ปรารภธรรมในยามเย็นหลังเสร็จกิจ

…ปรารภธรรมในยามเย็นหลังเสร็จกิจ…

…อย่าไปหวั่นไหวกับกระแสโลกจนเกินไปคืออย่าไปยินดี ยินร้ายกับคำสรรเสริญและคำนินทา ความสุขหรือความทุกข์ และลาภยศทั้งหลายอย่าไปหวั่นไหวกับมัน เพราะว่าความหวั่นไหวนั้น มันจะทำให้เราขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง เรียกว่าเป็นคนไม่แน่นอน ทำอะไรไม่แน่นอน จิตนั้นย่อมทุรนทุรายหวั่นไหวไปกับโลกธรรม นำมาซึ่งความทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเราวางใจให้อยู่เหนือโลกธรรมได้เมื่อไร ใจของเรานั้นก็จะเป็นสุข…

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมในยามเย็นหลังเสร็จกิจ”

ปรารภธรรมและคำกวีเกี่ยวกับการทำงาน

…ปรารภธรรมและคำกวีเกี่ยวกับการทำงาน…

…บอกกล่าวกับทีมงานอยู่เสมอว่า
“คิดจะทำงานใหญ่ ใจต้องกว้าง” เพราะว่างานทุกอย่างจะสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วน ความมีน้ำใจต่อหมู่คณะจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต้องช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์จึงจะยืนยาวงานเขางานเรา ไปมาหาสู่ช่วยเหลือกันคิดจะเอาจะได้แต่ฝ่ายเดียวนั้น ทำงานใหญ่ไม่ได้…

๐ ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ
เพื่อให้ สมัคร สมาน
ร่วมแรง ร่วมใจ ทำงาน
ประสาน แรงกาย แรงใจ

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมและคำกวีเกี่ยวกับการทำงาน”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗…

…ในการทำงานนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสติสัมปชัญญะและมีสมาธิในการทำงาน เพราะในการทำงานแต่ละอย่างนั้น ย่อมมีอุปสรรคและปัญหาอยู่ตลอดเวลา การที่เรามีสตินั้นจะช่วยให้เราเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ ทำให้สามารถที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้เสมอเพราะว่าเรามีสมาธิในการทำงานจึงสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ ไม่ตื่นตกใจหรืออารมณ์เสียเมื่อเจอปัญหา ทำให้สามารถที่จะแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๖

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๖…

…ในส่วนลึกใต้จิตสำนึกของทุกคนนั้นย่อมจะมีจิตสำนึกแห่งความใฝ่ดีซ่อนอยู่เสมอ เพียงแต่บางครั้งยังไม่ได้แสดงออกมา เพราะเงื่อนไขของเรื่องจังหวะ เวลา โอกาส สถานที่และตัวบุคคลนั้นยังไม่เอื้ออำนวย จึงไม่เปิดโอกาสให้แสดงออกมาได้ ในสิ่งนั้นทุกคนต่างมีเหตุปัจจัยและพื้นฐานความคิดที่แตกต่างกัน ทำให้ความคิดเห็นของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๖”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๖

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๖…

…“ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็น แล้วจึงปล่อย”

เป็นวิธีที่ใช้ในการสอนลูกศิษย์เสมอซึ่งกระทำโดยตลอด ไม่ว่าจะรุ่นไหนเน้นย้ำเรื่องการมีสติในการทำงานรู้จักคิด พิจารณา มองดูเนื้อของงานรู้จักวางแผน ประมาณการล่วงหน้ามองหาปัญหา ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้หาวิธีการป้องกันและแก้ไขในปัญหาสรุปผลทุกครั้งเมื่องานนั้นเสร็จสิ้นเพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป

…ซึ่งบางครั้งอาจจะมองว่าเข้มงวดมากไปใช้วาจา อารมณ์มากเกินไปสักนิดเพราะว่าเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกให้เกิดความจดจำและการฝังใจจำ

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๖”

วัฏฏะสงสาร การเวียนว่ายในวังวน

….วัฏฏะสงสาร การเวียนว่ายในวังวน….

๐ ทุกชีวิต ในโลกนี้ ที่ได้เห็น
มันก็เป็น เช่นนั้น กันทุกหน
ล้วนเกิดแก่ เจ็บตาย ในวังวน
หนี้ไม่พ้น ล้วนพบ ประสพกัน

๐ อนิจจา ชีวิต คิดว่าเที่ยง
จิตลำเอียง เพราะใจ นั้นใฝ่หา
ประกอบด้วย กิเลส และอัตตา
จึงนำพา ชีวิต ให้ผิดทาง

๐ เพราะไปหลง ยึดติด ในโลกธรรม
จึงก่อกรรม ทำเวร ไม่เว้นว่าง
อยากจะมี อยากจะได้ ในทุกทาง
จึงออกห่าง ทางธรรม กรรมของคน

๐ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
หมุนสลับ กันไป ทุกแห่งหน
เพราะว่ายัง เวียนว่าย ในวังวน
ยังไม่พ้น จากวัฏฏะ สังขารา

๐ เก่าดับไป สิ่งใหม่ ก็แทนที่
เป็นอย่างนี้ มานาน กันหนักหนา
เพราะโลกนี้ ล้วนแล้ว แต่มายา
จึงเวียนว่าย กันมา ไม่หมดกรรม

๐ เมื่อมีเกิด ก็ย่อม จะมีดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป ให้น่าขำ
เพราะกิเลส ตัณหา ชักพานำ
ก่อเกิดกรรม เวียนว่าย ในสายธาร

๐ คือสายธาร ของมนุษย์ ไม่หลุดพ้น
จึงเวียนวน เกิดดับ กับสังขาร
ไม่สิ้นสุด เวียนว่าย มายาวนาน
คือสังสาร วัฏฏะ ที่หมุนวน

๐ แต่แนวทาง พุทธะ นั้นละได้
โดยฝึกใจ ให้ชอบ ประกอบผล
ละกิเลส ตัณหา และตัวตน
ก็หลุดพ้น จากกรรม ที่ทำมา

๐ ไม่ต้องกลับ มาเกิด ประเสริฐสุด
ก็เพราะหลุด จากกิเลส และตัณหา
เพราะเห็นทุกข์ เห็นภัย ในมายา
ละอัตตา ละมานะ ละตัวตน

๐ ไม่ก่อกรรม ทำบาป ที่หยาบช้า
ปรารถนา อยู่กับ บุญกุศล
เพิ่มกำลัง บารมี ให้แก่ตน
และฝึกฝน เจริญจิต ภาวนา

๐ มีสติ อยู่กับตัว รู้ทั่วพร้อม
แล้วก็น้อม ตั้งจิต ปรารถนา
ดูความคิด ดูกาย ที่เป็นมา
เกิดปัญญา เห็นทุกข์ และเข้าใจ

๐ เมื่อเห็นทุกข์ เห็นธรรม เพราะทำจิต
เปลี่ยนความคิด ตั้งจิต กับสิ่งใหม่
อยู่กับธรรม มีธรรม ประจำใจ
ก้าวเดินไป ตามทางธรรม พระสัมมา

๐ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท
เอาเป็นเหตุ ฝึกฝน และค้นหา
เพื่อให้เกิด สมาธิ และปัญญา
จะนำพา ชีวิต ไม่ผิดทาง

๐ บุญกุศล เร่งทำ ในวันนี้
ตอนที่มี ชีวิต ควรคิดสร้าง
จงรู้จัก การปล่อยปละ และละวาง
ตามแนวทาง แห่งพุทธะ จะได้ดี

๐ มีความสุข ความเจริญ ในชีวิต
ก็เพราะจิต ของเรา เพียงเท่านี้
เมื่อรู้พอ ความดิ้นรน ก็ไม่มี
เพียงเท่านี้ ใจก็สุข ทุกข์ไม่มี…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕…

รำพึงธรรมคำกวีหลังทำวัตรเย็น

…รำพึงธรรมคำกวีหลังทำวัตรเย็น…

…ช่วงนี้เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว จึงต้องรีบเคลียร์งานก่อสร้างกลางแจ้งให้เสร็จก่อนจะเข้าพรรษา เพราะตั้งใจไว้ว่าในช่วงเข้าพรรษาจะหยุดงานก่อสร้างเข้ากัมมัฏฐานสัก ๓ เดือน จึงต้องเร่งเคลียร์งานก่อสร้างทั้งหมดให้จบเพื่อจะได้ไม่เป็นปลิโพธเมื่อเข้าสู่การเข้ากัมมัฏฐาน…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมคำกวีหลังทำวัตรเย็น”

ใคร่ครวญธรรมก่อนทำวัตรเช้า

…ใคร่ครวญธรรมก่อนทำวัตรเช้า…

…การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหวังซึ่งบุญกุศล เพื่อความเป็นมงคลของชีวิต ซึ่งต้องดูที่ดำริ เจตนาในการปฏิบัติว่าผู้ปฏิบัตินั้นปรารถนาอะไรจากการปฏิบัติธรรมนั้น และสิ่งที่ตั้งใจปรารถนานั้นเป็นไปโดยชอบประกอบด้วยกุศลหรือไม่ หรือเป็นไปเพื่ออกุศล คือความอยากดี อยากเด่นอยากดัง มุ่งหวังคำสรรเสริญ ลาภยศสักการะ เพื่อประโยชน์ส่วนตน

…ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำความรู้ความเข้าใจในเจตนาของตนเองเสียก่อน เพื่อให้ไม่หลงทาง เพราะว่าถ้าผิดแต่เริ่มต้น ผลต่อไปมันก็จะออกมาผิด ไปผิดทางออกห่างจากกุศลกรรมทั้งหลาย…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๙ เมษายน ๒๕๖๔…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖…

“ภิกษุทั้งหลาย! เราประพฤติพรหมจรรย์นี้ มิใช่เพื่อหลอกลวงคน เพื่อให้คนบ่นถึงเพื่อผลคือลาภสักการะและชื่อเสียงเพื่อเป็นเจ้าลัทธิ เพื่อให้คนทั้งหลายรู้จักเราก็หามิได้ แต่ที่จริงแล้วเพื่อความสังวรระวัง เพื่อละกิเลสเพื่อคลายกิเลส และเพื่อดับกิเลสเท่านั้น”

“นยิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
ชนกุหนตฺถํ น ชนลปนตฺถํ
น ลาภสกฺการสิโลกานิสํสตฺถํ
น อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสตฺถํ
น อิติ มํ ชโน ชานาตูติ
อถโข อิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ
สํวรตฺถํ ปหานตฺถํ วิราคตฺถํ นิโรธตฺถนุติ“”
…พุทธสุภาษิต พรหมจริยสูตร ๒๑/๒๙…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
… ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔…

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๕

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๕…

…ตั้งแต่ออกพรรษาผ่านมาหกเดือนกว่ามีภารกิจมากมายต้องเดินทางไปทำหน้าที่ตามที่เขาได้นิมนต์เอาไว้ตลอดเพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาเหมือนดั่งคำที่เคยกล่าวไว้ว่า “ยามอยู่ให้เขาสบายใจยามจากไปให้เขาคิดถึง” ซึ่งสิ่งที่จะทำอย่างนั้นได้ก็ต้องอาศัยการประพฤติปฏิบัติตัวของเราให้มีคุณค่าต่อสังคมไม่ว่าจะไปอยู่ ณ ที่ใด จงเป็นผู้ให้อย่าไปเป็นผู้ร้องขอ และจงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานที่และบุคคลจงยอมสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อบุคคลรอบข้าง แล้วทุกอย่างจะกลับคืนมาหาตัวเราในภายหลัง…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๕”