บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต ปฐมบท

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต ปฐมบท…

…พิจารณาทำความรู้ความเข้าใจในทุกสรรพสิ่ง ในความเป็นจริงของชีวิต คิดพิจารณาทุกอย่างเข้าหาหลักธรรม มองให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ประสพพบเห็นนั้น “มันเป็นเช่นนั้นเอง”

…เมื่อเข้าใจทุกอย่างก็จบ มันมีคำตอบอยู่ในตัวของตัวมันเองไม่ต้องไปสงสัย ไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องไปค้นหา เพราะว่า “ตถตา มันเป็นเช่นนั้นของมันเอง”

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต ปฐมบท”

ปรารภธรรมระหว่างแวะพักรถ

…ปรารภธรรมระหว่างแวะพักรถ…

…การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ได้อยู่แต่เพียงรูปแบบ ทางกาย คือต้องสมาทานศีลนุ่งขาวห่มขาว นั่งสมาธิ ต้องเดินจงกรมแต่เพียงเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญของการปฏิบัติธรรมก็คือการมีสติและสัมปชัญญะ อยู่กับ กาย เวทนา จิตและธรรม ตามความเหมาะสมของจังหวะ เวลา โอกาส สถานที่ บุคคล

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมระหว่างแวะพักรถ”

ใคร่ครวญทบทวนธรรมและคำกวี

…ใคร่ครวญทบทวนธรรมและคำกวี…

…” อยู่คนเดียวให้ระวังจิต อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา” เป็นสิ่งที่ควรพึงสังวรและควรนำไปปฏิบัติตาม เพื่อความอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เพราะความเหนื่อย ความหิวความร้อน ทุกขเวทนาทางกายและผัสสะที่มากระทบนั้นทำให้กิเลสที่ซ่อนอยู่ในจิตของเราผุดขึ้นมาได้ง่าย ถ้าเราเผลอสติระลึกรู้ไม่ทัน

…ทำให้ระลึกถึงอานิสงส์ของการเดินธุดงค์ การเดินธุดงค์นั้นเป็นการฝึกสติ ฝึกความอดทน ฝึกการควบคุมอารมณ์ ที่ดีมาก เพราะในเวลาที่เราเดินธุดงค์นั้น ต้องแบกสัมภาระอยู่บนบ่า มีความเหนื่อยและเมื่อยล้าจากอากาศที่ร้อน สัมภาระที่หนักความหิวกระหาย ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเดินธุดงค์ ความเห็นแก่ตัวจะเกิดขึ้นความขี้เกียจ ความมักง่ายก็จะตามมาอัตตาความเอาแต่ใจตนเองเพิ่มขึ้นซึ่งถ้าไม่ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกให้ดีแล้ว กิเลสทั้งหลายก็จะแสดงออกมา ทั้งทางกายและทางวาจาซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นอกุศลกรรมขึ้นได้

…การฝึกจิตให้มีสติระลึกรู้และให้มีสัมปชัญญะความรู้ตัวทั่วพร้อมนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรปฏิบัติ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญทบทวนธรรมและคำกวี”

เมื่อจิตระลึกถึงธรรม

…เมื่อจิตระลึกถึงธรรม…

“ความไม่ประมาท เป็นยอดแห่งธรรมทั้งปวง”
“อปฺปมาโท เตสํ ธมฺมานํ อคฺคมกฺขายติ”
…พุทธสุภาษิต คถาคตสูตร ๑๙/๖๗…

…การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ได้อยู่แต่เพียงรูปแบบ ทางกาย คือต้องสมาทานศีลนุ่งขาวห่มขาว นั่งสมาธิ ต้องเดินจงกรมแต่เพียงเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญของการปฏิบัติธรรมก็คือการมีสติและสัมปชัญญะ อยู่กับ กาย เวทนา จิตและธรรม ตามความเหมาะสมของจังหวะ เวลา โอกาส สถานที่ บุคคล

…ซึ่งถ้าเราไปยึดถือเพียงรูปแบบภายนอกทางกาย ว่าต้องทำอย่างนั้นต้องทำอย่างนี้ จึงจะเป็นการปฏิบัติธรรมมันก็จะเป็นสีลพรตปรามาสไปทันที…

อ่านเพิ่มเติม “เมื่อจิตระลึกถึงธรรม”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๑

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๑…

…หลายคนอาจจะมองว่าชีวิตช่างวุ่นวายทำไปทำไมมากมาย ควรจะอยู่นิ่งๆทำกิจของสงฆ์ไป ไม่ต้องมาวุ่นวายกับเรื่องของทางโลก ก็เลยย้อนถามกลับไปว่า อะไรคือโลก อะไรคือธรรมธรรมนั้นอยู่ที่ไหน ธรรมนั้นใครคือผู้ใช้ผู้ปฏิบัติธรรม โลกและธรรมคือของคู่กัน อาศัยซึ่งกันและกัน…

…วิถีโลก-วิถีธรรม ต้องก้าวไปด้วยกัน…

…ฝากไว้เป็น ข้อคิด ให้ศึกษา
เรียนรู้ค่า แห่งชีวิต ทิศทางใหม่
สิ่งที่รู้ สิ่งที่เห็น ที่เป็นไป
อาจมิใช่ สิ่งที่คิด พินิจดู

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๑”

บางช่วงแห่งเวลาของอารมณ์

…บางช่วงแห่งเวลาของอารมณ์…

…ในบางครั้ง ท้อแท้ และเบื่อหน่าย
ความวุ่นวาย ที่ได้ ไปพบเห็น
ความอยากมี อยากได้ และอยากเป็น
สิ่งที่เห็น ล้วนเป็น สิ่งมายา

…อยากจะหลบ ให้ไกล ไปให้พ้น
เบื่อผู้คน เบื่อกิเลส เบื่อปัญหา
และเบื่อความ วุ่นวาย ที่ตามมา
นิพพิทา เบื่อหน่าย ในรูปนาม

…แต่เมื่อมี สติ ระลึกรู้
และตามดู ตามเห็น ไม่มองข้าม
ดูอารมณ์ แล้วพินิจ เฝ้าติดตาม
เห็นรูปนาม เกิดดับ ธรรมดา

…เห็นถึงความ ไม่เที่ยง ของทุกสิ่ง
เห็นความจริง ว่ามันเป็น เช่นนั้นหนา
พระไตรลักษณ์ คือหลัก แห่งธรรมา
เกิดขึ้นมา ตั้งอยู แล้วดับไป

…อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
มันเป็นมา ทุกยุค ทุกสมัย
และก็ยัง สืบต่อ อยู่เรื่อยไป
ต้องฝึกใจ ให้ยอมรับ กับความจริง

…โจทย์คือทุกข์ ให้เรา ได้ศึกษา
ถึงที่มา และที่ไป ในทุกสิ่ง
ค้นหาเหตุ ที่เป็นไป ในความจริง
เห็นในสิ่ง ที่เป็นเหตุ ให้เกิดมา

…เห็นที่เกิด แล้วเข้าใจ ในทุกขัง
อนิจจัง ความไม่เที่ยง คือปัญหา
ไม่สามารถ บังคับได้ อนัตตา
รู้ที่มา เห็นที่ดับ สลับกัน

…เห็นซึ่งทุกข์ สมุทัย และนิโรธ
เห็นทุกข์โทษ เห็นภัย ในสิ่งนั้น
เห็นมรรคา ทางไป ให้แก่มัน
จิตก็พลัน สงบ พบความจริง…

…ด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร…
…๘ ธันวาคม ๒๕๕๔…

ฝากสายลม ผ่านแสงแดด สู่นาคร จากภูผา

…ฝากสายลม…ผ่านแสงแดด…สู่นาคร…จากภูผา…

…ฝากไว้เป็น ข้อคิด ให้ศึกษา
เรียนรู้ค่า แห่งชีวิต ทิศทางใหม่
สิ่งที่รู้ สิ่งที่เห็น ที่เป็นไป
อาจมิใช่ สิ่งที่คิด พินิจดู

…ควรตั้งจิต ตั้งใจ ให้เปิดกว้าง
มองทุกอย่าง ที่เห็น เพื่อเรียนรู้
เอาทุกอย่าง มาพินิจ คิดเป็นครู
จงเฝ้าดู และวิเคราะห์ ให้เหมาะควร

…มองให้เห็น ความเป็นจริง สิ่งทั้งหลาย
เห็นความหมาย ชั่วและดี นั้นมีส่วน
ทำในสิ่ง ทีดี และที่ควร
ฝึกทบทวน นึกคิด จิตใฝ่ดี

…คุณธรรม นั้นจงมี ในชีวิต
รู้ถูกผิด คุณธรรม นั้นนำชี้
จิตสำนึก ส่วนลึก นั้นใฝ่ดี
เมื่อมันมี โอกาส พึงกระทำ

…โลกและธรรม นำชี้ บทชีวิต
ก่อเกิดกิจ กันไป อย่างสม่ำ
สิ่งที่คิด สิ่งที่เห็น นั้นเป็นธรรม
เป็นประจำ ในชีวิต คิดใคร่ครวญ

…เพราะธรรมะ นั้นคือ ธรรมชาติ
ตามโอกาส และจังหวะ ตามสัดส่วน
สิ่งที่ทำ สิ่งที่คิด กิจที่ควร
ทุกสิ่งล้วน คือธรรม ตามความจริง

…ธรรมะนั้น อยู่ใกล้ ในชีวิต
ถ้าหากจิต ของเรา นั้นหยุดนิ่ง
ก็จะรู้ และเห็น ความเป็นจริง
สรรพสิ่ง ล้วนคือธรรม ที่นำพา

…คือความจริง ทั้งหลาย ในโลกนี้
สิ่งที่มี สิ่งที่เห็น ได้ศึกษา
คือความจริง ใช่สิ่งหลอก โลกมายา
คือธัมมา ธรรมชาติ ที่เป็นไป

