รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๓๑

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๓๑…

…บางครั้งการที่เรามองอะไรด้านเดียว โดยเอาความรู้สึกของเรามาเป็นตัวตัดสินใจนั้น ก็อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นมาได้ เราควรมองอะไร ๆ ให้รอบด้าน ใช้วิจารณญาณ เหตุและผล ในการตัดสินใจที่จะทำอะไรลงไป ทำให้คิดถึงคำสอนของสมเด็จโตขึ้นมา เรื่อง “กระจกหกด้าน” ที่สอนให้เราเปิดกว้างทางความคิดมองอะไรให้มันละเอียด มองให้เห็นทุกแง่มุมของความเป็นจริง…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๓๑”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๓๐

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๓๐…

…การปฏิบัติธรรมนั้นเราต้องกระทำไปตามแบบอย่างที่มี ที่ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนแนะนำมาก่อน จนมีความรู้ความเข้าใจ มีความชำนาญเสียก่อนจึงค่อยมาวิเคราะห์หาการปฏิบัติที่เหมาะสมกับตัวเรา การปฏิบัตินั้นต้องเป็นไปตามขั้นตอน ใจร้อนและข้ามขั้นตอนไม่ได้ ต้องค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป ทำให้เกิดความเคยชินรู้และเข้าใจชำนาญเสียก่อนในรูปแบบ แล้วจึงจะละรูปแบบนั้นได้ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอนและแบบแผนทั้งในทางโลกและทางธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๓๐”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๙

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๙…

…ผู้ชี้ขุมทรัพย์…

“อานนท์ ! พวกช่างหม้อย่อมไม่พยายามทำกะหม้อที่ยังเปียกยังดิบอยู่อย่างทะนุถนอม ฉันใด เราย่อมไม่พยายามทำกะพวกเธออย่างทะนุถนอมฉันนั้น อานนท์ ! เราจะขนาบแล้ว ขนาบอีกไม่มีหยุด อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีกไม่มีหยุด ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสารผู้นั้นจักทนอยู่ได้”
…พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ ๑๔/๒๔๕/๓๕๖…

…ใช้ชีวิตตามปกติในแต่ละวันที่ผ่านไปโดยมีสติและสัมปชัญญะควบคุมอยู่ ระลึกรู้ในสิ่งที่คิดและในกิจที่ทำ พยายามเตือนย้ำตนเองให้เกรงกลัวต่อบาปกรรม ในการคิดและทำกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น มองเห็นคุณ เห็นโทษเห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากสิ่งที่เราคิด และเรานั้นทำทุกครั้งในการคิดและก่อนจะพูดหรือลงมือทำสิ่งนั้น

…เพื่อจะไม่เป็นการสร้างเวรสร้างกรรมต่อผู้อื่นเขา กิเลสและกรรมเก่าของเรานั้นมันก็มีมากอยู่แล้ว ต้องแก้ไขและชดใช้กรรมเก่าอยู่ทุกวัน จึงไม่ควรสร้างกรรมอันเป็นอกุศลตัวใหม่ให้เกิดขึ้นมาอีกเพราะว่าเวลาของชีวิตในภพนี้ชาตินี้นั้นสั้นลงไปทุกขณะ จึงต้องรีบเร่งความเพียรในการชำระจิต ทำชีวิตที่เหลืออยู่นั้นให้มีคุณค่าทั้งในทางโลกและทางธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป

…ชีวิตแต่ละวันที่ผ่านไปเหมือนไม่ได้ปฏิบัติธรรม เพราะใช้ชีวิตและทำงานตามปกติ ไม่ได้นั่งสมาธิ ไม่ได้เดินจงกรมเจริญสติและสัมปชัญญะกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ดูความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นในจิตทุกขณะ แยกแยะความเป็นกุศลและอกุศล พยายามเตือนตนไม่ให้เผลอจิตไปในสิ่งที่เป็นอกุศล

…เมื่อเรามีสติและสัมปชัญญะอยู่กับกายอยู่กับจิต อยู่กับความคิด อยู่กับการกระทำนั้นแหละคือการปฏิบัติธรรม เหมือนดั่งคำของหลวงพ่อพุทธทาสที่ท่านกล่าวไว้ว่า

“การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” เพราะมีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกายและจิตอยู่ทุกขณะ…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๓๐ มีนาคม ๒๕๖๕…

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๘

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๘…

…การปฏิบัติธรรมนั้นเราต้องกระทำไปตามแบบอย่างที่มี ที่ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนแนะนำมาก่อน จนมีความรู้ความเข้าใจ มีความชำนาญเสียก่อนจึงค่อยมาวิเคราะห์หาการปฏิบัติที่เหมาะสมกับตัวเรา การปฏิบัตินั้นต้องเป็นไปตามขั้นตอน ใจร้อนและข้ามขั้นตอนไม่ได้ ต้องค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป ทำให้เกิดความเคยชินรู้และเข้าใจชำนาญเสียก่อนในรูปแบบ แล้วจึงจะละรูปแบบนั้นได้ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอนและแบบแผนทั้งในทางโลกและทางธรรม…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๘”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๗

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๗…

…หลากหลายบทบาทลีลาของชีวิตเมื่อยังข้องติดอยู่กับโลกใบนี้ จึงมีวิถีที่ต้องดำเนินไป เพื่อสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน สืบสายสัมพันธ์มิตรภาพให้ยืนยาว เป็นกัลยาณมิตรกันทั้งในทางโลกและทางธรรม

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๗”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๖

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๖…

…ความรู้สึกของอารมณ์ภายในที่ภาษาธรรมเรียกว่า เวทนา คือ สุข-ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ประกอบด้วยอามิสและไม่ประกอบด้วยอามิส คือความหวั่นไหวทางจิตต่อผัสสะ ขึ้นอยู่กับสภาวะของจิตในขณะนั้น ว่าจะมีสติสัมปชัญญะมากน้อยเพียงใด

“ภายนอกเคลื่อนไหว แต่ภายในสงบนิ่ง” ก็จะเห็นความเป็นจริงของสภาวะจิต ความวุ่นวายเรานั้นไม่ต้องออกไปแสวงหา เดี๋ยวมันก็มาหาเราเอง ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนมันก็ตามไปถึง หน้าที่ของเราคือการเตรียมตัว เตรียมใจ รับกับปัญหาที่มันจะมา ทุกเวลา ทุกขณะโดยยึดหลักธรรมเป็นเครื่องอยู่

…“ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ผิดเป็นครูรู้แล้วจำ ไม่กระทำผิดอีกเป็นครั้งที่สองท่องให้ขึ้นใจ แล้วนำไปปฏิบัติ เตือนตัวเตือนตนอยู่เสมอ ไม่ให้เผลอขาดสติ”….

๐ ท้องฟ้า เมื่อหลังฝน
ฟ้าเบื้องบน นั้นแจ่มใส
เมฆดำ นั้นหายไป
เปลี่ยนฟ้าใหม่ ให้งามตา

๐ เหมือนคน ที่ทนทุกข์
ได้พบสุข ที่เฝ้าหา
ทุกข์จาง ทุกข์ร้างลา
ความสุขมา ก็ดีใจ

๐ ใจดี ส่งกายเด่น
อย่างที่เห็น ความสดใส
ราศี ดีทันใด
เพราะว่าใจ นั้นมันดี

๐ ใจทุกข์ เพราะยึดถือ
สิ่งนั้นคือ ทุกข์วิถี
ทุกข์มาก เพราะอยากมี
ทุกข์อีกที เพราะเสียไป

๐ ตัวกู และของกู
ต้องเรียนรู้ และแก้ไข
เรียนรู้ อยู่ที่ใจ
เรียนรู้ไป ในตัวกู

๐ ตัวกู คืออัตตา
ต้องศึกษา และเรียนรู้
เข้าใจ ในตัวกู
เราก็อยู่ สุขสบาย…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๗ มีนาคม ๒๕๖๕…

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๕

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๕…

…“สรรพสิ่งล้วนเคลื่อนไหว ไปตามกฎแห่งธรรมชาติ” มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป ซึ่งเงื่อนไขของกาลเวลานั้นอาจจะแตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นจนบางครั้งเราแทบจะไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของความเสื่อมสลายที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ทุกขณะ จึงเข้าไปยึดติดและยึดถือในสิ่งเหล่านั้น อยากจะให้มันเป็นไปตามที่ใจของเรานั้นปรารถนาให้เป็นซึ่งถ้าสิ่งเหล่านั้น มันตอบสนองความต้องการของเราได้เราก็จะยินดีและเพลิดเพลินไปกับมัน

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๕”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๔

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๔…

… วันเวลาแห่งชีวิตลิขิตไปตามกฎแห่งกรรม สิ่งที่เราเคยได้กระทำมาในอดีตและปัจจุบัน ส่งผลมาสู่วันนี้ทั้งกรรมดีที่เป็นกุศลส่งผลให้พบสิ่งดีและกรรมที่เป็นอกุศลที่ส่งผลมาเป็นอุปสรรคปัญหาสิ่งที่ผ่านมาแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วเพราะเป็นอดีต ยืดอกยิ้มสู้ยอมรับในกฎแห่งกรรมที่ทำมา…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๔”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๓

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๓…

… อุเบกขา การวางใจเป็นกลางไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งที่กำลังพบเห็นและเป็นอยู่กับการทอดทิ้งธุระนั้น สภาพภายนอกอาจคล้ายกัน แต่แตกต่างกันตรงที่เกิดของสภาวะอารมณ์ เพราะการเข้าถึงซึ่งอุเบกขานั้นมันจะต้องผ่านกระบวนการของพรหมวิหาร ๔ คือเมตตา กรุณา มุทิตา แล้วจึงเข้าสู่ อุเบกขา ได้ทำในสิ่งเหล่านั้นครบถ้วนแล้ว ไม่หวังผลของการที่ได้กระทำ

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๓”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๒

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๒…

…บางครั้งการที่เรามองอะไรด้านเดียวโดยเอาความรู้สึกของเรามาเป็นตัวตัดสินใจนั้น ก็อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นมาได้ เราควรมองอะไร ๆ ให้รอบด้าน ใช้วิจารณญาณเหตุและผล ในการตัดสินใจที่จะทำอะไรลงไป ทำให้คิดถึงคำสอนของสมเด็จโตขึ้นมา เรื่อง “กระจกหกด้าน” ที่สอนให้เราเปิดกว้างทางความคิดมองอะไรให้มันละเอียด มองให้เห็นทุกแง่มุมของความเป็นจริง…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๒๒”