…ไม่ต้องค้นหา ไม่ต้องแสวงหา เพราะว่าของที่ค้นหาหรือแสวงหานั้น พระพุทธเจ้าได้แสวงหาและค้นหาจนพบแล้วและได้ประกาศไว้อย่างชัดเจนไม่มีการซ่อนเร้นหรือปิดบังหน้าที่ของเราคือการทำความเข้าใจและยอมรับในสิ่งนั้นแล้วเดินตามทางที่พระองค์ได้ชี้แนะไว้
อ่านเพิ่มเติม “ระลึกธรรม ถึงคำสอนของครูบาอาจารย์”บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๑
…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๑…
…เมื่อหยุดคิดปรุงแต่งและวางทุกสิ่งลงได้ ทั้งสิ่งที่รู้และสิ่งที่ถูกรู้ทั้งปวงสัจธรรมความจริงแท้ก็จะปรากฏขึ้นมาให้รู้เอง เพราะในความโปร่งในความว่างในความนิ่งจะมองเห็นทุกสิ่งอย่างชัดเจนชัดเจน
อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๑”การรักษาศีล
…การรักษาศีลนั้น เราอย่าไปยึดติดกับถ้อยคำและตัวอักษรให้มากเกินไปมันอยู่ที่ใจของเรา เพราะว่าการรักษาศีลนั้น คือการมีสติและสัมปชัญญะอยู่กับกายและใจของเรา (ภาษาชาวบ้านเรียกว่าใจอยู่กับกับเนื้อกับตัว) รู้ว่าเรากำลังทำอะไรและสิ่งที่เราทำนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล
…ถ้าเป็นอกุศลก็ไม่ควรกระทำ ควรงดเว้นการที่เราหักห้ามใจในอกุศลได้นั้นทำให้เกิดคุณธรรม คือหิริและโอตตัปปะ (ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป) ศีลจะสมบูรณ์ได้นั้น ต้องประกอบด้วยคุณธรรม คือมีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป มีสติและสัมปชัญญะที่สมบูรณ์
อ่านเพิ่มเติม “การรักษาศีล”บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๓๐
…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๓๐…
…อดีตที่ผ่านมานั้น คือบทเรียนของชีวิตมีทั้งการลองผิดและลองถูกสลับกันไป ความผิดพลาดทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้นมันไม่ใช่ความล้มเหลว แต่มันเป็นประสบการณ์ของชีวิตและเป็นการเรียนรู้กับชีวิต ไม่ยึดติดฝังใจอยู่กับความผิดพลาดที่ผ่านมา นำสิ่งนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆทำให้ดีกว่าเมื่อครั้งที่ผ่านมาชีวิตนั้นต้องเดินไปข้างหน้า สิ่งที่ผ่านมาทั้งหลายมันคือประสบการณ์ของชีวิต…
…มัวแต่มอง จ้องผิด คนอื่นเขา
กิเลสเรา เป็นอย่างไร ไม่เคยคิด
ไม่ถูกใจ ก็บอก ว่ามันผิด
ไม่เคยคิด มองหา กิเลสตน
…ถ้าถูกใจ ก็ชอบ บอกว่าใช่
ไม่ถูกใจ ก็ไร้ ซึ่งเหตุผล
มีข้ออ้าง มาแก้ ดีใส่ตน
ปัดชั่วพ้น จากตัว เพราะกลัวภัย
ใคร่ครวญธรรมยามใกล้รุ่งอรุณ
…ใคร่ครวญธรรมยามใกล้รุ่งอรุณ…
…ในการตอบปัญหาธรรมะหรือเขียนบทความ บทกวีธรรมะนั้นคือการทบทวนในธรรมที่ได้เคยปฏิบัติมา ไม่ใช่ภาระ ไม่ใช่หน้าที่แต่เป็นการฝึกหัดปฏิบัติตนเพราะในบางครั้งเรานั้นอาจจะไม่ได้ทบทวนในข้อธรรมนั้นๆแต่เมื่อมีผู้มาถาม มันจะเป็นการกระตุ้นเตือนให้เรานั้นได้คิดและพิจารณาในธรรมข้อนั้น ๆ ซึ่งเป็นการฟื้นความทรงจำให้แก่ตัวเราเอง…
อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมยามใกล้รุ่งอรุณ”ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์
“ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน คนอื่นจะทำให้คนอื่นบริสุทธิ์ไม่ได้”
“สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย ”
…พุทธสุภาษิต ธรรมบท ๒๕/๓๑…
…การเจริญจิตภาวนานั้นเป็นการกระทำที่จิตก็จริงอยู่ แต่จิตต้องอยู่กับกาย มีความสัมพันธ์กันจิตระลึกรู้อยู่ในกาย ไม่ส่งจิตออกนอกกาย อันเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นเพราะจิตส่งออก
…ในความไร้รูปแบบนั้น คือความเป็นไปตามความเหมาะสม ตามจังหวะเวลา โอกาส สถานที่และบุคคลการเลือกหาวิธีการที่เหมาะสมที่จะกระทำได้ในขณะนั้น นำมาประพฤติปฏิบัติเพื่อไม่ให้ขัดทั้งในทางโลกและในทางธรรมดำเนินไปในความเป็นปกติ
อ่านเพิ่มเติม “ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์”รำพึงธรรมในยามใกล้รุ่งอรุณ
…รำพึงธรรมในยามใกล้รุ่งอรุณ…
