รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๑

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๑…

…ขัดเกลากิเลสในจิตใจด้วยการเจริญภาวนา การภาวนาเป็นบุญอันยิ่งใหญ่สูงสุด เพราะทำให้จิตไม่ติด ไม่ข้องอะไร บุญนั้นเกิดที่ใจมันก็ได้บุญแล้ว กิเลสมีอยู่ในตัวเราทุกคน

…การรักษาศีล เจริญภาวนานั้นเพื่อต้องการชำระกิเลส ความชั่วความมัวหมองให้ออกจากจิตใจของเรา พระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาทั้งหลายนั้น ก็เพื่อให้นำมาประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้ชำระกาย วาจา ใจ ให้ถึงความบริสุทธิ์เท่านั้น…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๑”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๐

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๐…

…เมื่อก่อนนั้นจิตมันหยาบแข็งกระด้างเพราะอัตตาและมานะของเรานั้นยังไม่ถูกขัดเกลา จึงหนาแน่นไปด้วยกิเลสและตัณหา ปล่อยให้โทสะ โมหะเข้าครอบงำ พฤติกรรมที่แสดงออกมาจึงก้าวร้าวรุนแรง แต่เมื่อได้เข้ามาศึกษาปฏิบัติธรรมแล้ว ความรู้สึกนึกคิดจิตก็เปลี่ยนไป ทำให้เรารู้เห็นอะไร ๆ มากขึ้น รู้จักผิดชอบชั่วดี มีสติสัมปชัญญะในการดำรงชีวิต มีความคิดที่เป็นระบบมากขึ้น รู้จักการใคร่ครวญ ทบทวนพิจารณา หาซึ่งเหตุและผลของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รู้จักการข่มจิตข่มใจต่อส่งยั่วยวน ควบคุมความรู้สึกนึกคิดของเราได้ มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตจิตน้อมเข้าหากุศลธรรม ดำรงตนอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัย

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๐”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๙

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๙…

…อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นแม้นเพียงน้อยนิด แต่ถ้าเรานั้นขาดการพิจารณาเผลอสติเข้าไปปรุงแต่งคล้อยตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้น มันเหมือนกับการไปเพิ่มกำลังให้มัน เพลิดเพลินไปกับการปรุงแต่งเหล่านั้นที่เป็นอกุศลจิต มันก็ก่อให้เกิดการสร้างภพสร้างชาติใหม่ขึ้นมาไม่รู้จักจบสิ้น เพราะการปรุงแต่งทำให้มี ทำให้เป็นนั้น

…เราจึงควรมีสติ รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้นพิจารณาแยกแยะออกให้ได้ ถึงความเป็นกุศลจิตและความเป็นอกุศลจิต ให้เห็นคุณเห็นโทษ เห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของอารมณ์เหล่านั้น ตามดูตามรู้ให้เท่าทันในความคิดที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ด้วยการเจริญสติพิจารณา ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๙”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๘

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๘…

…สรุปสิ่งที่ผ่านมาทั้งในทางโลกและทางธรรม ได้เห็นความประมาทความผิดพลาดที่ผ่านมา ซึ่งบางครั้งในเรื่องราวที่เราคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่มีความสำคัญอะไร เรามองข้ามไปไม่ได้นำมาคิด ขาดการพิจารณานำมาซึ่งความประมาทในธรรมโดยมันสั่งสมมาที่ละเล็กที่ละน้อยจนกลายเป็นนิสัยและความเคยชินไปในที่สุด

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๘”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๗

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๗…

…การที่จะได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากญาติโยมได้นั้น มันต้องทำให้ดูอยู่ให้เขาเห็น วางตัวให้เป็น จึงจะได้รับความเชื่อถือ ความร่วมมือ ศรัทธาจากญาติโยม

…ได้กล่าวเตือนลูกศิษย์อยู่เสมอว่าถ้าไปเป็นเจ้าสำนักหรือสมภารที่ใดจงอย่าไปทะเลาะกับคนข้างวัดหรือข้างสำนัก จงหาวิธีการสร้างศรัทธาให้เขามาเป็นมิตรให้ได้ แล้วท่านจะอยู่สบาย คล้ายมีเกราะกำแพงคุ้มกันสิ่งนั้นผู้เป็นเจ้าสำนักหรือสมภารต้องกระทำให้ได้

…อย่าให้ความสำคัญกับญาติโยมที่อยู่ไกล จนลืมคนใกล้วัด ต้องปฏิบัติตัวให้เสมอกัน เพราะคนใกล้วัดนั้นเขาคือกำลังหลักของเรา อยู่ใกล้ชิดกับเราตลอดเวลา

