บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๐

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๐…

…ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนมีที่มาและมีที่ไปมีเหตุและปัจจัยในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วดับไป มีการเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา มิอาจจะตั้งอยู่ได้นานตลอดไปบุคคลจึงควรทำใจให้รับกับสภาพที่จะแปรเปลี่ยนไปทั้งหลายนั้นให้ได้ อย่าไปยึดติดมากเกินไปกับภาพแห่งอดีตทั้งหลายที่ได้จดจำมาเพราะกาลเวลานั้นได้ผ่านเลยไป สิ่งทั้งหลายย่อมแปรเปลี่ยนตาม ซึ่งเราไม่อาจห้ามไม่ให้มันเปลี่ยนแปลงไปไม่ได้เลยเพราะทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ย่อมเป็นไปตามกฎของพระไตรลักษณ์คือความไม่เที่ยงแท้ที่นำมาให้เกิดความทุกข์ทั้งหลายเพราะไม่อาจจะเข้ายึดถือ ให้มันคงสภาพอยู่เช่นเดิมตลอดไปได้ ทุกอย่างย่อมจะเปลี่ยนแปลงไป ไม่มากไม่น้อยตามระยะเวลา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๒๐”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๙

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๙…

…การปฏิบัติธรรมนั้นทำได้ทุกขณะทุกอิริยาบถ ไม่จำกัดกาลและสถานที่ขอให้เรามีสติระลึกรู้ มีความรู้ตัวทั่วพร้อมอย่าไปติดยึดในรูปแบบและท่าทางเพราะการปฏิบัติธรรมนั้นไม่ใช่การแสดงการโชว์หรือโอ้อวดกัน แต่เป็นการกระทำภายในจิตใจของเรา ซึ่งถ้าเรามีสติและสัมปชัญญะแล้ว เราจะรู้ว่าเรากำลังทำอะไรและเพื่ออะไร “ไม่มีใครรู้ซึ้งเท่าหนึ่งจิต” ว่าเราคิดและเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไรดีไปกว่าตัวของเราเอง “รู้กาย รู้จิตรู้ความคิด รู้สิ่งที่กระทำ” นั่นคือการปฏิบัติธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๙”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๘

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๘…

…“ดูหนังดูละคร แล้วจงย้อนมาดูตัว” จงมีสติระลึกรู้ในสิ่งที่ผ่านมา มีความรู้ตัวทั่วพร้อม ในสิ่งกำลังเป็นไปมองอะไรให้มองทั้งสองด้าน ทั้งที่เป็นคุณและเป็นโทษที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ทั้งสองสิ่งมองให้เห็นความเป็นจริง มองทุกสิ่งด้วยใจที่เป็นกลางไม่เข้าข้างความคิดของตนเอง โดยเอาความชอบหรือความไม่ชอบของตนเป็นตัวตัดสินทุกอย่างต้องเริ่มต้นที่จิต จงฝึกคิดและฝึกทำ…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๔…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๗

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๗…

…ธรรมคือความเป็นจริงทั้งหลายในโลกนี้ เป็นสัจธรรมและสิ่งที่จะนำเข้าสู่ธรรมชาติแห่งความเป็นจริงนั้นก็คือคุณธรรมจิตสำนึกความรู้สึกนึกคิด จิตที่ยอมรับซึ่งความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลายนั้น วางใจให้เป็นกลางไม่เข้าข้างความรู้สึกนึกคิด เพื่อผลประโยชน์ของตนจนเกินไป ความพึงพอใจในในสิ่งที่มีในสิ่งที่เป็นและสิ่งที่ควรจะได้ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติศาสนาไหนก็ตาม ล้วนแล้วมุ่งหวังที่จะชี้นำให้คนกระทำความดี ให้ทุกคนมีจิตสำนึกแห่งคุณธรรม เพื่อความสงบสุขร่มเย็น เพื่อความเป็นไปโดยสันติ สิ่งนั้นคือแก่นแท้ของทุกศาสนา…

…วิถีโลก-วิถีธรรม ต้องก้าวไปด้วยกัน…

…ฝากไว้เป็น ข้อคิด ให้ศึกษา
เรียนรู้ค่า แห่งชีวิต ทิศทางใหม่
สิ่งที่รู้ สิ่งที่เห็น ที่เป็นไป
อาจมิใช่ สิ่งที่คิด พินิจดู

…ควรตั้งจิต ตั้งใจ ให้เปิดกว้าง
มองทุกอย่าง ที่เห็น เพื่อเรียนรู้
เอาทุกอย่าง มาพินิจ คิดเป็นครู
จงเฝ้าดู และวิเคราะห์ ให้เหมาะควร

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๗”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๖

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๖…

…วันเวลาแห่งชีวิตของทุกคนนั้นสั้นลงทุกขณะทุกชีวิตกำลังเดินไปสู่ความตาย จะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของแต่ละคนที่ได้ทำมา ซึ่งแตกต่างกันแต่ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วนั้น ทุกคนก็ไม่อาจจะหนีพ้นความตายไปได้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนั้นมันสั้นลงในทุกวินาทีที่ผ่านเลยไปจงใช้เวลาที่เหลืออยู่นั้นให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมให้มากที่สุดเท่าที่เรานั้นจะทำได้อย่าได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเปล่าโดยไร้สาระ ทบทวนใคร่ครวญในสิ่งที่ผ่านมา ว่าเรานั้นได้สร้างได้ทำอะไรมาบ้างแล้ว เรามีความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราได้สร้างได้ทำมาแล้วหรือไม่ ชีวิตนี้มีความทรงจำที่ดีเก็บไว้แล้วหรือยัง…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๖”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๕

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๕…

…ทุกอย่างล้วนเป็นครูที่สอนธรรมให้แก่เรา ไม่ว่าความดีหรือความชั่วล้วนแล้วแต่เป็นครู สอนให้เรารู้ว่านี่คือความไม่ดี เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำสอนให้รู้ว่านี่คือความดี เป็นสิ่งที่ควรกระทำ ความดีและความเลวมีไว้ให้เปรียบเทียบกัน

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๕”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๔

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๔…

…การปฏิบัติธรรม เป็นการกระทำที่เริ่มจากจิต จากความคิดแล้วแสดงออกมาซึ่งทางกายการปฏิบัติธรรมนั้น มิใช่เป็นไปเพื่อความโอ้อวดเพื่อให้ผู้อื่นเขายกย่องสรรเสริญชื่นชมแต่เป็นการอบรมกายและจิตของเรา โดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุมอยู่ มีความระลึกรู้และมีความรู้ตัวทั่วพร้อมในกายในจิตในความคิดและการกระทำ เพิ่มพูนคุณธรรมให้แก่จิตปรับเปลี่ยนความคิด เพื่อให้จิตเป็นบุญกุศล ไม่เอาแต่ความคิดของตนมาเป็นใหญ่ เปิดจิตเปิดใจให้เปิดกว้างพิจารณาทุกอย่างโดยเหตุและผลไม่เห็นแก่ประโยชน์ตนจนเกินไปรู้จักการให้และการแบ่งปัน สิ่งที่กล่าวมานั้นคือการปฏิบัติธรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๖ สิงหาคม ๒๕๖๔…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๓

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๓…

…การยึดถือนำมาซึ่งความทุกข์…

๐ เมื่อใจทุกข์ จงมอง ประคองจิต
ดูความคิด ดูจิต ที่เศร้าหมอง
จงพินิจ ใคร่ครวญ และตริตรอง
และเฝ้ามอง ให้เห็น ความเป็นจริง

๐ สรรพสิ่ง ล้วนตั้ง อยู่ในหลัก
พระไตรลักษณ์ คือหลัก สรรพสิ่ง
พระไตรลักษณ์ คือหลัก แห่งความจริง
สรรพสิ่ง ไม่เที่ยงแท้ และแน่นอน

๐ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เป็นคำสอน
อนิจจัง ไม่เที่ยงแท้ และแน่นอน
ทุกข์เร้าร้อน เพราะใจ ไปยึดมัน

๐ ไม่ยอมลด ยอมละ ซึ่งความอยาก
ต้องการมาก ยึดติด ไม่แปรผัน
ไม่อยากสูญ ไม่อยากเสีย อยากได้มัน
ทุกสิ่งนั้น ล้วนเป็น อนัตตา

๐ นี่เป็นกฎ ธรรมชาติ พระไตรลักษณ์
นี่คือหลัก ของพุทธะ ศาสนา
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ใช้ปัญญา มองให้เห็น ความเป็นจริง

๐ เข้าใจโลก ก็เห็นธรรม เมื่อนำคิด
ทำให้จิต นั้นสงบ และหยุดนิ่ง
เพราะได้รู้ ได้เห็น ความเป็นจริง
สรรพสิ่ง มันเป็น เช่นนั้นเอง…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๕ สิงหาคม ๒๕๖๔…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๒

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๒…

…เวรกรรมมีจริง ไม่ต้องรอชาติหน้าเห็นผลได้ในชาตินี้ เราทำกรรมอะไรไว้มันจะส่งผลให้ไม่ช้าก็เร็ว ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ซึ่งเราต้องเตรียมตัวเตรียมใจอย่าหวั่นไหวและตื่นตกใจ อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด ให้มันเป็นไปตามกรรมที่เราได้ทำมา

…ความวุ่นวายเราไม่ต้องออกไปแสวงหาเดี๋ยวมันก็จะมาหาเราเอง ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน เราไปถึงไหนมันก็จะตามเราไปถึงนั่น หน้าที่ของเรานั้นก็คือการเตรียมตัวเตรียมกายเตรียมใจ รับกับปัญหาที่มันจะมาทุกขณะ ทุกเวลา โดยการยึดหลักธรรมะเป็นเครื่องอยู่…

…ทุกชีวิต ไปตามลิขิตแห่งกรรม…

…ทุกชีวิต ต้องเป็นไป ตามบทบาท
ตามเชื้อชาติ ท้องถิ่น และภาษา
ไปตามบท กฎแห่งกรรม ที่ทำมา
ไปข้างหน้า ตามเวลา ที่หมุนไป

…มวลมนุษย์ มีกรรม ตัวกำหนด
ไปตามกฎ แห่งกรรม ที่ทำไว้
อดีตกรรม น้อมนำ ให้เป็นไป
และกรรมใหม่ เป็นปัจจัย ให้ได้เจอ

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๒”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๑

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๑…

…จิตสำนึกแห่งคุณธรรม…

… มนุษย์ทุกคนมีความคิดถูกหรือผิดต่างรู้อยู่แก่ใจ แต่ที่ยังกระทำลงไปในสิ่งผิดเป็นเพราะว่าขาดจิตสำนึกแห่งคุณธรรม ที่จะหักห้ามใจมิให้กระทำผิด

… จิตสำนึกต้องผ่านการฝึกฝน ฝึกนึกฝึกคิดปรับจิตให้เป็นกุศล ฝึกพูดในสิ่งที่เป็นมงคลแก่ตนเองและผู้อื่น ฝึกกระทำในสิ่งที่คิดและพูดที่เป็นความดี เพียรกระทำอย่างนี้อย่างสม่ำเสมอ จนเกิดเป็นความเคยชินและติดเป็นนิสัย

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๑๑”