ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๑…

” บัณฑิตควรตั้งตนไว้ในคุณธรรมก่อนแล้วจึงค่อยสอนผู้อื่นภายหลังตนจึงจะไม่มัวหมอง “

” อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต “…

…สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นไปตามกฎของพระไตรลักษณ์คือความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ไม่มีอะไรที่ที่จะหนีกฎนี้ไปได้ สิ่งที่สำคัญก็คือเราต้องทำใจรับกับสภาวะที่จะเกิดขึ้นนั้น ว่าเราจะรับได้ขนาดไหน ในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวของเราเอง

…การสูญเสียนั้น ถ้าเป็นสิ่งของวัตถุที่จับต้องได้ มันก็ไม่หนักหนาเท่าไหร่ เพราะว่าเรายังมีโอกาสที่จะหามาชดใช้ มาทดแทนได้เพราะเป็นของนอกกาย แต่สิ่งที่หามาทดแทนไม่ได้ ก็คือความรู้สึกนึกคิดที่เสียไป เสียความรู้สึกที่ดีต่อกัน สิ่งนั้นไม่อาจจะหามาทดแทนได้ เช่นความรู้สึกที่ดีที่เคยดีต่อกัน เมื่อความรู้สึกนั้นมันเปลี่ยนแปลงไป มันยากที่จะทำให้กลับมาเหมือนเดิม มันเป็นบาดแผลในจิตที่ยากเกินแก้ไขถึงจะประสานอย่างไร มันก็ยังมีรอยร้าว เหมือนสังคมไทยในปัจจุบันนี้ คือความรู้สึกที่ดี ที่เคยมีต่อกันนั้นสูญเสียไป เพราะว่าขาดซึ่งความจริงใจที่มีให้แก่กัน…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๔ กันยายน ๒๕๖๕…