…รางวัลแห่งความสำเร็จของชีวิตนั้นมิได้วางไว้ที่จุดเริ่มต้น แต่อยู่ที่ปลายทาง ตราบใดที่ยังมีลมหายใจชีวิตนี้ยังไม่สิ้นหวัง ทุกสิ่งที่ผ่านมามันไม่ใช่ความล้มเหลวหรือความผิดพลาด แต่มันเป็นบทเรียนหนึ่งของชีวิตที่ต้องเรียนรู้ จงเอาอดีตที่ผ่านมานั้นมาเป็นครู สอนให้เราเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่กับปัจจุบัน…
…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕…
บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๐
…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๐…
“บัณฑิตควรตั้งตนไว้ในคุณธรรมก่อนแล้วจึงค่อยสอนผู้อื่นภายหลังตนจึงจะไม่มัวหมอง”
“อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต”
… วันเวลาแห่งชีวิตลิขิตไปตามกฎแห่งกรรมสิ่งที่เราเคยได้กระทำมาในอดีตและปัจจุบันส่งผลมาสู่วันนี้ทั้งกรรมดีที่เป็นกุศลส่งผลให้พบสิ่งดีและกรรมที่เป็นอกุศลที่ส่งผลมาเป็นอุปสรรคปัญหา สิ่งที่ผ่านมาแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วเพราะเป็นอดีต ยืดอกยิ้มสู้ยอมรับในกฎแห่งกรรมที่ทำมา…
อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๐”บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๙
…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๙…
…ความเป็นสมณะนั้นมีกฎเกณฑ์กติกาของความเป็นสมณะคุ้มครองอยู่โดยธรรมและวินัยไม่ผิดข้อวัตรตามพุทธบัญญัติและไม่เป็นไปให้ชาวโลกเขาติเตียนได้
…มันจึงมิใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ใจนั้นสงบท่ามกลางความวุ่นวายของสังคมที่กำลังดำเนินไป จึงต้องมีการปรับใหม่ ปรับกายปรับจิต ปรับความคิด ปรับการกระทำและเร่งความเพียร เพิ่มกำลังของสติและสัมปชัญญะให้มีกำลังมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับกับผัสสะสิ่งกระทบที่สามารถจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและโอกาส…
…วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง
สรรพสิ่ง เกิดดับ แล้วลับหาย
ผ่านเรื่องราว หลายหลาก และมากมาย
บทสุดท้าย งานเลี้ยง ย่อมเลิกรา
รำพึงธรรมและคำกวีในยามเช้า
…รำพึงธรรมและคำกวีในยามเช้า…
…สิ่งที่จะทำให้เกิดความเจริญในธรรมได้เร็วนั้น ก็คือแนวทางที่จะปฏิบัตินั้นต้องเหมาะสมกับจริตของเรา “ธรรมะสัปปายะ” อันมี “ฉันทะ” ความพึงพอใจในสิ่งที่ทำเป็นพื้นฐานคือการมีศรัทธาในสิ่งที่กระทำ มีความเพียรพยายามที่จะกระทำในสิ่งที่ชอบในสิ่งที่ใช่ ตั้งใจทำไปโดยไม่ทอดทิ้งธุระ กระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอมีการคิดพิจารณาใคร่ครวญ ว่าสิ่งที่ทำไปนั้นมันเป็นอย่างไร สิ่งนี้คือ “อิทธิบาท ๔” สิ่งนี้คือแนวทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จทั้งหลาย…
…กวีธรรมนำทางสว่างจิต….
” น ปณฺฑิตา อตฺตสุขสฺส เหตุ
ปาปานิ กมฺมานิ สมาจรนฺติ”
“บัณฑิตไม่ประกอบกรรมชั่ว เพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว “
………………………..
๐ ยกข้อธรรม นำมา สาธยาย
สื่อความหมาย แห่งธรรม นำวิถี
ให้ใคร่ครวญ ทวนทบ พบสิ่งดี
บทกวี ชี้ทาง ห่างอบาย
๐ ทุกถ้อยคำ เน้นย้ำ เรื่องสติ
สมาธิ ตั้งมั่น มีจุดหมาย
มีสติ คุ้มครอง รองรับกาย
เดินตามสาย เส้นทาง อย่างมั่นค
๐ ดำรงตน อยู่ใน ศีลธรรม
ไม่ก่อกรรม ทำชั่ว ด้วยมัวหลง
ซึ่งกิเลส ตัณหา พาพะวง
ให้ต่ำลง สู่อบาย ตายทั้งเป็น
๐ ยกจิตสู่ กุศล เป็นผลดี
ฝึกให้มี หิริ ระลึกเห็น
โอตตัปปะ คุ้มครอง ให้ร่มเย็น
มองให้เห็น ดีชั่ว กลัวบาปกรรม
๐ ปลุกสำนึก ความคิด จิตมนุษย์
เป็นชาวพุทธ ไม่ควร จะใฝ่ต่ำ
จงอย่าให้ กิเลส มาครอบงำ
ศึกษาธรรม นำทาง สว่างใจ
๐ รู้จักความ พอดี เป็นที่ตั้ง
ควรระวัง ความโลภ อย่าหลงใหล
ให้อยู่ดี มีสุข ไม่ทุกข์ใจ
อย่าอยากได้ เกินไป ให้ทุกข์ทน
๐ เมื่อมีน้อย ใช้น้อย คอยประหยัด
เราควรจัด บริหาร ให้เกิดผล
อย่าใช้เกิน กำลัง ระวังตน
เกิดเป็นคน ควรพินิจ คิดให้ดี…
…ฝากไว้เป็นข้อคิดเพื่อเตือนจิตสะกิดใจ…
…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕…