ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๖

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๖…

…จิตระลึกถึงสุภาษิตบทหนึ่งขึ้นมาเป็นโพธิสัตว์คาถาที่ว่า…

…” อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ อธุรายํ นิยุญํํชติ
ทุนฺนโย เสยฺยโส โหติ สมฺมา วุตฺโต ปกุปฺปติ
วินยํ โส น ชานาติ สาธุ ตสฺส อทสฺสนํ “…

…แปลความว่า…
” คนพาลชอบชักนำในทางที่ผิด
คนพาลมักทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ
คนพาลมักเห็นผิดเป็นชอบ
คนพาลแม้พูดดีๆก็โกรธ
คนพาลไม่ยอมรับระเบียบวินัย
ดังนั้น การไม่พบเห็นคนพาลจึงเป็นการดี “
…โพธิสัตว์คาถา อกิตติชาดก ๒๗/๓๓๗…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๖”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๐

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๐…

…เมื่อใจของเรามีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้ว ความศรัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็จะบังเกิดขึ้นและส่งผลไปยังพระสงค์สาวกของพระพุทธองค์ ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สืบทอดพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อกันมา

…พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสสติ นั้นเป็นอนุสสติที่เกื้อกูลกัน สืบเนื่องกันเป็นการระลึกนึกคิดที่เป็นพื้นฐานของกุศลธรรมทั้งหลาย ที่จะเจริญยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป ถ้าเราทั้งหลายนั้นมีศรัทธาตั้งมั่น ไม่ละความความเพียรในการประกอบกรรมดี…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๖๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๖…

…อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ…

…ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติไหว้กราบมีปกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์…

…แต่ละวันที่ผ่านไปนั้นทุกอย่างดำเนินไปตามปกติ ทำกิจวัตรของสงฆ์ตามปกติเสร็จจากกิจวัตรของสงฆ์ ก็มาปฏิบัติกิจวัตรของการเป็นผู้นำเจ้าของสถานที่ของหมู่คณะ คือการตรวจตราดูแลการก่อสร้าง ดูแลความเรียบร้อยในที่อยู่อาศัย สนทนาและให้กำลังใจแก่คนผู้ร่วมงานทั้งหลาย คิดโครงการวางแผนงานที่จะทำกันต่อไป นี้คืองานในทางโลก

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๖”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำบทที่ ๘๑

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำบทที่ ๘๑…

…ทุกวันเวลาที่ผ่านไปทุกขณะจิตนั้น มันเป็นการสั่งสมประสบการณ์ของชีวิต สอนให้เรานั้นได้คิดได้พิจารณาเพิ่มขึ้นขอเพียงให้เรานั้นมั่นคงในจุดยืนของการดำเนินชีวิต ที่คิดจะสร้างจะทำก่อกรรมดีสร้างมงคลให้กับชีวิต เพื่อจะได้พัฒนาทางจิตให้เจริญก้าวหน้าในทางธรรมการเจริญสตินั้นจึงเป็นงานที่ต้องกระทำอยู่ตลอดเวลา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำบทที่ ๘๑”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๕

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๕…

… ธรรมะนั้น ไม่มีคำว่าดีที่สุดและถูกต้องที่สุด แต่จะมีความเหมาะสมที่สุด ด้วยองค์ประกอบของเหตุและปัจจัย ธรรมะทั้งหลายจึงเป็นธรรมะสัปปายะ คือธรรมที่เหมาะสมกับ จังหวะ เวลา โอกาสสถานที่และตัวบุคคล ตามเหตุตามผลของพละกำลังและอินทรีย์ที่ได้สะสมมา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๕”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๐

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๐…

…โกโธ ธัมมานัง ปริปันโถ ความโกรธเป็นอันตรายต่อสติและปัญญาของตนเอง ถ้าเผลอสติหลงไปกับอารมณ์นั้นมันจะเป็นการทำลายตนเอง ความโกรธจึงเป็นอันตรายต่อธรรมทั้งหลาย ทำลายชื่อเสียงเกียรติยศและความดีทั้งหลายให้พังทลายลง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘๐”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๙

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๙…

…คำว่า “คน” คือคลุกเคล้า ให้เข้ากัน
สารพัน สารพัด จะจัดหา
มาหล่อรวม ร่วมไว้ ในโลกา
นี่ละนา นี่ละหนา คำว่า “คน”

… โลกสับสน วุ่นวาย มาหลายยุค
ให้เกิดทุกข์ โทษภัย มาหลายหน
เพราะต่างคน ต่างเอา แต่ใจตน
ไร้เหตุผล จนต้อง ทะเลาะกัน

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๕…

…บางครั้งในสิ่งที่ไม่อยากจะทำก็ต้องทำและในสิ่งที่อยากจะทำก็ไม่ได้ทำ เพราะว่าทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่กับ จังหวะ เวลา โอกาสสถานที่และตัวบุคคล เป็นเหตุและปัจจัยให้เกิดสิ่งนั้น พิจารณาเป็นธรรมะ มันก็อยู่ในฐานเวทนาหนึ่งในสติปัฏฐาน ๔ คือ ความยินดีและไม่ยินดี ถ้าเราได้กระทำในสิ่งที่เรายินดี ในสิ่งที่ชอบในสิ่งที่ใช่ใจของเราก็จะมีความยินดีพอใจในสิ่งที่กระทำนั้น

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๕”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๔

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๔…

…อดีตที่ผ่านมานั้นคือบทเรียน มันเป็นบทเรียนของชีวิต มีทั้งการลองผิดและลองถูกสลับกันไป ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น มันไม่ใช่ความล้มเหลวแต่เป็นประสบการณ์ของชีวิตและเป็นการเรียนรู้กับชีวิต ไม่ยึดติดฝังใจอยู่กับความผิดพลาดที่ผ่านมานำสิ่งนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆทำให้ดีกว่าที่ผ่านมาชีวิตนั้นต้องเดินไปข้างหน้า สิ่งที่ผ่านมาทั้งหลายนั้นคือประสบการณ์ของชีวิต

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๔”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๙

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๙…

…อนุวิจฺจการํ กโรหิ…
“ จงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ ”
…พุทธสุภาษิต อุปาลีวาทสูตร ๑๓/๖๒…

…“ทำงานทุกชนิดให้จิตนั้นอยู่กับธรรม” คือพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างด้วยหลักธรรมมีสติระลึกรู้และความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา รู้จักแยกแยะถูกผิด ชั่วดี รู้จักข่มจิตข่มใจไม่คล้อยตามกิเลสความอยากทั้งหลายที่เป็นอกุศลกรรม มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปคุ้มครองจิตอยู่ทุกขณะทำหน้าที่ของตนไปตามบทบาทและหน้าที่ให้เต็มกำลังความรู้ความสามารถของตนเอง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๙”