คิดไป เขียนไป บทที่ ๔

…คิดไป เขียนไป บทที่ ๔…

…ในอ้อมกอดของขุนเขา
ใต้ร่มเงาของมวลพฤกษา
บนจุดหนึ่งของกาลเวลา
จงมีสติเตือนตนเสมอว่า
มีความปรารถนาซึ่งสิ่งใด
ทบทวนสิ่งที่ได้ผ่านมาใหม่
ว่าสิ่งที่ตั้งความหวังไว้ในใจ
สิ่งนั้นก้าวไกลถึงไหนแล้ว

…ทุกชีวิตย่อมมีจุดหมาย
อย่าปล่อยให้ผ่านไปโดยไร้ค่า
อย่าปล่อยวันเวลาให้สูญเปล่า
ชีวิตเรานั้นควรจะมีเป้าหมาย
ฝันนั้นอาจจะตั้งไว้ไม่ไกล
แต่เรานั้นต้องเดินไปให้ถึง
ทำซึ่งความฝันนั้นให้เป็นจริง
ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินจะกระทำ

…หนทางสู่ความสำเร็จนั้น
อาจจะยังอยู่อีกยาวไกล
แต่จงอย่าได้หวั่นไหวท้อใจ
ขอเรามีความตั้งใจที่มั่นคง
เดินในเส้นทางที่ตรงสู่ความฝัน
ระยะทางสู่ความสำเร็จนั้น
มันย่อมสั้นลงมาทุกขณะ
อย่าไปสนใจในระยะของเส้นทาง

…ทุกอย่างย่อมจะมีความสำเร็จได้ ถ้าหากเรานั้นมีความตั้งใจและพยายามเดินตามความฝันของเรานั้นต่อไปไม่ท้อถอยหรือหวั่นไหวกับอุปสรรคปัญหามีความศรัทธาและเชื่อมั่นในความดีที่กระทำสิ่งนั้นย่อมจะนำไปสู่ความสำเร็จของชีวิตในสิ่งที่ตนคิดและกิจที่ตนนั้นปรารถนาเพราะว่าความสำเร็จของชีวิต…อยู่ที่จิตคิดว่าพอ…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๕…

คิดไป เขียนไป บทที่ ๓

…คิดไป เขียนไป บทที่ ๓…

…วันเวลาแห่งชีวิตลิขิตไปตามกฎแห่งกรรมสิ่งที่เราเคยได้กระทำมาในอดีตและปัจจุบันส่งผลมาสู่วันนี้ทั้งกรรมดีที่เป็นกุศลส่งผลให้พบสิ่งดีและกรรมที่เป็นอกุศลที่ส่งผลมาเป็นอุปสรรคปัญหา สิ่งที่ผ่านมานั้น แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว เพราะมันเป็นอดีต จงยืดอกยิ้มสู้ยอมรับในกฎแห่งกรรมที่ทำมา…

อ่านเพิ่มเติม “คิดไป เขียนไป บทที่ ๓”

คิดไป เขียนไป บทที่ ๒

…คิดไป เขียนไป บทที่ ๒…

…”ความเบื่อกับอยากเป็นของคู่กัน”เมื่อความอยากเกิดขึ้นจิตก็ดิ้นรนขวนขวายหาเหตุและปัจจัยมาสนองตอบความอยากถ้าสนองตอบตัณหาความอยากได้ จิตก็ยินดีถ้าไม่ได้ตามที่ปรารถนา จิตมันก็เกิดปฏิฆะและเมื่อเสพในความอยากจนเต็มที่แล้ว จิตมันก็จะเบื่อในอารมณ์นั้น ความอยากในสิ่งอื่นก็เข้ามาแทนที่ เป็นเช่นนี้เรื่อยมาคือ “อยากๆเบื่อๆแล้วก็เบื่อๆอยาก ๆ” ตามกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของอารมณ์

อ่านเพิ่มเติม “คิดไป เขียนไป บทที่ ๒”

คิดไป เขียนไป ปฐมบท

…คิดไป เขียนไป ปฐมบท…

…ปรับโลกเข้าหาธรรม เลือกเฟ้นธรรมที่เหมาะสมกับโลก นำมาใช้กับสิ่งที่กำลังคิดและกิจที่กำลังทำ ประยุกต์ใช้ให้เข้ากันกับปัจจุบันธรรมเพื่อความเจริญก้าวหน้าทั้งในทางโลกและทางธรรมแก่ตนเองและคนรอบกาย สิ่งที่คิดมันจึงไม่ใช่ความวุ่นวายฟุ้งซ่าน แต่เป็นการฝึกจิตให้รู้จักการระลึกนึกคิด รู้จักการพิจารณาเข้าหาเหตุและผล บนพื้นฐานของความเป็นจริง จากสิ่งที่กำลังเป็นอยู่รอบกายทั้งหลาย ที่กำลังดำเนินไป วิเคราะห์ไปยังสิ่งที่ยังไม่มาถึง และสรุปถึงสิ่งที่ได้ผ่านพ้นมาโดยใช้สติและปัญญาที่มีธรรมนั้นมานำความคิด เป็นการฝึกจิตให้อยู่กับปัจจุบันธรรม

อ่านเพิ่มเติม “คิดไป เขียนไป ปฐมบท”