ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๐

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๐…

… จงเป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่เลี้ยงง่ายไม่สร้างความลำบากใจ ความอึดอัดและความกดดันให้แก่บุคคลรอบข้างให้ทุกอย่างเป็นไปตามสามัญลักษณะของธรรมชาติที่มันควรจะเป็น โดยมีธรรมวินัยเป็นกฎกติกาของชีวิตและเป็นกิจที่ต้องกระทำ อย่าได้ไปตั้งกฎกติกาใหม่ขึ้นมาเพื่อสนองตอบตัณหาของตนเอง ไม่ควรตัด ไม่ควรเติมเพิ่มในสิ่งที่พระพุทธองค์นั้นทรงตรัสไว้ชอบแล้ว ตรัสไว้ดีแล้ว เพราะสิ่งที่ไปตัดออกหรือเพิ่มเข้ามาใหม่นั้นมันมาจากตัณหา ความอยากความต้องการของเราเองทั้งนั้น ที่อยากจะให้มันเป็นไปตามที่ใจของเรานั้นปรารถนาและต้องการ มันเป็นการทำเพื่อสนองตอบ ตัณหาของตัวเราเอง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙…

…การปรุงแต่งในปุญญาภิสังขาร บางครั้งก็เป็นทุกข์ได้ เพราะว่าเกินความพอดี ทำให้เกิดความฟุ้งซ่านได้ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดีและความเหมาะสม ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้เป็นทุกข์เป็นโทษได้ เพราะว่าเกินกำลัง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘…

…มีผู้สงสัยเพราะไม่เข้าใจในความหมายของคำว่า “ใบลานเปล่า” และคำว่า “น้ำที่เต็มแก้ว” ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรซึ่งทั้งสองคำนี้เป็นการอุปมาอุปมัยถึงภูมิธรรมภูมิปัญญาของผู้ศึกษาและผู้ปฏิบัติธรรมมีความหมายเนื้อหาที่แตกต่างกันโดยลักษณะ ซึ่งพอจะอธิบายขยายความได้ดังนี้…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๘”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗…

…การศึกษาธรรมและการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องมีวิจารณญาณอย่าเชื่อทันทีที่ได้ยินได้ฟังมาอย่าได้ศรัทธาเพราะยึดติดในตัวบุคคล จงเอาเหตุและผลมาเป็นที่ตั้ง แห่งการคิดและพิจารณาธรรมว่าควรจะเชื่อหรือจะปฏิเสธ ในสิ่งที่ได้อ่าน ได้ยินหรือได้ฟังมา ดั่งที่เคยกล่าวอยู่เสมอไว้ว่า “ถ้าเชื่อในทันที จะนำไปสู่ความงมงาย ถ้าปฏิเสธทันทีจะทำให้เสียโอกาสขาดประโยชน์” …

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๗”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖…

… “รู้ไปหมด แต่อดไม่ได้” นั้นเป็นเพราะความเคยชินที่สะสมมาต้องพยายามแก้ไขพฤติกรรมทางความคิดเสียใหม่ค่อยๆคิดค่อยๆทำ สั่งสมประสบการณ์ทางจิต ทางความคิด สร้างความเคยชินให้เป็นนิสัย เปิดมุมมองของจิตให้เปิดกว้างและต้องพยายามกระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นพฤติกรรมปกติของจิตในการคิดการทำและการพูด

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๖”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕…

…พุทธประสงค์ ๕ ประการ…

๑. สุตตานัง วิสุทธิยา ทำกายวาจาใจของสัตว์โลกให้บริสุทธิ์หมดจด

๒. โสกปริเทวานัง สมติกกมายะ ดับความเศร้าโศกปริเทวนาต่าง ๆ

๓. ทุกขโทมนัสสานัง อัตถังคมายะดับความทุกข์กาย ดับความทุกข์ใจ

๔ .ญายัสสะ อธิคมายะ เพื่อบรรลุมรรค

๕. นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔…

…ในการทำงานนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสติสัมปชัญญะและมีสมาธิในการทำงาน เพราะในการทำงานแต่ละอย่างนั้น ย่อมมีอุปสรรคและปัญหาอยู่ตลอดเวลา การที่เรามีสตินั้นจะช่วยให้เราเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ ทำให้สามารถที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้เสมอเพราะว่าเรามีสมาธิในการทำงานจึงสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ ไม่ตื่นตกใจหรืออารมณ์เสียเมื่อเจอปัญหา ทำให้สามารถที่จะแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓…

…เยาวชน คือฐานรองรับของมวลมนุษย์ การพัฒนาของเยาวชนนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำเพื่อที่จะชี้นำเยาวชนเหล่านั้นไปสู่ทิศทางที่ดี จึงจำเป็นต้องมีแนวทางและแบบอย่างที่ดีในการที่จะให้เยาวชนนั้นได้เรียนรู้และดูเป็นแบบอย่างซึ่งจะมีหลักในการสอนการชี้แนะหลักๆอยู่ ๗ ประการคือ

๑. สอนให้รู้จักหาแหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดี

๒. สอนให้รู้จักการใช้ชีวิตรวมหมู่และอยู่ในสังคมอย่างมีระเบียบวินัย

๓. พยายามสร้างแรงจูงใจในการใฝ่ความรู้และความคิดจิตสร้างสรรค์

๔. สร้างความเชื่อมั่นให้แก่เขาเองให้เขามุ่งมั่นพัฒนาตัวเขาเองให้เต็มศักยภาพ

๕. ปรับทัศนคติและค่านิยมของเขาให้รู้จักการใช้เหตุและผล

๖. กระตุ้นให้เขามีความกระตือรือร้นตื่นตัวทุกเวลามีความพร้อมที่จะทำงานทุกเมื่อ

๗. สอนให้เขารู้จักการแก้ปัญหาและพึ่งพาตนเองก่อนที่จะไปหวังพึ่งผู้อื่น…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒…

…มีพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐานเป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้ เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขรและสัตว์จตุบาท ทวิบาทนานาชนิดบุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบายมีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่ปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อย ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน” ….

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล ปฐมบท

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล ปฐมบท…

…การรักษาศีลนั้นคือการเจริญสติเพราะผู้ที่รักษาศีลนั้นต้องมีสติอยู่กับกายและจิต ในการที่จะคิด จะพูดและจะทำ เรียกว่าต้องสำรวมอินทรีย์อยู่ทุกขณะจิต เพื่อไม่ให้ล่วงละเมิดข้อห้ามของศีลที่รักษา ศีลจึงคือที่มาของสติพละ และสิ่งที่ ได้มาควบคู่กับสติในการรักษาศีล ก็คือองค์แห่งคุณธรรม หิริและโอตตัปปะสิ่งนั้นก็คือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เพราะการที่เราไม่กล้าที่จะล่วงละเมิดข้อห้ามของศีลนั้น เพราะเรามีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปเป็นตัวกระตุ้นเตือนเพื่อให้เกิดจิตสำนึก ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล ปฐมบท”