บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔…

…“อันว่าไม้จันทน์นั้น แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น หัสดินก้าวลงสู่สงครามแล้วไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วย่อมไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้จะประสพกับปัญหาของชีวิตหรือได้รับความทุกข์ยากลำบากสักปานใดก็ไม่ทิ้งธรรม”…

…ชีวิตกับวันเวลาฉันถามตัวเองเสมอว่า วันเวลาที่ผ่านไปนั้นเราได้อะไรจากวันเวลาและคุ้มค่ากับวันเวลาที่ผ่านล่วงเลยไปหรือไม่เพื่อไม่ให้เราหลงกับวัยและเวลาชีวิตที่เหลืออยู่จะได้เร่งสร้างคุณค่าให้กับชีวิต แม้นเพียงสักน้อยนิดก็ยังดีกว่าที่จะไม่ได้ทำอะไรไม่ได้หวังว่าจะต้องได้ในชาตินี้หรือชาติหน้า เพียงแต่ตั้งใจว่าจะทำเรื่อย ๆ ไป ถึงเมื่อไหร่ไปเมื่อนั้นจะไม่สร้างความกดดันให้กับตัวเองเหมือนที่เคยผ่านมา เพราะว่าจะทำให้เกิดอาการเกร็ง เพราะไปเคร่งเกินไปแล้วมันจะทำให้เครียด…

…สารพัด ความคิด จิตมนุษย์
ไม่สิ้นสุด มากมาย หลายเหตุผล
แสวงหา ประโยชน์ ซึ่งส่วนตน
ต่างดิ้นรน ไขว่คว้า มาครอบครอง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔”

ระลึกทบทวนธรรมในยามเช้า

…ระลึกทบทวนธรรมในยามเช้า…

…เปิดอ่านคติธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ได้บันทึกไว้มีใจความว่า…

…ผู้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม คือผู้สนใจหาความรู้ความฉลาดเพื่อคุณงามความดีทั้งหลาย ที่โลกเขาปรารถนากันเพราะคนเราจะอยู่และไปโดยไม่มีเครื่องป้องกันตัวย่อมไม่ปลอดภัยต่ออันตรายทั้งภายนอกภายในเครื่องป้องกันตัวคือหลักธรรมมีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ จะเป็นเครื่องมั่นคงไม่สะทกสะท้าน มีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอิริยาบถ…

อ่านเพิ่มเติม “ระลึกทบทวนธรรมในยามเช้า”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๓

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๓…

…มีกิจกรรมให้ทำอยู่ไม่ขาด ทั้งที่เป็นเรื่องงานทางพระพุทธศาสนาและงานจิตอาสาเพื่อสังคม ทุกอย่างที่ได้กระทำไปนั้น การเป็นฝึกฝนคนรุ่นใหม่ เป็นการสร้างพื้นฐานด้านความคิด เป็นการสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวม รู้จักการเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อคนอื่น รู้จักการใช้ชีวิตและการทำงานรวมหมู่กับคนหมู่มาก

…มันคือการสอนธรรมแด่ผู้ร่วมกิจกรรมสอนประสบการณ์ชีวิต คือการเปิดซึ่งโลกทัศน์และชีวทัศน์ เป็นการสั่งสมซึ่งประสบการณ์ชีวิต ซึ่งต้องก้าวเดินไปพร้อมกัน ทั้งโลกและธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๓”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๓

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๓…

…บอกกล่าวแก่พระที่อยู่ร่วมด้วยเสมอว่า เสน่ห์ของวัดป่านั้นคือ ความสะอาดและความมีระเบียบวินัย ไม่ใช่อยู่ที่สิ่งก่อสร้างที่วิจิตรอลังการ ยามเช้ากวาดลานธรรมให้แก่คน ยามเย็นกวาดสถานที่ให้เทวดาและเป็นการบริหารร่างกายไปในตัว…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๓”

พิจารณาโดยโยนิโสมนสิการ

…พิจารณาโดยโยนิโสมนสิการ…

…อย่าได้ปฏิเสธในศาสตร์และวิชาต่าง ๆ ที่มีในโลกนี้ ศึกษาค้นคว้าให้เข้าใจถึงที่มาและที่ไปในทุก ๆ ศาสตร์ ให้รู้ว่าทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมจึงสอนกันอย่างนี้ ทำไมเขาจึงเข้าใจมันอย่างนี้ มีเจตนาเป็นอย่างไรอะไรเป็นกุศโลบายในศาสตร์นั้น ๆ โดยการทดลองประปฏิบัติตามในหลักของศาสตร์นั้น ๆ แล้วใช้สติพิจารณาใคร่ครวญโดยจิตที่ละเอียดรอบคอบและแยบคาย

อ่านเพิ่มเติม “พิจารณาโดยโยนิโสมนสิการ”

เจริญธรรมคำกวี ๔ บท

…เจริญธรรมคำกวี ๔ บท…

๐ มีสติ เตือนตน จึงพ้นผิด
กุศลจิต ชี้นำ ตามวิถี
กุศลกรรม นำสร้าง สู่ทางดี
ก่อเกิดมี คุณธรรม ประจำใจ

