ทบทวนใคร่ครวญธรรมในยามเช้า

…ทบทวนใคร่ครวญธรรมในยามเช้า…

…เมื่อเข้าใจและยอมรับในเรื่องของกรรมและวิบากกรรม ความทุกข์ทางกายและทางใจนั้นก็เบาบางลงเพราะว่ารู้ถึงเหตุและปัจจัยที่ทำให้เป็นไป จิตนั้นจึงไม่เข้าไปยึดถือไม่คร่ำครวญโหยไห้ ไม่ตีโพยตีพายวุ่นวายน้อยใจในสิ่งที่เป็นไปของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ยอมรับในวิบากกรรมที่กำลังเป็นไปนั้นและทำหน้าที่ของเราต่อไป ตามเหตุและปัจจัยนั้นให้สมบูรณ์ เต็มกำลังความรู้ความสามารถของเรา ผลมันจะออกมาเป็นอย่างไรนั้น มันเป็นเรื่องของวิบากกรรม เพราะว่าเรานั้นได้ทำเต็มที่แล้ว

อ่านเพิ่มเติม “ทบทวนใคร่ครวญธรรมในยามเช้า”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๕

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๕…

…พิจารณาทำความรู้ความเข้าใจในทุกสรรพสิ่ง ในความเป็นจริงของชีวิตคิดพิจารณาทุกอย่างเข้าหาหลักธรรมมองให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ประสพพบเห็นนั้น “มันเป็นเช่นนั้นเอง”

…เมื่อเข้าใจทุกอย่างก็จบ มันมีคำตอบอยู่ในตัวของตัวมันเอง ไม่ต้องไปสงสัยไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องไปค้นหา เพราะว่าตถตา มันเป็นเช่นนั้นของมันเอง

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๕”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๕

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๕…

…ในการเขียนบทกวีธรรมนั้นบางครั้งเราต้องใช้อารมณ์ศิลปินเพื่อที่จะสร้างคำหรือภาษาที่สวยงามซึ่งต้องเวลาและอารมณ์ เป็นหลักในการประพันธ์บทกวี เมื่อได้พักกายพักจิต ทำชีวิตให้สบาย ทั้งภายนอกและภายใน ใจก็พร้อมที่จะทำงาน…

…การผ่อนคลายทางจิต โดยการปลดปล่อยความรู้สึกและความคิดไปสู่ท้องฟ้า มองหมู่เมฆที่เคลื่อนไปมาตามกระแสลม มองหมู่ดาวบนฟ้าในยามราตรีร้อยเรียงเรื่องราวมาเล่าเป็นบทกวี เป็นการพักผ่อนที่มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๕”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๔

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๔…

…ไม่เคยวุ่นวายใจไปกับคำนินทา ไม่เก็บคำนินทามาคิดให้รกสมอง จิตเราก็จะสบาย คำติฉินนินทานั้นคือยาชูกำลังที่จะยับยั้งไม่ให้เราหลงระเริงหยิ่งผยองลำพองใจ คำนินทานั้นคือสิ่งกระตุ้นเตือนตัวเราได้คิดพิจารณาตัวของเราเขาติดีกว่าเขาชม ทำให้เรารู้ตัวว่าเขาคิดอย่างไรกับเรา

…ซึ่งถ้าตัวเรานั้นเป็นจริงอย่างที่เขานั้นกล่าวนินทา เราก็จะได้รู้และปรับปรุงแก้ไข แล้วเราจะไปโกรธเขาทำไม ซึ่งถ้าเราไปโกรธตอบต่อเขา ก็เท่ากับเรานั้นกำลังแพ้ภัยกิเลสในใจของเรานั้นเอง…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๔”

บนเส้นทางแห่งโลกและธรรม

…บนเส้นทางแห่งโลกและธรรม…

…เป็นไปตาม วิถี แห่งชีวิต
นั้นคือกิจ ที่ทำ ตามวิถี
ตามจังหวะ โอกาส ที่พึงมี
ทำหน้าที่ ของเรา ให้สมบูรณ์

…ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นตัวอย่าง
เป็นแนวทาง วางไว้ ไม่เสื่อมสูญ
ตามสติ กำลัง ให้เพิ่มพูน
เพื่อเกื้อกูล ธรรมวินัย ใจศรัทธา

…ทำหน้าที่ ของตน ให้ถูกต้อง
เปลี่ยนมุมมอง ความคิด จิตค้นหา
รักษาจิต รักษาใจ ใช้ปัญญา
หมั่นศึกษา ธรรมวินัย ใจใฝ่ธรรม

อ่านเพิ่มเติม “บนเส้นทางแห่งโลกและธรรม”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๔

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๔…

…สรรพสิ่งย่อมแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา มีความเสื่อมสลายไปตามอายุของการใช้งานไม่มากก็น้อยตามเหตุและปัจจัย ซึ่งเป็นไปตามกฎของพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง การสูญเสีย การพลัดพรากย่อมเกิดขึ้นกับทุกคน ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงหนีพ้นสิ่งนี้ไปได้ เราจึงต้องฝึกทำใจเพื่อให้ยอมรับกับการสูญเสียการพลัดพรากที่จะเกิดขึ้นนั้นให้ได้เพื่อที่จะลดความทุกข์ใจ เมื่อสิ่งนั้นมันมาถึง ซึ่งถ้าใจของเรานั้นยอมรับซึ่งความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วการสูญเสียหรือการพลัดพรากนั้นก็จะมีผลกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกนึกคิดและจิตใจของเราน้อยมากเพราะการที่เรานั้นเข้าไปยึดติดและยึดถือในสิ่งทั้งหลาย ว่าเป็นของส่วนหนึ่งของเรานั้น ไม่อยากให้มันแปรผันหรือเปลี่ยนแปลงไปอยากจะให้มันคงอยู่ในสภาพเดิมนั้นมันจึงทำให้ใจของเรานั้นเป็นทุกข์เพราะความเป็นตัวกูและของกู

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๔”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๓

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๓…

…ปณิธานในการเป็นสมณะ…

…ใช่หวัง จะดังเด่น
จึงมาเป็น สมณะ
เพียงหวัง จะลดละ
ซึ่งมานะ และอัตตา

…เร่ร่อน และรอนแรม
ไปแต่งแต้ม แสวงหา
สัญจร ร่อนเร่มา
ผ่านร้อยป่า และภูดอย

…ลาภยศ และสรรเสริญ
ถ้าหลงเพลิน จิตเสื่อมถอย
พาใจให้ เลื่อนลอย
จิตเสื่อมถอย คุณธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๓”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๓

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๓…

…ระลึกถึงหัวข้อธรรม เตือนตนอยู่เสมอมาในความเป็นสมณะ ธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสสอนว่าเป็นเครื่องกระทำให้เป็นสมณะอันได้แก่…

๑. พึงศึกษาว่า เราทั้งหลายจักประกอบด้วย หิริ ความละลายต่อความชั่ว โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว

๒. พึงศึกษาว่า เราจักมีกายสมาจาร คือความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ที่ตื้น ที่เปิดเผย ไม่เป็นช่อง ประกอบด้วยความสำรวม ทั้งจะไม่ยกตนข่มท่าน ด้วยข้อนั้น

๓. พึงศึกษาว่า เราจักมี วจีสมาจาร คือประพฤติทางวาจา ได้แก่คำพูดที่บริสุทธิ์

๔. พึงศึกษาว่า เราจักมี มโนสมาจาร คือความประพฤติทางใจ คือความคิดอันบริสุทธิ์

๕. พึงศึกษาว่า เราจักมี อาชีวะ คือความเลี้ยงชีพบริสุทธิ์

๖. พึงศึกษาว่า เราจักมีอินทรีย์สังวร ความสำรวมอินทรีย์ คือสำรวม ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๗๓”

สรรพสิ่งมันเป็นเช่นนั้นเอง

…สรรพสิ่งมันเป็นเช่นนั้นเอง…

๐ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
หมุนสลับ กันไป ทุกแห่งหน
เพราะว่ายัง เวียนว่าย ในวังวน
ยังไม่พ้น จากวัฏฏะ สังขารา

๐ เก่าดับไป สิ่งใหม่ ก็แทนที่
เป็นอย่างนี้ มานาน กันหนักหนา
เพราะโลกนี้ ล้วนแล้ว แต่มายา
จึงเวียนว่าย กันมา ไม่หมดกรรม

๐ เมื่อมีเกิด ก็ย่อม จะมีดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป ทุกเช้าค่ำ
เพราะกิเลส ตัณหา ชักพานำ
ก่อเกิดกรรม เวียนว่าย ในสายธาร

อ่านเพิ่มเติม “สรรพสิ่งมันเป็นเช่นนั้นเอง”

บทเพลงแห่งพงไพร

…บทเพลงแห่งพงไพร…

๐ โบยบินสู่โลกกว้าง
บนเส้นทางแสวงหา
เพียงเพื่อให้ได้มา
ประทังชีพสืบเผ่าพันธุ์

๐ รวงรังที่ตั้งอยู่
ยังมีผู้เฝ้ารอฝัน
อาหารมาแบ่งปัน
ผู้อยู่หลังตั้งตารอ

๐ แม่นกและพ่อนก
ต่างป้องปกไม่ย่อท้อ
ความฝันวันที่รอ
ชีวิตน้อยเจริญวัย

อ่านเพิ่มเติม “บทเพลงแห่งพงไพร”