บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๐

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๐…

…“นิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว” วิธีการอย่างนี้ ต้องใช้ให้เหมาะสมกับจังหวะ เวลาโอกาส สถานที่และตัวบุคคล มันจึงจะได้ผลทุกอย่างต้องมีการวิเคราะห์และพิจารณาว่าควรจะทำอย่างไร ซึ่งเราต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและแก้ไข ให้เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่เสมอ

… “สัพเพ ธัมมา อนัตตา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งที่เป็นสังขารและมิใช่สังขาร ทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเราว่าตัวว่าตนของเรา”…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๐”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๙

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๙…

…ถามตัวเองอยู่เสมอว่า วันเวลาที่ผ่านไปนั้น เราได้อะไรจากวันเวลาและคุ้มค่ากับวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่เพื่อไม่ให้เราหลงกับวัยและเวลาชีวิตที่เหลืออยู่จะได้เร่งสร้างคุณค่าให้กับชีวิต แม้นเพียงสักน้อยนิดก็ยังดีกว่าที่เรานั้นจะไม่ได้ทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ไม่ได้หวังว่าจะต้องได้ในชาตินี้หรือชาติหน้าเพียงแต่ตั้งใจว่าจะทำไปเรื่อย ๆ ถึงเมื่อไหร่ไปเมื่อนั้น จะไม่สร้างความกดดันให้กับตัวเองเหมือนที่เคยผ่านมา เพราะว่าจะทำให้เกิดอาการเกร็ง เพราะไปเคร่งแล้วมันจะเครียด เป็นการเบียดเบียนตนเองความเจริญในธรรมทั้งหลายก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะว่าความกังวลกดดันมาขวางกั้นความเจริญในธรรมทั้งหลายมิให้เกิดขึ้น…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๙”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๘

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๘…

…ฤดูกาลแห่งพรรษาผ่านล่วงเลยไปเกินครึ่งพรรษา รู้สึกธรรมดากับวันเวลาที่ผ่านไปเพราะว่าใจเรานั้นไม่ได้มีความกังวล ไม่เหมือนสมัยเมื่อแรกบวชนั้น เรายังทำใจไม่ได้ไม่เข้าใจธรรม ไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ พอถึงฤดูเข้าพรรษาใจเรามันเร้าร้อน มีความกังวลกับวันเวลาที่ผ่านไปในแต่ละวันนั่งนับวัน นับคืน ดูปฏิทิน อยากจะให้วันเวลานั้นผ่านไปให้ถึงวันออกพรรษาเร็ว ๆ เพื่อจะได้เดินทางท่องเทียวเปลี่ยนสถานที่ ไปแสวงหาครูบาอาจารย์ตามที่ต่าง ๆ …

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๘”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๗

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๗…

…สติและสัมปชัญญะ การระลึกรู้และความรู้ตัวทั่วพร้อมที่น้อมเข้าหาธรรม จะนำมาซึ่งความสุขและความสงบ เป็นสิ่งที่เรารับรู้ได้ด้วยจิต มันเป็นความรู้สึกที่รู้ได้เฉพาะตนสิ่งนั้นคือความเป็น “ปัตจัตตัง”

…เมื่อเรานั้นได้ย้อนมาพิจารณากายจิตของเราเราย่อมได้รู้ถึงสภาวะที่เป็นอยู่ของกายจิตเราสุขหรือทุกข์ สับสนวุ่นวายหรือสงบ สิ่งเหล่านั้นไม่มีใครจะมารู้ดีกว่าตัวของเราเอง ดั่งที่ครูบาอาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า “ไม่มีใครรู้ซึ้งเท่าหนึ่งจิต”หากเราให้เวลาแก่ชีวิต หันมาพิจารณาดูกายดูจิตตัวของเราเอง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๗”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๖

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๖…

…มีบางครั้งที่รู้สึกท้อแท้และเบื่อหน่ายต่อสังคม แต่เมื่อสติระลึกได้ ก็ปรับความรู้สึกได้ ละวางซึ่งอารมณ์นั้น เป็นธรรมดาของชีวิตและความคิดที่เกิดขึ้น เพราะมันมีเหตุและปัจจัย “ธรรมารมณ์สิ่งที่มากระทบจิต” ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดจิตไปเสพรับรู้ซึ่งอารมณ์นั้นและปรุงแต่งมันให้มีกำลังเพิ่มขึ้น ถ้าไม่รู้จักควบคุมใจหมั่นดูจิตของตน ปล่อยให้ความคิดมันปรุงแต่งไป ใจนั้นก็จะเป็นทุกข์เพราะเข้าไปยึดถือ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๖”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๕