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๗”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๖

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๖…

…ว่างเว้นจากการเขียนบทกวีมาหลายวัน เพราะมีภารกิจที่ต้องเดินทางและทำงานอยู่ตลอดจึงเขียนแต่บทความซึ่งแฝงไว้ด้วยหลักธรรม การเขียนบทกวีนั้นบางครั้งเราต้องใช้อารมณ์ศิลปินเพื่อที่จะสร้างคำหรือภาษาที่สวยงาม ซึ่งต้องเวลาและอารมณ์ เป็นหลักในการประพันธ์บทกวี เมื่อได้พักกายพักจิต ทำชีวิตให้สบาย ทั้งภายนอกและภายใน ใจก็พร้อมที่จะทำงาน…

…การผ่อนคลายทางจิต โดยการปลดปล่อยความรู้สึกและความคิดไปสู่ท้องฟ้า มองหมู่เมฆที่เคลื่อนไปมาตามกระแสลม มองหมู่ดาวบนฟ้าในยามราตรีร้อยเรียงเรื่องราวมาเล่าเป็นบทกวี เป็นการพักผ่อนที่มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๖”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๕

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๕…

…พิจารณาทำความรู้ความเข้าใจในทุกสรรพสิ่ง ในความเป็นจริงของชีวิตคิดพิจารณาทุกอย่างเข้าหาหลักธรรมมองให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ประสพพบเห็นนั้น “มันเป็นเช่นนั้นเอง”

…เมื่อเข้าใจทุกอย่างก็จบ มันมีคำตอบอยู่ในตัวของตัวมันเอง ไม่ต้องไปสงสัยไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องไปค้นหา เพราะว่าตถตา มันเป็นเช่นนั้นของมันเอง

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๕”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๔

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๔…

…ไม่เคยวุ่นวายใจไปกับคำนินทา ไม่เก็บคำนินทามาคิดให้รกสมอง จิตเราก็จะสบาย คำติฉินนินทานั้นคือยาชูกำลังที่จะยับยั้งไม่ให้เราหลงระเริงหยิ่งผยองลำพองใจ คำนินทานั้นคือสิ่งกระตุ้นเตือนตัวเราได้คิดพิจารณาตัวของเราเขาติดีกว่าเขาชม ทำให้เรารู้ตัวว่าเขาคิดอย่างไรกับเรา

…ซึ่งถ้าตัวเรานั้นเป็นจริงอย่างที่เขานั้นกล่าวนินทา เราก็จะได้รู้และปรับปรุงแก้ไข แล้วเราจะไปโกรธเขาทำไม ซึ่งถ้าเราไปโกรธตอบต่อเขา ก็เท่ากับเรานั้นกำลังแพ้ภัยกิเลสในใจของเรานั้นเอง…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๔”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๓

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๓…

…ปณิธานในการเป็นสมณะ…

…ใช่หวัง จะดังเด่น
จึงมาเป็น สมณะ
เพียงหวัง จะลดละ
ซึ่งมานะ และอัตตา

…เร่ร่อน และรอนแรม
ไปแต่งแต้ม แสวงหา
สัญจร ร่อนเร่มา
ผ่านร้อยป่า และภูดอย

…ลาภยศ และสรรเสริญ
ถ้าหลงเพลิน จิตเสื่อมถอย
พาใจให้ เลื่อนลอย
จิตเสื่อมถอย คุณธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๓”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๒

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๒…

…สรุปสิ่งที่ผ่านมาทั้งในทางโลกและทางธรรม ได้เห็นความประมาทความผิดพลาดที่ผ่านมา ซึ่งบางครั้งในเรื่องราวที่เราคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่มีความสำคัญอะไร เรามองข้ามไปไม่ได้นำมาคิด ขาดการพิจารณานำมาซึ่งความประมาทในธรรม โดยมันสั่งสมมาที่ละเล็กที่ละน้อยจนกลายเป็นนิสัยและความเคยชินไปในที่สุด

…เมื่อระลึกได้ มันก็ต้องใช้เวลาในการละลายพฤติกรรม จัดระเบียบตัวเองใหม่ สร้างความเคยชินตัวใหม่ขึ้นมา โดยการคิดใหม่ทำใหม่และต้องกระทำบ่อย ๆ จนกลายเป็นความเคยชิน เป็นนิสัยขึ้นมาใหม่ เพื่อละลายพฤติกรรมที่ผิดพลาดเก่า ๆ ที่เคยกระทำมา

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๗๒”