รำพึงธรรมในยามใกล้รุ่งอรุณ

…รำพึงธรรมในยามใกล้รุ่งอรุณ…

…รางวัลแห่งความสำเร็จของชีวิตนั้นมิได้วางไว้ที่จุดเริ่มต้น แต่อยู่ที่ปลายทาง ตราบใดที่ยังมีลมหายใจชีวิตนี้ยังไม่สิ้นหวัง ทุกสิ่งที่ผ่านมามันไม่ใช่ความล้มเหลวหรือความผิดพลาด แต่มันเป็นบทเรียนหนึ่งของชีวิตที่ต้องเรียนรู้ จงเอาอดีตที่ผ่านมานั้นมาเป็นครู สอนให้เราเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่กับปัจจุบัน…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๐

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๐…

“บัณฑิตควรตั้งตนไว้ในคุณธรรมก่อนแล้วจึงค่อยสอนผู้อื่นภายหลังตนจึงจะไม่มัวหมอง”

“อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต”

… วันเวลาแห่งชีวิตลิขิตไปตามกฎแห่งกรรมสิ่งที่เราเคยได้กระทำมาในอดีตและปัจจุบันส่งผลมาสู่วันนี้ทั้งกรรมดีที่เป็นกุศลส่งผลให้พบสิ่งดีและกรรมที่เป็นอกุศลที่ส่งผลมาเป็นอุปสรรคปัญหา สิ่งที่ผ่านมาแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วเพราะเป็นอดีต ยืดอกยิ้มสู้ยอมรับในกฎแห่งกรรมที่ทำมา…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๕๐”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๙

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๙…

…ความเป็นสมณะนั้นมีกฎเกณฑ์กติกาของความเป็นสมณะคุ้มครองอยู่โดยธรรมและวินัยไม่ผิดข้อวัตรตามพุทธบัญญัติและไม่เป็นไปให้ชาวโลกเขาติเตียนได้

…มันจึงมิใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ใจนั้นสงบท่ามกลางความวุ่นวายของสังคมที่กำลังดำเนินไป จึงต้องมีการปรับใหม่ ปรับกายปรับจิต ปรับความคิด ปรับการกระทำและเร่งความเพียร เพิ่มกำลังของสติและสัมปชัญญะให้มีกำลังมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับกับผัสสะสิ่งกระทบที่สามารถจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและโอกาส…

…วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง
สรรพสิ่ง เกิดดับ แล้วลับหาย
ผ่านเรื่องราว หลายหลาก และมากมาย
บทสุดท้าย งานเลี้ยง ย่อมเลิกรา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๙”

รำพึงธรรมและคำกวีในยามเช้า

…รำพึงธรรมและคำกวีในยามเช้า…

…สิ่งที่จะทำให้เกิดความเจริญในธรรมได้เร็วนั้น ก็คือแนวทางที่จะปฏิบัตินั้นต้องเหมาะสมกับจริตของเรา “ธรรมะสัปปายะ” อันมี “ฉันทะ” ความพึงพอใจในสิ่งที่ทำเป็นพื้นฐานคือการมีศรัทธาในสิ่งที่กระทำ มีความเพียรพยายามที่จะกระทำในสิ่งที่ชอบในสิ่งที่ใช่ ตั้งใจทำไปโดยไม่ทอดทิ้งธุระ กระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอมีการคิดพิจารณาใคร่ครวญ ว่าสิ่งที่ทำไปนั้นมันเป็นอย่างไร สิ่งนี้คือ “อิทธิบาท ๔” สิ่งนี้คือแนวทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จทั้งหลาย…

…กวีธรรมนำทางสว่างจิต….

” น ปณฺฑิตา อตฺตสุขสฺส เหตุ
ปาปานิ กมฺมานิ สมาจรนฺติ”
“บัณฑิตไม่ประกอบกรรมชั่ว เพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว “
………………………..

๐ ยกข้อธรรม นำมา สาธยาย
สื่อความหมาย แห่งธรรม นำวิถี
ให้ใคร่ครวญ ทวนทบ พบสิ่งดี
บทกวี ชี้ทาง ห่างอบาย

๐ ทุกถ้อยคำ เน้นย้ำ เรื่องสติ
สมาธิ ตั้งมั่น มีจุดหมาย
มีสติ คุ้มครอง รองรับกาย
เดินตามสาย เส้นทาง อย่างมั่นค

๐ ดำรงตน อยู่ใน ศีลธรรม
ไม่ก่อกรรม ทำชั่ว ด้วยมัวหลง
ซึ่งกิเลส ตัณหา พาพะวง
ให้ต่ำลง สู่อบาย ตายทั้งเป็น

๐ ยกจิตสู่ กุศล เป็นผลดี
ฝึกให้มี หิริ ระลึกเห็น
โอตตัปปะ คุ้มครอง ให้ร่มเย็น
มองให้เห็น ดีชั่ว กลัวบาปกรรม

๐ ปลุกสำนึก ความคิด จิตมนุษย์
เป็นชาวพุทธ ไม่ควร จะใฝ่ต่ำ
จงอย่าให้ กิเลส มาครอบงำ
ศึกษาธรรม นำทาง สว่างใจ

๐ รู้จักความ พอดี เป็นที่ตั้ง
ควรระวัง ความโลภ อย่าหลงใหล
ให้อยู่ดี มีสุข ไม่ทุกข์ใจ
อย่าอยากได้ เกินไป ให้ทุกข์ทน

๐ เมื่อมีน้อย ใช้น้อย คอยประหยัด
เราควรจัด บริหาร ให้เกิดผล
อย่าใช้เกิน กำลัง ระวังตน
เกิดเป็นคน ควรพินิจ คิดให้ดี…

…ฝากไว้เป็นข้อคิดเพื่อเตือนจิตสะกิดใจ…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

น้อมระลึกถึงบารมีคุณ

…น้อมระลึกถึงบารมีคุณ…

…หลวงพ่อพุทธทาส ได้ละสังขารกลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ สิริรวมอายุ ๘๗ ปี นับได้ ๖๗ พรรษา

…ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้หลวงพ่อพุทธทาส เป็นบุคคลสำคัญของโลก…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

กระแสธรรมพัดผ่านกาลเวลา

…กระแสธรรมพัดผ่านกาลเวลา…

…โกโธ ธัมมานัง ปริปันโถ ความโกรธเป็นอันตรายต่อสติและปัญญาของตนเองถ้าเผลอสติหลงไปกับอารมณ์นั้น มันจะเป็นการทำลายตนเอง ความโลภและความโกรธจึงเป็นอันตรายต่อธรรมทั้งหลาย ทำลายชื่อเสียง เกียรติยศและความดีทั้งหลายให้พังพินาศลง…

อ่านเพิ่มเติม “กระแสธรรมพัดผ่านกาลเวลา”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๙

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๙…

…ปรารภธรรมกับชีวิตในยามค่ำคืน…
…ชีวิตก้าวข้ามความตายมาหลายครั้ง ในสมัยที่ยังไม่รู้จักคุณค่าของชีวิตเดินอยู่บนเส้นทางที่พลาดผิดห่างไกลจากธรรม เพลิดเพลินในการประกอบกรรมอันเป็นอกุศล โดยไม่มีความรู้สึกรักตัวและกลัวตายในสิ่งที่ทำ ชีวิตที่รอดมาได้จนถึงวันนี้มันจึงคือกำไรของชีวิต เมื่อมีความรู้สึกสำนึกผิดชีวิตที่เหลือก็ไม่มีอะไรที่น่ากลัว

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๙”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๘

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๒๘…

…การปฏิบัติธรรมคือการทำสิ่งที่ไม่มีให้มีขึ้น แล้วรักษาสิ่งที่มีมิให้เสื่อมสลาย ให้ดำรงทรงไว้และขั้นสุดท้ายคือการสลาย ทำเหมือนมันไม่มีอะไร

…สูงสุดคืนสู่สามัญ นั้นคือการเข้าสู่อารมณ์วิปัสสนา มีสติและสัมปชัญญะความระลึกรู้ ความรู้ตัวทั่วพร้อมคุ้มครองกายคุ้มครองจิตอยู่ทุกขณะเป็นสภาวะของความเป็นปกติไม่มีรูปแบบ ไม่มีกระบวนท่ากระบี่อยู่ที่ใจ เก็บงำประกายรู้อยู่ภายใน ไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงออก การปฏิบัติธรรมนั้นคือการทำที่จิตไม่ใช่อยู่ที่รูปแบบทางกาย มิได้ทำไปเพื่อให้ผู้อื่นมาชื่นชม ยกย่องสรรเสริญ มิใช่การแสดง สภาวธรรมทั้งหลายเป็นของเฉพาะตน รู้ได้ด้วยตนพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติให้จริงสภาวธรรมนั้นเป็นเรื่องปัจจัตตังคือการรู้ได้เฉพาะตน…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔…

ทบทวนธรรม ย้ำเตือนจิต

…ทบทวนธรรม ย้ำเตือนจิต…

…ทำเพื่อคนอื่นมามากแล้ว ต่อไปเป็นการกระทำเพื่อตนเองบ้าง ไม่ใช่ความเห็นแก่ตัว แต่เราต้องเอาตัวเราให้รอดเสียก่อน จึงจะไปช่วยคนอื่นเขายังมีกิเลส ตัณหา อุปาทาน อีกมากมายในจิตเรา ที่ยังไม่ได้เข้าไปจัดการทั้งที่ได้เห็นแล้วและที่ยังไม่ได้เห็นพลังจิต ฤทธิ์ อภิญญา กับขบวนการลดละกิเลสนั้น มันคนละเรื่องกันขบวนการลดละกิเลสตัณหานั้นเป็นเรื่องของสติและสัมปชัญญะหิริและโอตตัปปะ

…ส่วนเรื่องพลังจิตและฤทธิ์นั้นเป็นเรื่องของสมาธิซึ่งทำได้ทั้งสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิคือสมาธิในระบบพระพุทธศาสนาและสมาธินอกระบบพระพุทธศาสนาสมาธิในระบบพระพุทธศาสนานั้นมีเจตนาเพื่อความดับทุกข์ เพื่อถอนมานะละตัณหา ลดอัตตา ฆ่าอุปาทานเป็นบาทฐานของปัญญา เพื่อยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา รอบรู้ในกองสังขารคือสติปัฏฐาน ๔ ส่วนสมาธิที่ปฏิบัติเพื่อความอยากมีอยากได้ทั้งหลายนั้นเป็นสมาธินอกระบบของพระพุทธศาสนาเพราะมีเจตนาแตกต่างกันในการกระทำ…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕…

จิตระลึกถึงธรรมไปตามกาล

…จิตระลึกถึงธรรมไปตามกาล…

“ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์
เป็นของเฉพาะตน คนอื่นจะ
ทำให้คนอื่นบริสุทธิ์ไม่ได้ ”
“ สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย ”
…พุทธสุภาษิต ธรรมบท ๒๕/๓๑…

…การเจริญจิตภาวนานั้นเป็นการกระทำที่จิตก็จริงอยู่ แต่จิตต้องอยู่กับกาย มีความสัมพันธ์กันจิตระลึกรู้อยู่ในกาย ไม่ส่งจิตออกนอกกาย อันเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นเพราะจิตส่งออก

…ในความไร้รูปแบบนั้น คือความเป็นไปตามความเหมาะสม ตามจังหวะเวลา โอกาส สถานที่และบุคคลการเลือกหาวิธีการที่เหมาะสมที่จะกระทำได้ในขณะนั้น นำมาประพฤติปฏิบัติเพื่อไม่ให้ขัดทั้งในทางโลกและในทางธรรมดำเนินไปในความเป็นปกติ

…การไร้รูปแบบนั้น มันก็มีรูปแบบของมันในตัวเองเสมอ ซึ่งต้องผ่านการฝึกฝนในรูปแบบมาก่อน จนมีความรู้ ความเข้าใจและชำนาญในรูปแบบมาก่อนแล้ว จึงจะละรูปแบบมาสู่รูปแบบที่ไร้กฎเกณฑ์กติกา ไร้การยึดติด มาทำที่จิตโดยทิ้งรูปแบบทางกาย ไม่ใช่การทอดทิ้งธุระ ที่กระทำไปเพราะความมักง่าย อันเกิดจากอกุศลจิตคือความเกียจคร้าน ความไม่ชอบใจทั้งหลาย แต่เกิดจากความรู้ความเข้าใจแล้วจึงปล่อยวาง…

อ่านเพิ่มเติม “จิตระลึกถึงธรรมไปตามกาล”