รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๑

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๑…

…“ไปทะเลาะทุ่มเถียงกับเสือดีกว่าไปทะเลาะกับคนโง่ เพราะคนโง่ไม่มีเหตุผลหรือมีแต่เหตุผลของคนโง่”…
…คำของหลวงพ่อพุทธทาส…

๐ โลกธรรม นำมา ซึ่งสะสม
ค่านิยม สังคม แห่งยุคใหม่
เพื่อโอ้อวด แข่งขัน กันเรื่อยไป
หวังกำไร กอบโกย ไม่ระวัง

๐ ทั้งลาภยศ สรรเสริญ เพลินในสุข
ทำให้ทุกข์ ตามมา ในภายหลัง
เมื่อเสื่อมยศ เสื่อมลาภ ให้ล้มพัง
มีคนชัง ไม่สรรเสริญ ไม่เยินยอ

๐ กินกามเกียรติ กอบโกย เพราะโหยหา
ให้ได้มา ในสิ่ง ที่ร้องขอ
เพราะความที่ อยากได้ ไม่รู้พอ
จึงเกิดก่อ ความทุกข์ ไม่สุขใจ

๐ ความสำเร็จ ของชีวิต ที่คิดหา
คือทรัพย์สิน เงินตรา นั้นหาไม่
ความสำเร็จ ของชีวิต อยู่ที่ใจ
บอกว่าพอ เมื่อไหร่ ก็ใช่เลย

๐ เมื่อมุ่งหวัง มาเป็น สมณะ
เพื่อลดละ ทุกสิ่ง ไม่นิ่งเฉย
ทั้งอัตตา ตัวตน ที่คุ้นเคย
กิเลสเอย ตัณหาเอย ควรละวาง

๐ อยู่กันแบบ พอเพียง ก็เพียงพอ
การร้องขอ เกินไป ออกให้ห่าง
เดินตามธรรม มีธรรม เป็นแนวทาง
ตามแบบอย่าง พระอาจารย์ ท่านทำมา

๐ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นตัวอย่าง
ท่านได้สร้าง แบบไว้ ให้ศึกษา
ตามหลักธรรม ขององค์ พระสัมมา
ใช้ปัญญา มีสติ และตริตรอง

…” คุณ…คิดดี แล้วหรือ ที่กระทำ
มา…ถลำ ทำชั่ว ให้มัวหมอง
ทำ…เพื่อใคร โปรดคิด ด้วยจิตตรอง
อะไร…ถูก อะไรต้อง จงตรองดู “…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑ มิถุนายน ๒๕๖๕…

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๐

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๐…

… “ทำงานทุกชนิดให้จิตนั้นอยู่กับธรรม” คือพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างด้วยหลักธรรมมีสติระลึกรู้และความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดรู้จักแยกแยะถูกผิด ชั่วดี รู้จักข่มจิตข่มใจไม่คล้อยตามกิเลสความอยากทั้งหลายที่เป็นอกุศล มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปคุ้มครองจิตอยู่ทุกขณะ ทำหน้าที่ของตนไปตามบทบาทและหน้าที่ ให้เต็มกำลังความรู้ความสามารถของตนเอง ทำอยู่อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าท่านนั้นกำลังปฏิบัติธรรม เพราะการปฏิบัติธรรมนั้น คือการทำหน้าที่อย่างมีสติและสัมปชัญญะระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา มีเจตนาคือกุศลจิตในขณะกระทำไม่ก้าวล่วงศีลธรรมและประเพณีที่ดีงาม ทำตามหน้าที่และความรับผิดชอบของตน รู้จักเหตุและผลในการกระทำนั้น ๆ ก็ได้ชื่อว่าท่านเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เป็นผู้มีธรรมและอยู่กับธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๙๐”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๙

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๙…

…“อย่าไปหวั่นไหวกับกระแสโลกจนเกินไป คืออย่าไปยินดี ยินร้ายกับคำสรรเสริญและคำนินทา ความสุขหรือความทุกข์ และลาภยศทั้งหลายอย่าไปหวั่นไหวกับมัน เพราะว่าความหวั่นไหวนั้น มันจะทำให้เราขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเองเรียกว่าเป็นคนไม่แน่นอน ทำอะไรไม่แน่นอน จิตนั้นย่อมทุรนทุรายหวั่นไหวไปกับโลกธรรม นำมาซึ่งความทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเราวางใจให้อยู่เหนือโลกธรรมได้เมื่อไรใจของเรานั้นก็จะเป็นสุข”…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๙”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๘

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๘…

…การปฏิบัติธรรมนั้นท่านให้เป็นไปตามลำดับ เพื่อปรับธาตุ ปรับอินทรีย์ให้มีความพร้อม โดยเริ่มจากการให้ทานก่อน เพื่อปรับจิตใจ ให้มีความอ่อนโยน มีความเมตตาโอบอ้อมอารี มีความเสียสละละความเห็นแก่ตัว ควบคู่กับการรักษาศีล เพราะการรักษาศีลนั้นคือการเจริญสติ ควบคุมกายและจิตไม่ให้ผิดข้อวัตรปฏิบัติ มีสติควบคุมอยู่เพื่อให้ไม่ผิดศีล สิ่งที่ได้จากการรักษาศีล คือสติและองค์แห่งคุณธรรม คือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เพราะเรานั้นมีคุณธรรมข้อนี้ เราจึงไม่ล่วงละเมิดผิดศีลทั้งในที่ลับและในที่แจ้ง…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๘”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๗

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๗…

…ทุกสิ่งทุกอย่าง “มันเป็นเช่นนั้นเอง” ไม่ว่าเรื่องอะไร ถ้าเราพิจารณาเข้าหาพระไตรลักษณ์ มันก็ไม่หนักใจเพราะเราไม่เข้าไปยึดถือ มันก็เลยไม่เป็นทุกข์ ที่เราทุกข์ ก็เพราะเราเข้าไปยึดถือ การปฏิบัติธรรมคือการศึกษาฝึกฝน เพื่อให้หลุดพ้นจากการยึดถือ ฝึกจากสิ่งทำได้ง่ายไปสู่สิ่งที่ทำได้ยาก จากสิ่งที่หยาบไปสู่สิ่งที่ละเอียด เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญ สั่งสมประสพการณ์ไปเรื่อย ๆ ค่อยเป็นค่อยไป สร้างเหตุสร้างปัจจัย อย่าได้ลดละความพยายามในการกระทำความดี

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๗”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๖

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๖…

…“ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็น แล้วจึงปล่อย”

เป็นวิธีที่ใช้ในการสอนลูกศิษย์เสมอซึ่งกระทำโดยตลอด ไม่ว่าจะรุ่นไหนเน้นย้ำเรื่องการมีสติในการทำงานรู้จักคิด พิจารณา มองดูเนื้อของงานรู้จักวางแผน ประมาณการล่วงหน้ามองหาปัญหา ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้หาวิธีการป้องกันและแก้ไขในปัญหาสรุปผลทุกครั้งเมื่องานนั้นเสร็จสิ้นเพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป

…ซึ่งบางครั้งอาจจะมองว่าเข้มงวดมากไปใช้วาจา อารมณ์มากเกินไปสักนิดเพราะว่าเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกให้เกิดความจดจำและการฝังใจจำ

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๖”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๕

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๕…

…ตั้งแต่ออกพรรษาผ่านมาหกเดือนกว่ามีภารกิจมากมายต้องเดินทางไปทำหน้าที่ตามที่เขาได้นิมนต์เอาไว้ตลอดเพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาเหมือนดั่งคำที่เคยกล่าวไว้ว่า “ยามอยู่ให้เขาสบายใจยามจากไปให้เขาคิดถึง” ซึ่งสิ่งที่จะทำอย่างนั้นได้ก็ต้องอาศัยการประพฤติปฏิบัติตัวของเราให้มีคุณค่าต่อสังคมไม่ว่าจะไปอยู่ ณ ที่ใด จงเป็นผู้ให้อย่าไปเป็นผู้ร้องขอ และจงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานที่และบุคคลจงยอมสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อบุคคลรอบข้าง แล้วทุกอย่างจะกลับคืนมาหาตัวเราในภายหลัง…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๕”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๔

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๔…

…ในความเคลื่อนไหว ขอให้ใจสงบนิ่ง…

…ชีวิตคนเรานั้น มันไม่ได้สลับซับซ้อนอะไรมากมาย มันเป็นชีวิตที่เรียบง่ายถ้ารู้จักความพอดีและพอเพียง ยินดีในสิ่งควรเป็นและควรได้ เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองและเคารพในบทบาทและหน้าทีของผู้อื่น

…แต่สิ่งที่ทำให้ชีวิตนั้นสับสนวุ่นวายก็คือตัวกิเลสตัณหา ความทะยานอยากที่ไม่รู้จักพอ ทำให้เกิดการก้าวก่ายในบทบาทหน้าที่ของผู้อื่น ก้าวล่วงไปในสิ่งที่ควรมีและควรเป็นของตนเองล้ำไปในสิ่งที่ผู้อื่นนั้นควรจะได้รับ

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๔”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๓

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๓…

…มีกิจกรรมให้ทำอยู่ไม่ขาด ทั้งที่เป็นเรื่องงานทางพระพุทธศาสนาและงานจิตอาสาเพื่อสังคม ทุกอย่างที่ได้กระทำไปนั้น การเป็นฝึกฝนคนรุ่นใหม่ เป็นการสร้างพื้นฐานด้านความคิด เป็นการสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวม รู้จักการเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อคนอื่น รู้จักการใช้ชีวิตและการทำงานรวมหมู่กับคนหมู่มาก

…มันคือการสอนธรรมแด่ผู้ร่วมกิจกรรมสอนประสบการณ์ชีวิต คือการเปิดซึ่งโลกทัศน์และชีวทัศน์ เป็นการสั่งสมซึ่งประสบการณ์ชีวิต ซึ่งต้องก้าวเดินไปพร้อมกัน ทั้งโลกและธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๓”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๒

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๒…

…ช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้ สภาพดินฟ้าอากาศไม่เป็นใจ อากาศร้อนอบอ้าวมีลมร้อน จิตเกิดความกังวลและปฏิฆะต่อสภาพดินฟ้าอากาศ สติระลึกได้ทันเห็นการเกิดของอารมณ์ความรู้สึกเจาะลึกเห็นการเกิดของอารมณ์ปฏิฆะและปลิโพธนั้นพิจารณาธรรมตามสภาวะเกิดความรู้ ความเข้าใจในธรรม เข้าใจในสภาพของดินฟ้าอากาศว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๒”