…มันคือกฎ ของโลก ที่เป็นอยู่
มันเป็นคู่ กันมา ทุกสมัย
โลกและธรรม คู่กัน นั้นเรื่อยไป
เกิดจากใจ จากจิต ที่คิดจริง

…เมื่อใจรับ ความเป็นจริง สิ่งทั้งหลาย
พบความหมาย ในชีวิต สรรพสิ่ง
ก็จะเห็น โลกธรรม ตามความจริง
สรรพสิ่ง มันก็เป็น เช่นนั้นเอง…

…ด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิต..
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร…
…๗ ธันวาคม ๒๕๕๔…

วิถีโลกและวิถีธรรมนั้นต้องจะเดินคู่กันไป

…ดั่งที่เคยกล่าวไว้ว่า…วิถีโลกและวิถีธรรมนั้นต้องจะเดินคู่กันไป…

เพราะว่าเราทั้งหลายนั้น ต้องใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม มิอาจจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ ต้องมีการอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่มากก็น้อย ตามจังหวะ เวลา โอกาศ สถานที่และตัวบุคคล เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน โลกและธรรมจึงต้องเดินคู่กันไป แต่คนส่วนใหญ่นั้นมักจะปฏิเสธธรรม เพราะคิดว่าเป็นเพียงเรื่องของศาสนา เป็นลัทธิ เป็นความเชื่อเฉพาะตนทั้งที่จริงแล้วธรรมะนั้นคือธรรมชาติแห่งความเป็นจริง เป็นสิ่งใกล้ตัวที่เราพบเห็นอยู่เป็นประจำในชีวิตของเรา

อ่านเพิ่มเติม “วิถีโลกและวิถีธรรมนั้นต้องจะเดินคู่กันไป”

รำพึงธรรม ฝากสายลม ใต้ร่มไม้ จากภูผา

…รำพึงธรรม ฝากสายลม ใต้ร่มไม้ จากภูผา…

…สรรพสิ่ง ตั้งอยู่ใน พระไตรลักษณ์
ซึ่งเป็นหลัก ธรรมชาติ ควรศึกษา
ความไม่เที่ยง แปรเปลี่ยน อนิจจา
ย่อมนำมา ซึ่งความทุกข์ ไม่สุขใจ

…ทุกข์เพราะว่า ใจนั้น ไปยึดมั่น
ไม่แปรผัน ยอมรับ กับสิ่งใหม่
ไม่ยอมรับ กับสิ่งที่ แปรเปลี่ยนไป
ทำให้ใจ นั้นทุกข์ ไม่ผ่อนคลาย

…กาลเวลา หมุนเวียน แปรเปลี่ยนผัน
ทุกสิ่งนั้น ย่อมจะมี เสื่อมสลาย
มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ตาย
ทุกสิ่งหาย ไปกับ กาลเวลา

…วันเวลา แห่งชีวิต นี้สั้นนัก
ควรรู้จัก เสริมสร้าง ซึ่งคุณค่า
ทำชีวิต ของตนนี้ มีราคา
สร้างคุณค่า ต่อชีวิต ด้วยจิตดี

…วันเวลา ผ่านไป ควรใคร่คิด
ถึงชีวิต ที่ผ่านมา จนวันนี้
ว่าเคยทำ อะไรบ้าง ในสิ่งดี
ชีวิตนี้ มีคุณค่า มารึยัง

…อย่าปล่อยให้ ผ่านไป โดยไร้ค่า
วันเวลา นั้นไม่อาจ จะคืนหลัง
ชีวิตนี้ ใช่จะอยู่ อย่างจีรัง
สิ่งที่หวัง และตั้งใจ อาจไม่มา

…วันพรุ่งนี้ อาจไม่มี ให้ได้เห็น
อาจไม่เป็น อย่างที่ใจ ปรารถนา
สิ่งที่หวัง และตั้งใจ อาจไม่มา
วันเวลา หมุนเวียน และเปลี่ยนไป

…วันเวลา ผ่านไป ไม่หยุดนิ่ง
สรรพสิ่ง เปลี่ยนตาม ยุคสมัย
เราจึงควร ฝึกจิต และฝึกใจ
ให้รับได้ ในความเป็น เช่นนั้นเอง….

…ด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร…
…๗ ธันวาคม ๒๕๕๔…

กระแสธรรมแห่งกาลเวลา

…กระแสธรรมแห่งกาลเวลา…

…ระลึกอยู่เสมอว่า การทำงานคือการปฏิบัติธรรม ทุกอย่างที่ทำลงไปนั้นคือการสร้างบารมี เพื่อให้ใจของเรามีปีติ มีกำลังใจ ไม่เบื่อที่จะทำในสิ่งที่เป็นอยู่ สิ่งสำคัญคือเราต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา อย่าคิดว่ามันเป็นภาระหรือเป็นปัญหา คิดว่าเป็นหน้าที่ที่เราต้องกระทำ เพื่อสงเคราะห์และอนุเคราะห์แก่ผู้คนทั้งหลาย ที่เขามาเพื่อหวังพึ่งเรา

อ่านเพิ่มเติม “กระแสธรรมแห่งกาลเวลา”