บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๙

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๙…

…รอวันเวลาแห่งพันธนาการจะหลุดพ้น คำมั่นและสัญญาที่เราต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ให้สมบูรณ์ เพื่อไม่ให้ค้างคาใจแล้วเราจะจากไปอย่างมีความสุขไม่ต้องกังวลใจต่อเหตุการณ์ในอดีต “อะนากุลา จะ กัมมันตา” การทำงานไม่คั่งค้างเป็นมงคลของชีวิต

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๙”

เตือนตนด้วยธรรม คำของครูบาอาจารย์

…เตือนตนด้วยธรรม คำของครูบาอาจารย์…

…ใช้เวลาที่พักจากการเรื่องงานมาเปิดยูทูปเพื่อหาฟังคำบรรยายธรรมของครูบาอาจารย์หลายๆท่าน เพื่อมาใช้เป็นแนวทางการบรรยายธรรมหรือสัมโมทนียกถาในงานปริวาสกรรมที่จะมาถึง มาสะดุดใจกับสาระธรรมคำสอนของหลวงปู่เฟื่อง โชติโก แห่งวัดธรรมสถิต จ.ระยอง ที่เรียบง่าย แต่ได้สาระจึงขอนำสาระธรรมคำสอนของท่านมาเผยแผ่เป็นธรรมทาน…

อ่านเพิ่มเติม “เตือนตนด้วยธรรม คำของครูบาอาจารย์”

ระลึกถึงธรรมคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์

…ระลึกถึงธรรมคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์…

…ผู้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม คือผู้สนใจหาความรู้ความฉลาดเพื่อคุณงามความดีทั้งหลาย ที่โลกเขาปรารถนากันเพราะคนเราจะอยู่และไปโดยไม่มีเครื่องป้องกันตัวย่อมไม่ปลอดภัย ต่ออันตรายทั้งภายนอกภายใน เครื่องป้องกันตัวคือหลักธรรมมีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ จะเป็นเครื่องมั่นคงไม่สะทกสะท้าน มีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอิริยาบถ

อ่านเพิ่มเติม “ระลึกถึงธรรมคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์”

ระลึกถึงธรรมคำของครูบาอาจารย์

…ระลึกถึงธรรมคำของครูบาอาจารย์…

…ความมุ่งหมายของพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์มีใจสูงถึงขั้นเหนือโลกหรือหลุดพ้นจากเครื่องพัวพันทั้งปวงซึ่งเป็นเหตุให้พุทธศาสนามีระดับสูงกว่าศาสนาอื่น อันมีความสูงเพียงขั้นศีลธรรม

…ฉะนั้นความปรารถนาในการพรากจิตออกมาเสียจากเครื่องห่อหุ้มทั้งปวงจึงเป็นความปรารถนาที่บริสุทธิ์ตามหลักแห่งพุทธศาสนา…
…หลวงพ่อพุทธทาส…

อ่านเพิ่มเติม “ระลึกถึงธรรมคำของครูบาอาจารย์”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๙

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๙…

… “ทำงานทุกชนิดให้จิตนั้นอยู่กับธรรม” คือพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างด้วยหลักธรรมให้มีสติระลึกรู้และความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา รู้จักแยกแยะถูกผิด ชั่วดี รู้จักข่มจิตข่มใจไม่คล้อยตามกิเลส คือความอยากทั้งหลายที่เป็นอกุศล มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปคุ้มครองจิตอยู่ทุกขณะทำหน้าที่ของตนไปตามบทบาทและหน้าที่ให้เต็มกำลังความรู้ความสามารถของตนเอง

…ทำอยู่อย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่าท่านนั้นกำลังปฏิบัติธรรม เพราะกปฏิบัติธรรมนั้นคือการทำหน้าที่อย่างมีสติและสัมปชัญญะระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา มีเจตนาคือกุศลจิตในขณะกระทำ ไม่ก้าวล่วงศีลธรรมและประเพณีที่ดีงาม ทำตามหน้าที่และความรับผิดชอบของตน รู้จักเหตุและผลในการกระทำนั้นๆ ก็ได้ชื่อว่าท่านเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เป็นผู้มีธรรมและอยู่กับธรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๔…

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘…

…เมื่อก่อนนั้นจิตมันหยาบแข็งกระด้าง เพราะอัตตาและมานะของเรานั้นยังไม่ถูกขัดเกลา จึงหนาแน่นไปด้วยกิเลสและตัณหา ปล่อยให้โทสะ โมหะเข้าครอบงำ พฤติกรรมที่แสดงออกมาจึงก้าวร้าวรุนแรง แต่เมื่อได้เข้ามาศึกษาปฏิบัติธรรมแล้ว ความรู้สึกนึกคิดจิตก็เปลี่ยนไป ทำให้เรารู้เห็นอะไรๆมากขึ้น รู้จักผิดชอบชั่วดี มีสติสัมปชัญญะในการดำรงชีวิต มีความคิดที่เป็นระบบมากขึ้น รู้จักการใคร่ครวญ ทบทวนพิจารณา หาซึ่งเหตุและผลของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น รู้จักการข่มจิตข่มใจต่อส่งยั่วยวน ควบคุมความรู้สึกนึกคิดของเราได้ มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตจิตน้อมเข้าหากุศลธรรม ดำรงตนอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัย

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๘”

ปรารภธรรมตามกาลเวลา

…ปรารภธรรมตามกาลเวลา…

…สอนให้ทุกคนคิดและพิจารณา ค้นคว้าและทดลองปฏิบัติ เพื่อความเห็นชัดแจ้งคือสอนให้คิดเป็น ทำเป็น เพราะว่าการเชื่อในทันที ที่ได้ยิน ได้เห็น ได้ฟังนั้น มันอาจจะนำไปสู่ความงมงายและความโง่ เพราะขาดการพิจารณาทำให้ขาดปัญญา คิดเองไม่เป็นต้องให้ผู้อื่นคิดให้หรือชี้แนะอยู่ตลอดเวลา

…ซึ่งในชีวิตจริงนั้นเราต้องช่วยเหลือตัวของเราเอง คือต้องทำด้วยตัวของเราเองดั่งพุทธสุภาษิตที่ว่า “อัตตา หิ อัตตาโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน” ผู้อื่นเป็นได้เพียงผู้ชี้แนะและนำทาง แต่การจะก้าวเดินไปข้างหน้านั้นอยู่ที่ตัวเรา ว่าจะก้าวขาเดินตามไปหรือไม่ ซึ่งมันขึ้นอยู่กับตัวเราเองที่จะทำหรือไม่ทำ

…ความศรัทธาที่ขาดซึ่งการพิจารณานั้นจะนำไปสู่ความงมงาย ง่ายต่อการตกไปเป็นเหยื่อของผู้ที่สร้างภาพเพื่อดึงศรัทธาแสวงหาผลประโยชน์จากความศรัทธาที่งมงาย ไร้ซึ่งเหตุและผล…

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมตามกาลเวลา”

ปรารภทบทวนธรรมในยามก่อนรุ่งอรุณ

…ปรารภทบทวนธรรมในยามก่อนรุ่งอรุณ…

…การปฏิบัติธรรมในบวรพระพุทธศาสนาทั้งสมถะและวิปัสสนากรรมฐานเราต้องละปลิโพธความกังวลห่วงใยในทุกสิ่งทุกอย่างวางจากภาระพันธะทั้งปวง ต้องมีใจเป็นอิสระเป็นการปฏิบัติที่จะต้องห่างไกลจากหมู่คณะเพราะเป็นทางเดียว ทำคนเดียวสำเร็จคนเดียว แม้พระศาสดาและผู้เป็นกัลยาณมิตร ตลอดจนผู้อุปถัมภ์ผู้ให้ความสนับสนุนทั้งหลายนั้นก็เป็นเพียงผู้ชี้ทางและบำรุงส่งเสริมเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภทบทวนธรรมในยามก่อนรุ่งอรุณ”

รำพึงธรรมในยามก่อนรุ่งอรุณ

…รำพึงธรรมในยามก่อนรุ่งอรุณ…

…ธรรมทั้งหลายเป็นสัจธรรมแต่ที่ไม่เที่ยงและไม่ใช่ตัวตนคือการปรับใช้ที่ต้องแปรเปลี่ยนไปเพื่อให้เหมาะสมกับเหตุและปัจจัยที่เห็นและเป็นอยู่

…ซึ่งถ้าเราไม่รู้จักปรับใช้ให้เหมาะสมมันก็จะกลายเป็น “สีลพรตปรามาส” คือการยึดถือในข้อวัตรที่เคร่งครัดสุดโต่งจนเกินไป กลายเป็นการยึดถือเพราะอัตตาซึ่งจะนำมา ซึ่งมานะทิฐิคือการถือตัวถือตนในโอกาสต่อไป

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมในยามก่อนรุ่งอรุณ”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๘

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๘…

…เวลาจะช้าหรือจะเร็วนั้น มันขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเรา กับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ถ้าเรารู้สึกยินดีกับสิ่งที่กำลังเป็นและเพลิดเพลินกับสิ่งนั้น เราจะรู้สึกว่าเวลานั้นแสนสั้นเหลือเกิน เพราะว่าใจของเรานั้นผูกพันยึดถืออยู่กับสิ่งนั้นไม่อยากจะให้มันผ่านพ้นไป ในทางกลับกันถ้าในเวลานั้นเรารู้สึกไม่พอใจไม่ยินดีกับสิ่งที่กำลังมีและกำลังเป็น อยากจะให้มันผ่านไปจบสิ้นไปโดยเร็ว เราก็จะรู้สึกว่าเวลานั้นผ่านไปช้าเหลือเกิน เพราะใจของเราไม่ชอบและปฏิเสธในสิ่งที่กำลังเป็นไป มันจึงรู้สึกว่าเวลานั้นผ่านไปช้ามากเวลาในแต่ละช่วงนั้นมันมีระยะที่เท่ากันอยู่เสมอ ไม่มีช้าหรือเร็ว มันเป็นไปตามปกติวิสัยที่เราสมมุติขึ้นมา แต่ที่ทำให้รู้สึกว่าช้าหรือเร็วนั้น มันขึ้นอยู่ที่ใจของเรา…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สีจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๔…