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๕…

…เหมือนดั่งโบราณที่ท่านว่า “สิบปากว่า ไม่เท่าหนึ่งตาเห็นสิบตาเห็น ไม่เท่าหนึ่งมือคลำสิบมือคลำ ไม่เท่ากับทำเอง”

…การเรียนรู้และการเข้าใจในตำรานั้นมันเป็นเพียงกระบวนการทางความคิดความจำ ไม่เข้าถึงสภาวธรรมที่แท้จริงเพราะเรายังไม่ได้ทำ สภาวธรรมนั้นเป็นของเฉพาะตนคือความเป็นปัจจัตตังสภาวธรรมทั้งหลายนั้นมีเพียงความคล้ายคลึงกัน แต่จะไม่เหมือนกันไปหมดทุกอย่าง เพราะความเป็นของเฉพาะตนนั้นเอง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๕”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๔

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๔…

…อยู่กับปัจจุบันธรรม ด้วยการเจริญสติและสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ไม่หนีปัญหาด้วยการหลบเข้าอารมณ์สมาธิใช้สติและปัญญาพิจารณาหาเหตุหาปัจจัยของอารมณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วเข้าไปดับที่เหตุ โดยการพิจารณาให้เห็นทุกข์ เห็นภัย เห็นโทษ เห็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ของอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จนเกิดความกลัวความละอายและเกรงกลัวต่ออกุศลจิตทั้งหลาย เกิดธรรมสังเวชขึ้นในจิต เพื่อให้จิตถอดถอนจากการยึดถือเพราะเกิดความเบื่อหน่ายจางคลาย เกิดการปล่อยวาง เมื่อจิตไม่เข้าไปเกี่ยวข้องยึดถือแล้วมันก็ดับเหตุไปได้ครั้งหนึ่ง ซึ่งเราจะต้องพยายามกระทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนเกิดความเคยชินความชำนาญ ในการคิดการพิจารณา รู้เท่าทันอารมณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นและดับอารมณ์เหล่านั้นให้ได้รวดเร็วขึ้น จนเป็นอุปนิสัย แล้วเราจึงจะปลอดภัยจากกระแสโลก

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๔”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๓

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๓…

…อะไร ๆ ในโลกนี้ “มันก็เป็นเช่นนั้นเอง” ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า “จิตใจคนจะเสื่อมไปจากคุณธรรมตามกาลและเวลา จนสิ้นสุดพระศาสนาเมื่อครบ ๕,๐๐๐ ปี” เพราะโลกนี้เปลี่ยนแปลงไป ตามกฎของพระไตรลักษณ์ “ขอเพียงความเสื่อมนั้นอย่าเกิดจากเราเป็นผู้กระทำก็เพียงพอแล้ว”…

“…อย่าทำดีเพียงเพื่อ…ดีกว่าคนอื่น…”

…ยกคำอุทาหรณ์
และบทกลอนมาขยาย
เพื่อให้เข้าใจง่าย
ในความหมายให้จดจำ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๓”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๒

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๒…

…บันทึกเรื่องราวความรู้สึกนึกคิดของจิตวิญาณ ผ่านกาลเวลาแห่งช่วงอารมณ์ มันคือปัจจุบันธรรมอันเป็นธรรมชาติของจิต ที่แท้จริงที่เราควรคิดพิจารณา

…“ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็นแล้วก็ปล่อย” สิ่งนี้เป็นคติธรรมที่ใช้สอนศิษย์และคนใกล้ชิดทั้งหลายเพื่อที่จะได้รู้พื้นฐานความคิดและจิตสำนึกของเขาเหล่านั้น ว่าเขามีพื้นฐานเป็นอย่างไร โดยการกระทำทางกายให้เห็น ทำให้เป็นตัวอย่างไม่ต้องกล่าวไม่ต้องสอนด้วยวาจา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๒”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๑

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๑…

…ถ้าไม่ยึดอะไรในสิ่งรู้ ก็จะอยู่อย่างสงบพบเยือกเย็น…จากหนังสือ “ฟ้าสางทางสุภาษิต ที่ข้าพเจ้าชอบ”…
…หลวงพ่อพุทธทาส โมกขพลาราม ไชยา…

…แต่ละวันที่ผ่านไปนั้น มีเรื่องราวมากมาย ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ที่ทำให้เราคิดและต้องทำ มีผัสสะสิ่งกระทบมากมาย ให้เรานั้นได้รับรู้ เราจึงควรจะจดจำเพียงสิ่งที่มีประโยชน์และเป็นสาระ ส่วนสิ่งที่เป็นขยะทางความคิดลบมันไปไม่จดจำ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๖๑”