เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๖

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๖…

…จงพิจารณาให้เห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัยของอารมณ์ปฏิฆะ ความขุ่นใจ ความโกรธด้วยฝึกจิต ให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลาไม่ให้ความโกรธเข้ามาครอบงำและตั้งอยู่ได้นาน ให้เพียงผ่านเข้ามาแล้วดับไปโดยใช้เวลาไม่นาน “กิเลสที่จรมายังจิตนี้ให้เศร้าหมอง” เพราะเราไปรับเอาอารมณ์ของผู้อื่นที่มากระทบจิตเรา แล้วเราเข้าไปส้องเสพปรุงแต่งในอารมณ์เหล่านั้นมันก็จะทำให้เราทุกข์กายทุกข์ใจ เพราะจิตของเราไปยึดติดอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นและให้มันมีอำนาจมาครอบงำจิตเราให้เผลอสติคล้อยตามมัน…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๖”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๕

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๕…

…ถ้าจิตใจเศร้าโศกไม่เบิกบานร่าเริงแล้ว ความเป็นมงคลทั้งหลายก็จะหายไปหมด แต่ถ้าจิตใจไม่เศร้าโศก มีแต่ความร่าเริงแจ่มใสเกษมสำราญ ความเป็นมงคลทั้งหลายก็จะปรากฏขึ้น ดั่งคำที่ว่า “จิตดี กายเด่นจิตด้อย กายดับ” เมื่อจิตใจเป็นกุศลความเป็นมงคลทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๕”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๔

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๔…

…นักเดินทาง ทุกย่างก้าวที่เดินผ่านคือบทเรียน คือตำนานของชีวิต ที่เรานั้นได้ลิขิตขึ้นมาเอง ไม่ใช่โชคชะตาไม่ใช่ฟ้าลิขิต ไม่ใช่นิมิตแห่งสวรรค์ไม่ใช่พรหมนั้นบันดาล แต่สิ่งที่ชีวิตนั้นต้องพบพาน ล้วนแล้วเกิดมาแต่กระแสกรรมที่ได้ทำมา

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๔”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๓

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๓…

…สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาวศักยะ ในแคว้นสักกะครั้งนั้นท่านพระอานนท์ ได้เข้าเฝ้าแล้วกราบทูลพระพุทธองค์ว่า…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๓”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๒

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๒…

“คนเราควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ ที่คอยชี้โทษและกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไปว่าผู้นั้นแหละ คือผู้ชี้ขุมทรัพย์ละควรคบหาบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้นเพราะเมื่อคบหากับบัณฑิตเช่นนั้นอยู่ย่อมมีแต่คุณอันประเสริฐส่วนเดียวไม่มีเสื่อมเลย”

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๒”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๑

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๑…

…ใช้ชีวิตตามปกติในแต่ละวันที่ผ่านไปโดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุมอยู่ระลึกรู้ในสิ่งที่คิดและในกิจที่ทำ พยายามเตือนย้ำตนเองให้เกรงกลัวต่อบาปกรรม ในการคิดและทำกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น มองเห็นคุณ เห็นโทษเห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากสิ่งที่เราคิดและเรานั้นทำ ทุกครั้งในการคิดและก่อนจะพูดหรือลงมือทำสิ่งนั้น

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๑”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๐

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๐…

…บนเส้นทางสายธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน…

…ค้นพบบันทึกเล่มเก่าที่เขียนไว้เมื่อ ๒๐ กว่าปีที่แล้ว มีเรื่องราวมากมายที่ได้เขียนบันทึกไว้ในสมุดเล่มนั้น เปิดอ่านที่ละหน้าแล้วพิจารณาย้อนกลับไปในอดีต

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๕๐”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๙

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๙…

…สรรพสิ่งไม่หยุดนิ่งเคลื่อนไหวแปรเปลี่ยนไปตามจังหวะและฤดูกาลเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ไม่นานก็ดับสะลายไปสิ่งใหม่ก็เคลื่อนไหวเกิดขึ้นแทนที่เป็นอย่างนี้ต่อเนื่องสืบต่อเรื่อยมาจนไม่รู้ว่ามีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเพราะว่าจิตใจนั้นหลงใหลเผลอสติลืมกายลืมจิตไม่ได้คิดพิจารณาจึงไม่รู้ว่ามีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปทุกขณะ…

…ธรรมะเป็นเรื่องของการกระทำไม่ใช่คำสอนที่อยู่ในคัมภีร์หรือใบลานไม่ใช่การอ่านให้จำได้แล้วเอาไปอวดรู้ธรรมะทั้งหลายอยู่ที่กายและที่จิตอยู่ในทุกความคิดและทุกอย่างที่ทำเพราะว่าธรรมะนั้นคือธรรมชาติของจิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามจังหวะเวลาและโอกาส สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลาย…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๙ เมษายน ๒๕๖๕…

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๘

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๘…

…เมื่อศรัทธาเกิดขึ้น จงรักษาศรัทธานั้นให้เพิ่มกำลังยิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับตัวของเราเองและเราต้องมีความศรัทธาในตัวของเราก่อนเป็นลำดับแรก คือเชื่อในสิ่งที่คิดและในสิ่งที่ทำศรัทธาในตนเองนั้น แตกต่างกันกับการยึดถือในตนเอง ซึ่งการยึดมั่นถือมั่นในตนเองนั้นเรียกว่า อัตตา มานะทิฏฐิ คือเชื่อในสิ่งที่ผิดเป็นการคิดเข้าข้างตนเอง โดยการเอาความรู้สึกนึกคิดของตนเองมาเป็นตัวตัดสิน

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๘”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๗

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๗…

…ธรรมารมณ์ เป็นของละเอียดอ่อนไร้รูป ไร้รส ไร้กลิ่น ไร้เสียง ไร้การสัมผัสเป็นนามธรรมที่จับต้องมิได้ เป็นสิ่งที่เกิดภายใน มีใจเป็นตัวรับรู้และแผ่ออกมากระทบกับจิต ทำให้จิตแปรเปลี่ยนไปจิตของเราเหมือนภาชนะที่ว่างเปล่าเอาอะไรมาใส่ มันก็จะรองรับบรรจุสิ่งนั้นไว้เป็นห้องว่างที่ใครผ่านมาก็เข้าไปพักได้เราผู้เป็นเจ้าของห้องจึงต้องมีหน้าที่ที่จะต้องคอยดูแลรักษาและป้องกันมิให้สิ่งไม่ดีทั้งหลายเข้ามาอยู่อาศัยโดยการพิจารณาแยกแยะกุศลและอกุศลที่จรมา รับไว้แต่สิ่งที่ดีมีสาระ ต่อการดำเนินชีวิตทางจิตของเรา ปฏิเสธสิ่งที่ไม่เป็นสาระไม่เกิดประโยชน์ เป็นทุกข์เป็นภัยเป็นโทษ มิให้เข้ามาอยู่อาศัยในจิตของเรา…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๗”