…ปรารภธรรมในยามรุ่งอรุณ…
…การทำงานที่ต้องใช้แรงงานหนักนั้น ทำให้เสียกำลังทางกายทำให้เกิดอาการ เหนื่อย เพลีย หิว อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่ายถ้าเราไม่ควบคุมกายและจิตของเราด้วยสติและสัมปชัญญะแล้วอารมณ์ปฏิฆะคือความขุ่นใจอารมณ์ ถีนมิทธะคือความง่วงความเกียจคร้านจะเกิดขึ้นได้ง่ายเพราะว่าร่างกายมันอ่อนเพลียเสียพลังงาน
…เมื่อไม่ได้ตามที่ต้องการมันก็จะเกิดความขุ่นใจไม่พอใจ เมื่อร่างกายมันเพลียเสียพลังงานมันก็ต้องการพักผ่อน อยากจะนอน ไม่อยากจะทำงาน ซึ่งแก้ไขด้วยการสร้างอารมณ์ปีติให้เกิดขึ้นและทรงไว้เพื่อให้กายและจิตมีกำลัง โดยใช้การปรุงแต่งในปุญญาภิสังขารคือการคิดถึงบุญกุศล สิ่งที่ดีงาม มาเป็นตัวสร้างซึ่งอารมณ์ปีติให้เกิดขึ้นโดยคิดว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้คือการสร้างบารมีสร้างความดีให้กับชีวิต คิดถึงสิ่งที่เป็นกุศลและผลประโยชน์ของส่วนรวมของศาสนาที่จะได้รับในสิ่งที่เราทำมันจะทำให้เรามีกำลังใจ มีความปีติเอิบอิ่ม เกิดขึ้นในใจเรา ทำให้เรามีกำลังทำงาน โยธากรรมฐานจึงเป็นการฝึกควบคุมจิต โดยการมีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกายและจิตอยู่ทุกขณะจิต…
…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๕…