ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๑…

…ได้กล่าวบอกแก่ผู้คนที่มาหาเพื่อสนทนาธรรมเสมอว่าการปฏิบัติธรรมนั้นมันคล้ายกับการปลูกต้นไม้ ผู้ปลูกต้องมีความอดทนที่จะรอให้เห็นผลเฝ้าดูการเจริญเติบโตของต้นไม้นั้นรอจนถึงวันที่มันแตกดอกออกผลให้เราได้ชม ได้ใช้ผลหรือได้เก็บกินซึ่งทั้งหมดทั้งสิ้นนั้น มันต้องใช้ระยะเวลาแห่งการเฝ้ารอคอยหมั่นดูแลและบำรุงรักษา เพื่อมิให้ต้นไม้นั้นมีอันตรายจากสิ่งที่จะมารบกวนส่วนการเจริญเติบโตของต้นไม้นั้นมันเป็นไปตามกาลเวลาและอายุของมัน…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๑”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๖

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๖…

…เวลาจะช้าหรือจะเร็วนั้น มันขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเรา กับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ถ้าเรารู้สึกยินดีกับสิ่งที่กำลังเป็นและเพลิดเพลินกับสิ่งนั้นเราจะรู้สึกว่าเวลานั้นแสนสั้นเหลือเกินเพราะว่าใจของเรานั้นผูกพันยึดถืออยู่กับสิ่งนั้น ไม่อยากจะให้มันผ่านพ้นไป ในทางกลับกัน ถ้าในเวลานั้นเรารู้สึกไม่พอใจไม่ยินดีกับสิ่งที่กำลังมีและกำลังเป็น อยากจะให้มันผ่านไปจบสิ้นไปโดยเร็ว เราก็จะรู้สึกว่า เวลานั้นผ่านไปช้าเหลือเกินเพราะใจของเราไม่ชอบและปฏิเสธในสิ่งที่กำลังเป็นไป มันจึงรู้สึกว่าเวลานั้นผ่านไปช้ามาก

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๖”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๕

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๕…

…พยายามรักษาจิต ปรับความคิดและมุมมองใหม่ ปลีกตัวออกจากหมู่คณะนั่งดูกายดูจิต ดูความคิดของตนเองเพราะว่าถ้าเราไม่หลีกออกมาจากจุดนั้นยังติดอยู่กับปัญหาและบุคคล สถานที่นั้นมันก็จะเพิ่มความกดดัน เพราะมีผัสสะคือสิ่งกระทบอยู่ตลอดเวลา จึงต้องถอยออกมาตั้งหลัก พักกาย พักใจ ปรับจิตเสียใหม่ แล้วจึงเข้าไปแก้ไขปัญหา

…การที่จะแก้ไขปัญหานั้น เราต้องทำใจให้อยู่เหนือปัญหา คือละวางปัญหานั้นเสียก่อน อย่ามองว่ามันเป็นปัญหาของเราของพวกเรา หรือว่าเรานั้นมีส่วนร่วมในปัญหาเหล่านั้น ยกจิตออกจากปัญหาปรับความคิดเสียใหม่ แล้วมองย้อนไปที่ปัญหา มองแบบคนนอกที่ไม่มีส่วนได้เสียกับปัญหาเหล่านั้น

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๕”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๑…

…จิตตื่น กายตื่น น้อมจิตสู่ธรรม…

…พบสิ่งใหม่ และที่ใหม่ ใจจะตื่น
จะพลิกฟื้น จิตใหม่ ให้ค้นหา
เพราะที่ใหม่ สิ่งใหม่ นั้นแปลกตา
อยากรู้ว่า สิ่งที่เห็น เป็นเช่นไร

…เมื่อได้ดู ได้รู้ และได้เห็น
มันก็เป็น อย่างนั้น สิ้นสงสัย
ความแปลกตา แตกตื่น ก็หมดไป
จากสิ่งใหม่ กลายเป็นเก่า ก็เท่ากัน

…ความคุ้นเคย อาจทำให้ ใจนั้นหย่อน
จิตถอดถอน หย่อนยาน ไม่แข็งขัน
ความเคยชิน นั้นทำให้ ใจผูกพัน
เห็นทุกวัน ทำทุกวัน กันเรื่อยไป

…แต่ถ้าใจ ของเรา นั้นตั้งมั่น
จะกี่ปี หรือกี่วัน และที่ไหน
ทุกอย่างเกิด จากจิต และจากใจ
คิดอะไร ทำอะไร ใจมั่นคง

…มีสัจจะ รับผิดชอบ ต่อหน้าที่
สิ่งที่มี สิ่งที่เป็น ไม่ลืมหลง
รักษาจิต รักษาใจ ให้ยืนยง
และมั่นคง ต่อข้อวัตร ด้วยศรัทธา

…จิตสำนึก การใฝ่ดี นั้นมีอยู่
จิตรับรู้ เร่งฝึกฝน เพื่อค้นหา
ปลุกสำนึก การใฝ่ดี ให้ตื่นมา
เพื่อนำพา สู่ชีวิต ทิศทางด

…ต้องเริ่มทำ ที่ตัวเรา เอาแบบอย่าง
สู่เส้นทาง สายใหม่ ในวิถี
ลบสลาย พฤติกรรม ที่ไม่ดี
ที่มันมี ที่มันทำ แต่ก่อนมา

…เพียงคุณเปลี่ยน ความคิด ชีวิตเปลี่ยน
ไม่วนเวียน อยู่ใน ห้วงตัณหา
มีสติ คุณธรรม นำปัญญา
ก็จะพา สู่ชีวิต นิมิตดี

