จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๒

…จากการเดินทางบนสายธรรม บทที่ ๘๒…

…จิตสำนึกแห่งคุณธรรม…

…มนุษย์ทุกคนมีความคิด ถูกหรือผิดต่างรู้อยู่แก่ใจ แต่ที่ยังกระทำลงไปในสิ่งผิด เป็นเพราะขาดจิตสำนึกแห่งคุณธรรรมที่จะหักห้ามมิให้กระทำผิด

…จิตสำนึกต้องผ่านการฝึกฝน ฝึกนึก ฝึกคิด ปรับจิตให้เป็นกุศล ฝึกพูดในสิ่งที่เป็นมงคลแก่ตนและผู้อื่น ฝึกกระทำในสิ่งที่คิดและพูดที่เป็นความดี เพียรกระทำอย่างนี้อย่างสม่ำเสมอ จนเกิดเป็นความเคยชินและติดเป็นนิสัย

…จิตสำนึกแห่งคุณธรรมคือความรู้สึกละอายและเกรงกลัวต่อบาปและเมื่อเราไม่กล้าทำบาปเราจะทำความดี คนทำความดีจิตใจจะอ่อนโยนมีเมตตา รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ละความเห็นแก่ตัวลงไปได้ตามสภาวะ

…การปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ได้มาคือคุณธรรม
ภูมิธรรมและภูมิปัญญา

…เรามิได้ฉลาดขึ้น
แต่เราได้เห็นความโง่
ของตัวเองมากขึ้น
เห็นในสิ่งที่เรายังไม่รู้
และเห็นในสิ่งที่เรายังหลงติดอยู่

…เรามิได้เก่งกล้า
แต่เราได้เห็นความอ่อนแอ
และความขี้ขลาดหวาดกลัว
เราทำกล้าเพราะว่าเรากลัว
เพราะกลัวจึงกล้า…

…อย่าเชื่อทันทีมันจะทำให้งมงาย
…อย่าปฏิเสธทันทีมันจะเสียประโยชน์
…พิจารนาไตร่ตรองทดลองพิสูจน์แล้วจึงตัดสินใจ…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม…
…๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕…

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *