน……สิ่งนั้น วิปัส-สนา
ถอนจิต จากความ สงบ…..เมื่อพบ กับตัว ปัญหา
แก้ไข โดยใช้ ปัญญา……มองหา ให้เห็น เป็นจริง
มองให้ เห็นคุณ และโทษ……ประโยชน์ หรือไม่ ในสิ่ง
รู้เห็น ตามความ เป็นจริง……จิตนิ่ง ก็มอง เห็นธรรม
เห็นการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่…….และรู้ การดับ ลึกล้ำ
ชั่วดี ก่อเกิด บุญกรรม……น้อมนำ สู่จิต คิดตาม
เคลื่อนไหว แต่ไม่ หวั่นไหว…..ถ้าใจ มั่นใน ข้อห้าม
เฝ้าดู จิตอยู่ ทุกยาม…..เดินตาม ธรรมะ ชี้นำ
…เคลื่อนไหว วุ่นวาย สับสน…..เหตุผล ปัญหา ตอกย้ำ
มนุษย์ เป็นไป ตามกรรม……ใครทำ ต้องรับ กรรมไป….

…ด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร…
…๓ ธันวาคม ๒๕๕๔…

เคยเบื่อความวุ่นวายของสังคม

…เคยเบื่อความวุ่นวายของสังคม หลีกเร้นไปอยู่ตามถ้ำในป่าเขาและบนดอยแต่ไม่ว่าเราจะไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ย่อมต้องอยู่ร่วมและอาศัยศรัทธาของผู้คนในถิ่นนั้นในการหาเลี้ยงชีพและเมื่อมีการพบปะกัน ความวุ่นวายย่อมตามมา ปัญหามันมีอยู่ในทุกที่ที่มีคน เมื่อได้รู้และเห็นเป็นอย่างนั้น จึงต้องกลับมาทบทวนใหม่ ว่าจะดำเนินชีวิตอย่างไรในสังคมอันวุ่นวาย จึงได้เอาปัจจุบันธรรมนั้นมาคิดพิจารณาเป็นอารมณ์กรรมฐาน…ดูโลกที่เคลื่อนไหว แต่จิตไม่หวั่นไหว นิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว…

อ่านเพิ่มเติม “เคยเบื่อความวุ่นวายของสังคม”