ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๐…

…ดั่งที่เคยได้กล่าวไว้เสมอว่าธรรมทั้งหลายนั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นของที่อยู่คู่กับธรรมชาติ คู่โลกกันมา เพียงแต่ถ่ายทอดธรรม การใช้ภาษานั้นอาจจะแตกต่างกันบ้างในสำนวนและลีลา แต่เนื้อหาและความหมายต่างก็ไปในทิศทางเดียวกัน คือการสร้างสรรค์ให้โลกใบนี้นั้นสงบและร่มเย็น ชี้ให้เห็นคุณและโทษของกิเลสทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความจางคลายในทิฏฐิมานะและอัตตาตัณหาและอุปทาน

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๙๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๙…

…”ไม่ควรใส่ใจคำพูดแสลงหูของผู้อื่น ไม่ควรแส่มองธุระที่เขาทำและยังไม่ทำควรตั้งใจตรวจตราธุระของตนนี่แหละทั้งที่ทำไปแล้วและยังไม่ได้ทำ”

“น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย กตานิ อกตานิ จ”…
…พุทธสุภาษิต ธรรมบท ๒๕/๑๙…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๘

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๘…

…วันเวลาที่ผ่านไป ดูเหมือนกับไม่ได้ทำอะไร เพราะมิได้แสดงออกทางกายแต่มันเป็นทำงานทางจิต ที่ไร้รูปแบบทางกาย จึงดูคล้ายเหมือนไม่ได้ทำอะไร

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๘”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๗…

…การปฏิบัติธรรมนั้นเปรียบได้กับการแสวงหา ยกตัวอย่างให้เห็นได้ดังนี้ว่า เหมือนเราแสวงหาของที่เรายังไม่มี เราอยากจะได้สิ่งของสิ่งนี้เราต้องมีความพยายามหาเหตุหาปัจจัย เพื่อที่จะได้มา สะสมเงินทองเพื่อให้พอที่จะซื้อหาหรือพยายามกระทำ สร้างมันขึ้นมาจนมันสำเร็จตามความปรารถนาได้สิ่งที่ต้องการมาและเราต้องเก็บรักษาสิ่งของสิ่งนั้น ทำความรู้จักกับมันใช้งานมันจนชำนาญแคล่วคล่องคุ้นเคยเก็บรักษามันไว้ในที่อันสมควร เมื่อถึงเวลาก็หยิบขึ้นมาใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องถืออวดอยู่ตลอดเวลา เก็บรักษาไว้ในที่อันเหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๗”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๖…

…ทุกวันเวลาที่ผ่านไปทุกขณะจิตนั้นมันเป็นการสั่งสมประสบการณ์ของชีวิตสอนให้เรานั้นได้คิดได้พิจารณาเพิ่มขึ้นขอเพียงให้เรานั้นมั่นคงในจุดยืนของการดำเนินชีวิต ที่คิดจะสร้างจะทำก่อกรรมดีสร้างมงคลให้กับชีวิต เพื่อจะได้พัฒนาทางจิตให้เจริญก้าวหน้าในทางธรรมการเจริญสตินั้นจึงเป็นงานที่ต้องกระทำอยู่ตลอดเวลา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๕…

…”ภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมเห็นตามความเป็นจริง”

…”สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต
ภิกฺขเว ภิกฺขุ ยถาภูตํ ปชานาติ”…
…พุทธสุภาษิต สมาธิสูตร ๑๙/๔๗๐…

…สมาธิในระบบของพระพุทธศาสนานั้นต้องเริ่มมาจากจิตที่เป็นกุศลและเป็นไปเพื่อความจางคลายของกิเลส ตัณหา อัตตาทิฐิมานะและอุปาทานทั้งหลาย

…ส่วนสมาธินอกระบบนั้นเป็นไปเพื่อการมีการได้ในสิ่งที่ตนปรารถนา เป็นการเพิ่มซึ่งกิเลสตัณหา ทิฐิมานะ อัตตาและอุปาทานให้มีมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายฝึกสมาธิเพื่ออยากจะมี อยากจะได้ไปในสมาธิเชิงพลังงาน ต้องการซึ่งการมีพลังจิต ต้องการแสดงซึ่งฤทธิ์กันเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนในเนื้อหาและความหมายของการปฏิบัติธรรมในระบบของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นที่มาของความขัดแย้งในข้อธรรมทั้งหลายดั่งที่เห็นและเป็นอยู่…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๕”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๔…

…เรื่องของจิต ไม่ต้องไปคิดให้วุ่นวายใจ ขอเพียงให้เรามีสติ ไม่ให้เผลอ จะทำกิจอันใดให้ใจมันรู้ทัน ไม่ใช่ทำไปด้วยความหลง ความไม่รู้ เพราะเมื่อขาดสติไม่รู้และหลง ทุกอย่างจึงเป็นการปรุงแต่ง…

…ชีวิต ของทุก คนนั้น
จัดสรร ตามเหตุ และผล
ชีวิต ของทุก ทุกคน
ไม่พ้น จากทุกข์ ทั่วกัน

…ความทุกข์ เกิดจาก ตัณหา
เพราะว่า ความอยาก ทั้งนั้น
อยากมี อยากได้ ให้มัน
ใจนั้น อยากให้ มันเป็น

…เป็นไป ตามใจ ที่คิด
ยึดติด ในความ คิดเห็น
อยากมี อยากได้ อยากเป็น
รู้เห็น เพียงแต่ ฝ่ายตน

…ไม่ยอม แบ่งปัน สละ
ลดละ ตามเหตุ และผล
ยึดถือ ประโยชน์ ส่วนตน
หวังผล กำไร ฝ่ายตัว

…เมื่อผล ไม่เป็น ดั่งคิด
มันผิด แตกต่าง กันทั่ว
โมหะ ความหลง เมามัว
ก่อตัว เป็นทุกข์ ในใจ

…ทุกข์เพราะ เข้าไป ยึดถือ
นั้นคือ สิ่งควร แก้ไข
ลดละ ปล่อยวาง ลงไป
ทำใจ ยอมรับ ความจริง

…ทุกอย่าง ย่อมมี เกิดดับ
สลับ กันไป ไม่นิ่ง
เรียนรู้ ยอมรับ ความจริง
ทุกสิ่ง มีเหตุ ปัจจัย

…อย่าไป โทษดิน โทษฟ้า
ควรหา แนวทาง แก้ไข
ทุกอย่าง ที่ดำ เนินไป
อยู่ใต้ กำหนด กฎกรรม

…มีเหตุ และผล รองรับ
เกิดดับ กันอยู่ ซ้ำซ้ำ
เกิดการ ย้ำคิด ย้ำทำ
คือกรรม ที่ส่ง ผลมา

…กรรมนั้น ย่อมเกิด จากเหตุ
สังเกต วิเคราะห์ ศึกษา
ให้เห็น ที่ไป ที่มา
ปัญหา แก้ไข ได้จริง…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๗ ตุลาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๓…

…ธรรมะนั้นมีอยู่ทุกที่และทุกเวลาเกิดขึ้นอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาย่อมน้อมเข้ามาสู่ตนเอง คือน้อมเข้ามาพิจารณาในตัวเอง เมื่อพิจารณามากเข้า ก็จะถึงซึ่งความเป็นปัจจัตตัง คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน ทำเองเห็นเองและรู้เองในสิ่งที่ทำ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๒…

…การปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ได้ทำให้เราฉลาดขึ้นกว่าคนอื่น แต่ทำให้เราได้เห็นความโง่ ความหลงผิดในอดีตของเราที่ผ่านมา ยิ่งปฏิบัติก็ทำให้เราได้เห็นในสิ่งที่เรานั้นยังไม่รู้ ในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจซึ่งที่ผ่านมานั้น เราอาจจะคิดว่าเรารู้ถูกต้องและเข้าใจหมดแล้ว ซึ่งมันไม่ใช่อย่างนั้นเลย เรายังไม่รู้จริง เรายังไม่เข้าใจในความจริง อย่างที่เราเคยคิด ยังมีอีกมากมายที่เรายังไม่รู้และไม่เข้าใจ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๑…

…”ภายนอกเคลื่อนไหว ภายในสงบนิ่ง” สงบนิ่งนั้นหมายถึงการไม่หวั่นไหวไปตามกระแสโลกทั้งหลาย ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งที่ประสพพบเห็น วางใจให้เป็นกลางมองทุกอย่างด้วยเหตุและผล ซึ่งอยู่บนหลักธรรม แล้วนำมาประยุกค์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านได้กล่าวสอนไว้ว่า “ให้ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง” คือว่างจากกิเลสตัณหาและอัตตา

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๘๑”