๐ เพียรเจริญ สติ ระลึกรู้
วางจิตอยู่ กับกาย ไม่ไปไหน
ระลึกรู้ ให้เห็น ทั้งนอกใน
ระลึกไป ให้รู้ทั่ว ทั้งตัวตน

๐ กำหนดรู้ รูปนาม ตามแบบอย่าง
ทุกก้าวย่าง กำหนดรู้ อยู่ทุกหน
มีสติ ระลึกรู้ อยู่กับตน
หมั่นฝึกฝน เจริญจิต ภาวนา

๐ หมั่นทบทวน ใคร่ครวญ เพ่งพิเคราะห์
ให้พอเหมาะ เหตุปัจจัย ในเนื้อหา
รู้ที่ไป เห็นที่ดับ รู้ที่มา
เกิดปัญญา เห็นธรรม ความเป็นจริง…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม…
…๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕…

ปรารภธรรมในยามเย็น

…ปรารภธรรมในยามเย็น…

…“ยสฺสกสฺสจิ กายคตาสติ อภาวิตา
อพหุลีกตา ลภติ ตสฺส มาโร โอตารํ
ลภติ ตสฺส มาโร อารมฺมณํ”…

…ภิกษุไม่เจริญกายคตาสติ
อยู่ประจำแล้ว ย่อมตกเป็นทาส
ของมาร มารอยู่เหนืออารมณ์…
…กายคตาสติสูตร ๑๕/๑๘๖…

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมในยามเย็น”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓…

…“กาลามสูตร” อันเป็นหลักแห่งความเชื่อที่สอนไม่ให้เชื่ออย่างงมงาย โดยไม่ใช้ปัญญา พิจารณาให้เห็นจริง ถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ ซึ่งมีหลักอยู่ ๑๐ ประการคือ…

๑. อย่าเชื่อตามที่ฟัง ๆ กันมา
๒. อย่าเชื่อตามที่ทำต่อ ๆ กันมา
๓. อย่าเชื่อตามคำเล่าลือ
๔. อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา
๕. อย่าเชื่อโดยนึกเอา
๖. อย่าเชื่อโดยคาดคะเนเอา
๗. อย่าเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
๘. อย่าเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
๙. อย่าเชื่อเพราะรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
๑๐. อย่าเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูอาจารย์ของตน

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓”

ณ จุดหนึ่งของการเดินทาง

…ณ จุดหนึ่งของการเดินทาง…

…รอนแรม มาแสน ยาวไกล
ผ่านไป บนโลก วุ่นวาย
พบเห็น เรื่องราว มากมาย
หลากหลาย ชีวิต ผู้คน

…มากมาย หลายหลาก ความคิด
ดวงจิต ที่ยัง สับสน
มากใน อัตตา ของตน
เหตุผล ของความ วุ่นวาย

…หยุดพัก จากการ แรมรอน
พักผ่อน เพื่อให้ ผ่อนคลาย
ทบทวน ถึงจุด มุ่งหมาย
สุดท้าย แล้วได้ อะไร

…กลับมา ค้นหา ตัวตน
ฝึกฝน เพื่อเริ่ม ต้นใหม่
หลังจาก รอนแรม ยาวไกล
ดูใจ ดูจิต ของตน

…ความเสื่อม เกิดขึ้น ในโลก
ทุกข์โศก มีทุก แห่งหน
ความเสื่อม เกิดใน ใจคน
ตัวตน ก็คือ อัตตา

…พักกาย พักใจ พักจิต
พินิจ เพ่งเพียร ค้นหา
คงถึง ซึ่งกาล เวลา
กลับมา สู่เส้น ทางธรรม

…ปลีกตัว ออกจาก สังคม
ปลักตม ของความ ตกต่ำ
โดยเอา พระธรรม ชี้นำ
สร้างกรรม กุศล ผลดี…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม…
…๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕…

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๒

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๒…

…กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘…

…รณรงค์ให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง…

…ยกธรรมกล่าวอ้าง ให้เป็นแบบอย่าง
อักษรวิธี กาพย์กลอนโคลงฉันท์
สิ่งนั้นควรมี เพราะเป็นของดี มาแต่โบราณ

…การใช้ภาษา สืบทอดกันมา ครูบาอาจารย์
เขียนให้ถูกต้อง สอดคล้องกับงาน เพื่อจะสืบสาน
ภาษาของไทย

…อย่าได้มักง่าย เพราะว่าความหมาย
มันจะเปลี่ยนไป คิดก่อนจะเขียน
จงเพียรแก้ไข ภาษาที่ใช้ ตามหลักตำรา

…คำพูดคำเขียน จงเพียรใส่ใจ
ไว้เสริมปัญญา ภาษาวิบัติ อย่าหัดมาใช้
ไม่ใช่ของไทย มันไม่งดงาม

…เตือนจิตเตือนใจ รักษากันไว้ อย่าได้มองข้าม
ภาษาของชาติ ประกาศชื่อนาม อย่าให้เขาหยาม
ภาษาของเรา

…ภาษาที่ใช้ คือภาษาไทย อย่าอายใครเขา
สดสวยงดงาม ติดตามตัวเรา อย่าให้ใครเขา
ติฉินนินทา…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕…