ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๑…

…”ภายนอกเคลื่อนไหว ภายในสงบนิ่ง” สงบนิ่งนั้นหมายถึงการไม่หวั่นไหวไปตามกระแสโลกทั้งหลาย ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งที่ประสพพบเห็น วางใจให้เป็นกลางมองทุกอย่างด้วยเหตุและผล ซึ่งอยู่บนหลักธรรม แล้วนำมาประยุกค์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านได้กล่าวสอนไว้ว่า “ให้ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง” คือว่างจากกิเลสตัณหาและอัตตา

…พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นธรรมะ สอดคล้องกันทั้งในทางโลกและทางธรรม ซึ่งนำมาใช้และปฏิบัติได้จริงกับชีวิตประจำวันใช้ได้กับทุกเรื่องราวอยู่บนพื้นฐานของความพอดี พอเพียง ไม่เป็นภัยต่อชีวิตไม่เป็นพิษกับผู้อื่นไม่ฝ่าฝืนศีลธรรมประเพณีอันดีงาม เป็นไปโดยชอบและประกอบด้วยกุศล นั่นคือแนวทางของการปฏิบัติธรรมที่นำมาประยุกค์ใช้กับชีวิตประจำวันที่ต้องมีความสัมพันธ์ต้องพบปะกับผู้คนมากมาย ต่างจิตต่างใจต่างปัญหา ซึ่งเรานั้นไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้

…จึงต้องฝึกทำใจให้อยู่เหนือปัญหาฝึกจิตนั้นให้ว่างจากกิเลส ตัณหาและอัตตา ฝึกพิจารณาปรับเข้าหาหลักธรรมทั้งหลาย เพื่อให้ชีวิตนั้นก้าวเดินไปพร้อมกันได้ ทั้งทางโลกและทางธรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๔ ตุลาคม ๒๕๖๕…