…ทุกสิ่งนั้น ไม่ยาก เกินแก้ไข
ถ้าหากใจ ยอมทำ ตามหน้าที่
รับผิดชอบ ในบทบาท ตามที่มี
เพียงเท่านี้ ก็ชื่อว่า เข้าหาธรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๔ สิงหาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๐

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๐…

…วันเวลาแห่งชีวิตของทุกคนนั้นสั้นลงทุกขณะทุกชีวิตกำลังเดินไปสู่ความตาย จะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของแต่ละคนที่ได้ทำมา ซึ่งแตกต่างกันแต่ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วนั้น ทุกคนก็ไม่อาจจะหนีพ้นความตายไปได้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนั้นมันสั้นลงในทุกวินาทีที่ผ่านเลยไปจงใช้เวลาที่เหลืออยู่นั้นให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมให้มากที่สุดเท่าที่เรานั้นจะทำได้อย่าได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเปล่าโดยไร้สาระ ทบทวนใคร่ครวญในสิ่งที่ผ่านมา ว่าเรานั้นได้สร้างได้ทำอะไรมาบ้างแล้ว เรามีความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราได้สร้างได้ทำมาแล้วหรือไม่ ชีวิตนี้มีความทรงจำที่ดีเก็บไว้แล้วหรือยัง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๒๐”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๕

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๕…

…บอกกล่าวแก่ลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุอยู่เสมอว่า ในการที่จะเผยแผ่ธรรมะนั้นสิ่งที่สำคัญ นั้นก็คือการทำอย่างไรที่จะให้เขาเข้ามาหาเรา ซึ่งต้องใช้หลักจิตวิทยามองหาความชอบพื้นฐานของแต่ละบุคคลนำเสนอในสิ่งที่เขามีความชอบอันประกอบด้วยกุศล ต้องสร้างความคุ้นเคยกัน เพื่อลดความกดดัน ความรู้สึกแปลกแยกแตกต่างระหว่างกันออกไป ไม่ไปยัดเหยียดธรรมให้เขาปฏิบัติ ในขณะที่เขานั้นยังไม่พร้อมน้อมนำธรรมที่เหมาะสมมานำเสนอแก่เขา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๕”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๔

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๔…

…คุณค่าของเวลาที่ผ่านมานั้นจัดสรรให้มีค่ามากที่สุด เท่าที่จะทำได้ไม่ปล่อยให้ผ่านเลยไปโดยไร้ซึ่งประโยชน์ทั้งในเรื่องทางโลกและในเรื่องทางธรรมตอกย้ำจิตสำนึกในบทบาทภาระและหน้าที่เพราะวันเวลาของชีวิตที่ได้ผ่านมานั้นมันคือกำไรของชีวิตแห่งการที่ยังมีลมหายใจอยู่

…ชีวิตก้าวข้ามความตายมาหลายครั้งในสมัยที่ยังไม่รู้จักคุณค่าของชีวิตเดินอยู่บนเส้นทางที่พลาดผิดห่างไกลจากธรรม เพลิดเพลินในการประกอบกรรมอันเป็นอกุศล โดยไม่มีความรู้สึกรักตัวและกลัวตาย ในสิ่งที่ทำ ชีวิตที่รอดมาได้จนถึงวันนี้ มันจึงเป็นกำไรของชีวิตเมื่อมีความรู้สึกสำนึกผิด ชีวิตที่เหลือก็ไม่มีอะไรที่น่ากลัว…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๐…

…สิ่งที่ควรกระทำนั้นต้อง ไม่เป็นภัยต่อชีวิตตนเอง ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อผู้อื่นไม่ฝ่าฝืนพระธรรมวินัยและกฎระเบียบของสังคม เป็นไปตามความเหมาะสมของ จังหวะเวลา โอกาส สถานที่ บุคคล อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล ปัจจัยองค์ประกอบทั้งหลาย เป็นไปโดยชอบ ประกอบด้วยกุศลเป็นมงคลแก่ชีวิต จากสิ่งที่คิดและสิ่งที่ทำ นั้นคือความ “เรียบง่ายไร้รูปแบบ แต่ไม่ไร้สาระ” เป็นกิจที่สมณะนั้นควรคิดควรทำในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาทางจิตไปสู่ความสงบเพื่อความจางคลายของอัตตา กิเลส ตัณหาและอุปาทานทั้งหลาย…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๙…

…”ความสำเร็จของชีวิต อยู่ที่จิตคิดว่าพอ” คือพอเพียงและพอใจในสิ่งที่มีและในสิ่งที่เป็น พึงพอใจในอัตภาพของคนเองชีวิตที่เหลือคือการทำหน้าที่ของตนไปจนสิ้นอายุขัย ความสุขความสบายใจก็จะเกิดขึ้นแก่เขาเหล่านั้น เพราะว่าใจมันบอกว่า “พอแล้ว” …

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๙”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๓

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๓…

…เมื่อใจนั้นยอมรับซึ่งความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลายว่าเรานั้นเป็นผู้กระทำ สิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นผลแห่งวิบากกรรมที่เรานั้น ได้เคยกระทำมา ไม่ไปโทษดินโทษฟ้าหาผู้รับผิดมาแทนเรา ใจนั้นก็จะเบาเพราะได้วางจากกายึดถือทั้งหลาย ความทุกข์ที่มีนั้นก็จะคลาย และเมื่อใจสบาย ความคิดนั้นก็จะโปร่งโล่งเบาเพราะว่าเข้าใจในปัญหาอุปสรรคทั้งหลายที่เกิดขึ้นและเมื่อทำใจยอมรับได้ซึ่งความเป็นจริง อุปสรรคปัญหาในทุกสิ่งนั้นย่อมจะมีหนทางที่จะแก้ไขได้อยู่ที่ว่าเรานั้นทำใจได้แล้วหรือยัง…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔…