ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๔…

…มีสติอยู่กับกายและจิตในขณะทำงานที่ร่างกายนั้นเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาคือการเจริญสติสัมปชัญญะ ตามแนวของสติปัฏฐาน ๔ ในอิริยาบถบรรพและสัมปชัญญะบรรพ คือพิจารณาดูอิริยาบถของกายและพิจารณา รู้ตัวทั่วพร้อมในความเคลื่อนไหว ขณะที่ทำงานไปพิจารณาไปจนไม่ได้สนใจกับเวลาที่ผ่านไป พยายามทรงไว้ซึ่งอารมณ์กรรมฐานไว้ โดยการมีสติและสัมปชัญญะอยู่กับกาย เวทนา จิต ธรรมอยู่ตลอดเวลา พิจารณาในหัวข้อธรรม…

…รำพึงธรรมคำกวีในยามใกล้รุ่งอรุณ…

๐ ตะวันรอน อ่อนแสง แรงอ่อนล้า
เก็บรักษา พลังงาน เพื่อกาลใหม่
ปล่อยให้วัน เวลา เคลื่อนคลาไป
กำหนดใจ กำหนดจิต คิดถึงธรรม

๐ เกิดเบื่อหน่าย จางคลาย ในกายนี้
ล้วนสิ่งที่ ปฏิกูล ดูน่าขำ
เพราะโมหะ อวิชชา เข้าครอบงำ
จึงถลำ ยึดติด ในตัวตน

๐ ก่อกำเนิด เกิดอัตตา ตัวมานะ
ไม่ยอมละ ยอมวาง จึงสับสน
เพราะโมหะ จริต จิตมืดมน
หลงตัวตน อย่างที่เห็น และเป็นมา

๐ เมื่อยอมละ ยอมวาง จิตว่างโปร่ง
ก็เบาโล่ง สุขสบาย ไร้ปัญหา
เมื่อลดละ มานะ ตัวอัตตา
อวิชชา ก็สลาย จางคลายไป…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕…