รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๑๑

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๑๑…

…ระลึกนึกถึงคำสอนของครูบาอาจารย์ที่ท่านกล่าวไว้ว่า

“โง่ไม่เป็นเป็นใหญ่ยาก”

ความฉลาดทางโลกคือความโง่ในทางธรรม เพราะความฉลาดทางโลกนั้น ประกอบไปด้วยอัตตามานะทิฏฐิเป็นไปเพื่อการยกตนข่มผู้อื่น เป็นไปเพื่อการโอ้อวด เป็นไปเพื่อความเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ซึ่งสิ่งเหล่านั้นล้วนแล้วนำมาซึ่ง กิเลสตัณหา อุปาทาน เป็นการเพิ่มพูนอกุศลจิตทั้งหลาย

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๑๑”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๑๐

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๑๐…

…ใคร่ครวญทบทวนสรุปเรื่องราวที่ผ่านมา มีหลากหลายบทบาทและลีลาที่ได้ดำเนินไปในทุกศาสตร์ทุกศิลป์ที่ได้ร่ำเรียนฝึกฝนมาจนเกิดความกระจ่างแก่ใจสิ้นความสงสัยในเรื่องพลังจิตที่ทำให้เป็นอิทธิปาฏิหาริย์คงจะถึงกาลที่จะต้องละวางจากพิธีกรรมเข้าสู่การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ อย่างจริงจังเพราะวันเวลาของชีวิตนั้นยังอีกไม่ยาวไกล จึงต้องตั้งใจเร่งความเพียรให้มากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๑๐”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙…

…การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปนั้นเป็นเรื่องธรรมดาของโลก ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่ากฎพระไตรลักษณ์คือความไม่เที่ยงความเป็นทุกข์ ความเป็นสิ่งสมมุติทั้งหลาย ยึดถือไม่ได้ อนิจจังทุกขัง อนัตตา เป็นธรรมดาของสรรพสิ่งในโลกนี้…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘…

….กาลเวลานั้นย่อมหมุนเวียนและเปลี่ยนไป ไม่มีเวลาที่จะสิ้นสุดและหยุดนิ่งสรรพสิ่งย่อมเคลื่อนไหวโลกนั้นแปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลาไม่เคยหยุดนิ่ง กระแสแห่งโลกนั้นจึงไม่มีวันที่จะสิ้นสุดและหยุดอยู่

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗…

… “อย่าไปหวั่นไหวกับกระแสโลกจนเกินไป คืออย่าไปยินดี ยินร้ายกับคำสรรเสริญและคำนินทาความสุขหรือความทุกข์ และลาภยศทั้งหลาย อย่าไปหวั่นไหวกับมันเพราะว่าความหวั่นไหวนั้น มันจะทำให้เราขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง เรียกว่าเป็นคนไม่แน่นอนทำอะไรไม่แน่นอน จิตนั้นย่อมทุรนทุรายหวั่นไหวไปกับโลกธรรม นำมาซึ่งความทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเราวางใจให้อยู่เหนือโลกธรรมได้เมื่อไรใจของเรานั้นก็จะเป็นสุข”…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖…

…ในส่วนลึกของจิตของทุกคนนั้นล้วนแต่อยากจะเป็นคนดี อยากจะทำความดี แต่ส่วนใหญ่ได้แต่คิดแต่ไม่กล้าที่จะทำ เพราะว่าขาดความมั่นใจและความศรัทธาในตนเอง จึงต้องให้มองย้อนกลับไปว่าในชีวิตที่ผ่านมานั้น มีอะไรบ้างที่เราได้ทำลงไปและสิ่งนั้นมันเป็นความภาคภูมิใจของเรา เมื่อเราคิดถึงสิ่งนั้นครั้งใด ทำให้ใจเรามีความสุขและมีความภาคภูมิใจ สิ่งที่คิดนั้นคือการปลุกศรัทธาให้กับตัวเรา…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๖”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๕

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๕…

…ถามตัวเองอยู่เสมอว่า วันเวลาที่ผ่านไปนั้น เราได้อะไรจากวันเวลาและคุ้มค่ากับวันเวลาที่ผ่านไปหรือไม่เพื่อไม่ให้เราหลงไปกับวัยและเวลาของชีวิตที่เหลืออยู่และจะได้รีบเร่งสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิต แม้จะเพียงน้อยนิด ก็ยังดีกว่าที่จะไม่ได้ทำอะไรเลยไม่ได้มุ่งหวังว่าต้องเป็นชาตินี้หรือชาติหน้า เพียงแต่ตั้งใจไว้ว่าทำต่อไปเรื่อย ๆ ถึงเมื่อไหร่ก็ไปเมื่อนั้น

…จะไม่สร้างความกดดันให้กับตัวเอง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเกร็ง เพราะเราเคร่งจนเกินไป ซึ่งมันจะทำให้เครียด เป็นการเบียดเบียนตนเอง ไม่รีบ ไม่เร่ง อยู่กับกุศลจิต คิดและทำในสิ่งที่ดี ชีวิตนี้ก็เพียงพอแล้ว…

…ใคร่ครวญทบทวนธรรมเป็นคำกวี…

…อยู่กับโลก ด้วยธรรม นำความคิด
ปรับชีวิต เข้ากับธรรม นำเหตุผล
มีสติ ระลึกทั่ว ทั้งตัวตน
วิญญูชน คือคนที่ ต้องมีธรรม

…พึงพอใจ ในสิ่ง ที่ตนมี
ความพอดี พอเพียง มาหนุนค้ำ
ไม่ปล่อยใจ ให้ความโลภ เข้าครอบงำ
สิ่งที่ทำ สิ่งที่ได้ ใจเพียงพอ

…ทำหน้าที่ ของตน ให้เต็มที่
อย่าให้มี จิตใจ ที่ย่อท้อ
อย่าเพียงหวัง โชคชะตา ตั้งตารอ
เพียงแต่ขอ แต่ไม่ทำ กรรมของคน

…เพียงหวังพึ่ง เทวดา และอาจารย์
อยากให้ท่าน มาช่วย อำนวยผล
นั่งงอมือ งอเท้า ไม่ดิ้นรน
รอกุศล จากครูบา และอาจารย์

…ความสำเร็จ จะเกิดได้ ต้องหมายมั่น
ต้องช่วยกัน ทำกิจ คิดประสาน
ทั้งภายนอก และภายใน ให้ทันการ
ผลของงาน นั้นจึงออก น่าพอใจ

….ตนเองนั้น ต้องช่วย ตนเองก่อน
บุญจะย้อน กลับมา หาเราใหม่
บารมี ครูอาจารย์ ท่านให้ไป
ส่งผลให้ ได้พบ ประสพดี

…ประสพสุข สำเร็จ เพราะเสร็จกิจ
นำชีวิต ก้าวไป ได้ถูกที่
ทั้งทางโลก และทางธรรม นำชีวี
ก็จะมี แต่ความสุข ไม่ทุกข์เอย….

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม…
…๖ มีนาคม ๒๕๖๕…

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที ๔

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที ๔…

…บทบาทและหน้าที่ของชีวิต…

…ความสำเสร็จของชีวิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินเงินทองเป็นตัวชี้วัดความรวยหรือความจนแต่มันอยู่ที่ความสุขความพอใจในสิ่งที่มีและสิ่งที่เป็นว่าใครนั้นจะมีมากน้อยกว่ากันเพียงใดความสำเร็จนั้นเกิดได้เมื่อใจนั้นพอ…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที ๔”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๓

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๓…

…บทบาทและหน้าที่ของชีวิต…

…ความสำเสร็จของชีวิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินเงินทองเป็นตัวชี้วัดความรวยหรือความจนแต่มันอยู่ที่ความสุขความพอใจในสิ่งที่มีและสิ่งที่เป็นว่าใครนั้นจะมีมากน้อยกว่ากันเพียงใดความสำเร็จนั้นเกิดได้เมื่อใจนั้นพอ…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๓”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒…

…การปฏิบัติธรรม เป็นการกระทำที่เริ่มจากจิต จากความคิด แล้วแสดงออกมาซึ่งทางกาย การปฏิบัติธรรมนั้น มิใช่เป็นไปเพื่อความโอ้อวด เพื่อให้ผู้อื่นเขายกย่องสรรเสริญชื่นชม แต่เป็นการอบรมกายและจิตของเรา โดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุมอยู่ มีความระลึกรู้และมีความรู้ตัวทั่วพร้อมในกาย ในจิต ในความคิด และการกระทำ เพิ่มพูนคุณธรรมให้แก่จิต

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒”