เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๖

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๖…

….การปฏิบัติธรรม หน้าที่ของเราก็คือทำ ทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์อย่าได้ไปคาดหวังและตั้งเวลาต่อความสำเร็จ ว่าจะต้องเป็นวันนั้นวันนี้หรือเดือนนั้นปีนี้ ความเจริญในธรรมต้องอาศัยการสั่งสมอบรมอินทรีย์ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๖”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๕

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๕…

… การปฏิบัติธรรมนั้นท่านให้เป็นไปตามลำดับ เพื่อปรับธาตุ ปรับอินทรีย์ให้มีความพร้อม โดยเริ่มจากการให้ทานก่อน เพื่อปรับจิตใจให้มีความอ่อนโยน มีความเมตตา โอบอ้อมอารีมีความเสียสละ ละความเห็นแก่ตัวลงเสียก่อน ควบคู่กับการรักษาศีลเพราะการรักษาศีลนั้นคือการเจริญสติ ควบคุมกายและจิต ไม่ให้ผิดข้อวัตรปฏิบัติ มีสติควบคุมอยู่เพื่อให้ไม่ผิดศีล สิ่งที่ได้จากการรักษาศีลคือสติและองค์แห่งคุณธรรมคือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เพราะเรามีคุณธรรมข้อนี้เราจึงไม่ล่วงละเมิดผิดศีลทั้งในที่ลับและในที่แจ้ง…

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๕”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๔

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๔…

…ในส่วนลึกใต้จิตสำนึกของคนทุกคนนั้น ต่างปรารถนาอยากจะเป็นคนดี อยากจะทำความดีแต่บางทีสังคมไม่ให้โอกาสเขามนุษย์ทุกคนล้วนมีส่วนดีในจิตใจจงมองหาความดีของเขาแล้วกล่าวสรรเสริญ ให้เขาเพลินในการทำความดี

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๔”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๓

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๓…

…พิจารณาโดยโยนิโสมนสิการ…

…อย่าได้ปฏิเสธในศาสตร์และวิชาต่าง ๆ ที่มีในโลกนี้ ศึกษาค้นคว้าให้เข้าใจถึงที่มาและที่ไปในทุก ๆ ศาสตร์ ให้รู้ว่าทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมจึงสอนกันอย่างนี้ ทำไมเขาจึงเข้าใจมันอย่างนี้มีเจตนาเป็นอย่างไร อะไรเป็นกุศโลบายในศาสตร์นั้น ๆ โดยการทดลองประปฏิบัติตามในหลักของศาสตร์นั้น ๆ แล้วใช้สติพิจารณาใคร่ครวญโดยจิตที่ละเอียดรอบคอบและแยบคาย

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๓”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๒

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๒…

…มีคำถามเกี่ยวกับการจับความรู้สึก (จิตสัมผัส) ว่ามันคืออะไรและมีวิธีการในการปฏิบัติอย่างไรจึงจะรู้และเข้าใจในเรื่องของจิตสัมผัสเหล่านั้น จึงขออธิบายแบบสั้น ๆ เพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจ เมื่อใจเราว่าง โปร่ง โล่ง เบา สบาย ไม่คิดอะไรอยู่ ๆ ก็มีความรู้สึกนึกคิดตัวใหม่เกิดขึ้นมาเอง โดยมิใช่การเกิดจากปรุงแต่ง นึกคิดของจิตเราสิ่งนั้นคือ “มโนสัมผัส” ที่มากระทบจิตของเราซึ่งมันขึ้นอยู่กับกำลังสติของเราว่าจะรู้ทันหรือไม่ในสิ่งที่แปรเปลี่ยนไปของจิตเราเอง…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๒ เมษายน ๒๕๖๕…

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๑

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๑…

…มนุษย์ทุกคนมีความคิดถูกหรือผิดต่างรู้อยู่แก่ใจแต่ที่ยังกระทำลงไปในสิ่งผิดเป็นเพราะขาดจิตสำนึกแห่งคุณธรรมที่จะหักห้ามมิให้กระทำผิดจิตสำนึกต้องผ่านการฝึกฝนฝึกนึกฝึกคิดปรับจิตให้เป็นกุศลฝึกพูดในสิ่งที่เป็นมงคลแก่ตนและผู้อื่นฝึกกระทำในสิ่งที่คิดและพูดที่เป็นความดีเพียรกระทำอย่างนี้อย่างสม่ำเสมอจนเกิดเป็นความเคยชินและติดเป็นนิสัย

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๑”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๐

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๐…

…ทบทวนใคร่ครวญสดับธรรมคำสอนของครูบาอาจารย์แต่ครั้งก่อนที่บันทึกไว้มีมากมายหลายหลากที่ท่านได้บรรยายถ่ายทอดไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาปฏิบัติตามจริตของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไปตามภูมิธรรมภูมิปัญญาพื้นฐานที่แตกต่างกันระลึกนึกถึงคำสอนของหลวงพ่อชา สุภทฺโทแห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ที่ท่านได้สอนเตือนสติไว้ว่า…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๐”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๐

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๐…

…เรื่องสภาวธรรมนั้นมันเป็นของเฉพาะตน มีเพียงความคล้ายและใกล้เคียง ซึ่งบางครั้งไม่สามารถที่จะบรรยายเป็นคำพูดได้ จึงนำมาบอกเล่าเพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับผู้ที่ได้เข้ามาอ่าน หรือผู้ที่เคยผ่านการฝึกฝนปฏิบัติมาแล้ว จะได้เข้าใจในสิ่งที่ยังสงสัยและค้างคาใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไรและสิ่งที่เขียนออกไปทุกครั้งนั้นเป็นการย้ำเตือนตัวเอง เพื่อให้ใคร่ครวญทบทวนในสิ่งที่ตนได้ทำมาและได้กล่าวไป ทำไปด้วยใจเจตนาที่บริสุทธิ์ไม่ได้หวังลาภยศและชื่อเสียง เพราะพยายามหลีกเลี่ยงหนีห่างออกจากโลกธรรม ๘ อยู่ตลอดเวลา…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๐ เมษายน ๒๕๖๕…

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๙

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๙…

…ชีวิตของการสร้างงานที่ผ่านมาตั้งเจตนาด้วยกุศลจิต สิ่งที่คิดและสิ่งที่ทำนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและคนรุ่นต่อไป ไม่ได้สร้างทำไปเพื่อตอบสนองตัณหาของตนเอง หรือเพื่อการอวดเก่งอวดบารมี แต่สิ่งที่คิดและกิจที่ได้ทำนั้น คือการสอนธรรมแก่ตนเองและคนรอบข้าง ดั่งที่เคยกล่าวอยู่เสมอว่า “ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็น แล้วก็ปล่อย” คือคติธรรมในการสอนลูกศิษย์ทั้งหลาย

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๙”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๘

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๘…

… อย่ารังเกียจผู้ที่มีกรรม
อย่าซ้ำเติมผู้ที่หลงผิด
จงชี้ทางถูกให้แก่ผู้ที่มืดบอด…

…“ทำวิกฤตให้เป็นโอกาส” พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงไปให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ถ้าเรามองโลกในแง่ดี เราก็จะเห็นสิ่งที่ดีและโอกาสที่ดีอยู่เสมอ ขอให้เรามีสติและสัมปชัญญะที่เป็นกุศล คิดดี ทำดี มองโลกในแง่ดี แล้วทุกอย่างก็จะดีไปเอง

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๘”