รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๘

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๘…

…การปฏิบัติธรรมนั้นท่านให้เป็นไปตามลำดับ เพื่อปรับธาตุ ปรับอินทรีย์ให้มีความพร้อม โดยเริ่มจากการให้ทานก่อน เพื่อปรับจิตใจ ให้มีความอ่อนโยน มีความเมตตาโอบอ้อมอารี มีความเสียสละละความเห็นแก่ตัว ควบคู่กับการรักษาศีล เพราะการรักษาศีลนั้นคือการเจริญสติ ควบคุมกายและจิตไม่ให้ผิดข้อวัตรปฏิบัติ มีสติควบคุมอยู่เพื่อให้ไม่ผิดศีล สิ่งที่ได้จากการรักษาศีล คือสติและองค์แห่งคุณธรรม คือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เพราะเรานั้นมีคุณธรรมข้อนี้ เราจึงไม่ล่วงละเมิดผิดศีลทั้งในที่ลับและในที่แจ้ง…

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๘”

ปรารภธรรมและคำกวีก่อนทำวัตรเย็น

…ปรารภธรรมและคำกวีก่อนทำวัตรเย็น…

…วันเวลาที่ผ่านไปในทุกขณะจิตนั้นมันเป็นการสั่งสมประสบการณ์ของชีวิต สอนให้เรานั้นได้คิดได้พิจารณาเพิ่มขึ้นขอให้เรานั้นมีศรัทธาที่มั่นคงในจุดยืนของการดำเนินชีวิต ที่คิดจะสร้างจะทำก่อกรรมดีสร้างมงคลให้กับชีวิต เพื่อจะได้พัฒนาทางจิตให้เจริญก้าวหน้าในทางธรรมการเจริญสติสัมปชัญญะนั้น จึงเป็นงานที่ต้องกระทำอยู่ตลอดเวลา…

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมและคำกวีก่อนทำวัตรเย็น”

สิ่งที่ควรคิดและกิจที่ควรทำ

…สิ่งที่ควรคิดและกิจที่ควรทำ…

“กิเลสย่อมพอกพูนแก่ผู้ที่ชอบเพ่งโทษของผู้อื่น ให้ความสนใจในการเพ่งโทษของผู้อื่นเป็นนิตย์บุคคลผู้ประพฤติดังนั้น ย่อมสิ้นอาสวะช้า”

“”ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ
อุชฺฌานสญฺญิโน อาสวา ตสฺส
วฑฺฒนฺ อารา โส อาสวกฺขยา”
… พุทธสุภาษิต ธรรมบท ๒๕/๔๑…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๑ เมษายน ๒๕๖๔…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘…

…ผู้ที่จะเป็นนักปฏิบัติธรรมนั้น ต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาทขาดสติ ที่เป็นสัมมาสติคือการระลึกรู้ในสิ่งที่ดี เพราะว่าความประมาทที่ขาดสัมมาสตินั้น จะทำให้นักปฏิบัติเห็นผิดไปจากความเป็นจริงคือมีสติ แต่เป็นมิจฉาสติ คือการระลึกรู้ในสิ่งที่ผิดที่ชั่ว ความไม่ประมาทนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้มีอยู่ ๔ ประการคือ…

๑. ไม่มีความอาฆาตพยาบาทใคร คือการที่ต้องทำให้มีจิตใจเป็นกุศล จิตใจที่ดีงามไม่น้อยใจตนเอง ไม่น้อยใจผู้อื่นไม่โกรธตนเอง ไม่โกรธผู้อื่น อยู่กับความคิด อยู่กับจิตที่เป็นกุศล

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๘”

รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๗

…รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๗…

…ทุกสิ่งทุกอย่าง “มันเป็นเช่นนั้นเอง” ไม่ว่าเรื่องอะไร ถ้าเราพิจารณาเข้าหาพระไตรลักษณ์ มันก็ไม่หนักใจเพราะเราไม่เข้าไปยึดถือ มันก็เลยไม่เป็นทุกข์ ที่เราทุกข์ ก็เพราะเราเข้าไปยึดถือ การปฏิบัติธรรมคือการศึกษาฝึกฝน เพื่อให้หลุดพ้นจากการยึดถือ ฝึกจากสิ่งทำได้ง่ายไปสู่สิ่งที่ทำได้ยาก จากสิ่งที่หยาบไปสู่สิ่งที่ละเอียด เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญ สั่งสมประสพการณ์ไปเรื่อย ๆ ค่อยเป็นค่อยไป สร้างเหตุสร้างปัจจัย อย่าได้ลดละความพยายามในการกระทำความดี

อ่านเพิ่มเติม “รำพึงธรรมตามรายทาง บทที่ ๘๗”

เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๗

…เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๗…

…กล่าวธรรมพร่ำบอกเสมอว่าไม่ใช่โชคชะตา หรือว่าฟ้าลิขิตไม่ใช่นิมิตของสวรรค์หรือพรหมนั้นท่านบันดาล แต่สิ่งที่ทุกชีวิตต้องประสพพบพาน ล้วนเกิดจากการกระทำ เพราะกรรมคือผู้กำหนดอนาคตที่จะต้องประสพ ล้วนเกิดจากกรรม ทุกชีวิตต่างดิ้นรนแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขแม้นจะต้องแลกด้วยทุกข์อย่างแสนสาหัส เพียงเพื่อสนองตอบความต้องการทะยานอยาก ซึ่งมีมากอย่างไม่มีที่สิ้นสุดซ่อนอยู่ในจิตใจของมนุษย์ ทุกชีวิตต้องทนทุกข์ทรมานเพราะว่าการแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งลาภ ยศและสรรเสริญเพลิดเพลินในกิน กาม เกียรติปรารถนาให้ชีวิตประสพความสำเร็จต่างคนต่างฝันไว้ไกลและอยากจะไปให้ถึง ซึ่งไม่มีวันจะสิ้นสุดถ้าจิตของมนุษย์ไม่รู้จักพอ

อ่านเพิ่มเติม “เรียงร้อยธรรมไปตามกาล บทที่ ๘๗”

ปรารภธรรมก่อนทำวัตรเช้า

…ปรารภธรรมก่อนทำวัตรเช้า…

…วันเวลาของชีวิตที่ผ่านไป ใช้ชีวิตตามปกติวิสัยที่เคยเป็นมา เหมือนกับว่าไม่ได้ทำอะไร ภายนอกนั้นเคลื่อนไหวไปตามปกติ ทำงาน พบปะพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนกับผู้มาเยี่ยมเยือนทั้งหลายเมื่อเขาลากลับไปทุกอย่างก็คืนสู่ความเป็นปกติ เพราะการปฏิบัตินั้นเป็นการทำที่จิต ไม่ใช่ที่กาย มีสติและสัมปชัญญะระลึกรู้อยู่ภายใน มีความรู้ตัวทั่วพร้อมในสิ่งที่คิดและกิจที่กำลังกระทำ ไม่ใช่การสร้างรูปแบบภายนอกขึ้นมา เพื่อให้ผู้อื่นรู้ว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติธรรม มันไม่ใช่การแสดงออกทางกาย

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมก่อนทำวัตรเช้า”

ปรารภธรรมในยามเย็นหลังเสร็จกิจ

…ปรารภธรรมในยามเย็นหลังเสร็จกิจ…

…อย่าไปหวั่นไหวกับกระแสโลกจนเกินไปคืออย่าไปยินดี ยินร้ายกับคำสรรเสริญและคำนินทา ความสุขหรือความทุกข์ และลาภยศทั้งหลายอย่าไปหวั่นไหวกับมัน เพราะว่าความหวั่นไหวนั้น มันจะทำให้เราขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเอง เรียกว่าเป็นคนไม่แน่นอน ทำอะไรไม่แน่นอน จิตนั้นย่อมทุรนทุรายหวั่นไหวไปกับโลกธรรม นำมาซึ่งความทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเราวางใจให้อยู่เหนือโลกธรรมได้เมื่อไร ใจของเรานั้นก็จะเป็นสุข…

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมในยามเย็นหลังเสร็จกิจ”

ปรารภธรรมและคำกวีเกี่ยวกับการทำงาน

…ปรารภธรรมและคำกวีเกี่ยวกับการทำงาน…

…บอกกล่าวกับทีมงานอยู่เสมอว่า
“คิดจะทำงานใหญ่ ใจต้องกว้าง” เพราะว่างานทุกอย่างจะสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วน ความมีน้ำใจต่อหมู่คณะจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต้องช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์จึงจะยืนยาวงานเขางานเรา ไปมาหาสู่ช่วยเหลือกันคิดจะเอาจะได้แต่ฝ่ายเดียวนั้น ทำงานใหญ่ไม่ได้…

๐ ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ
เพื่อให้ สมัคร สมาน
ร่วมแรง ร่วมใจ ทำงาน
ประสาน แรงกาย แรงใจ

อ่านเพิ่มเติม “ปรารภธรรมและคำกวีเกี่ยวกับการทำงาน”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗…

…ในการทำงานนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสติสัมปชัญญะและมีสมาธิในการทำงาน เพราะในการทำงานแต่ละอย่างนั้น ย่อมมีอุปสรรคและปัญหาอยู่ตลอดเวลา การที่เรามีสตินั้นจะช่วยให้เราเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ ทำให้สามารถที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้เสมอเพราะว่าเรามีสมาธิในการทำงานจึงสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ ไม่ตื่นตกใจหรืออารมณ์เสียเมื่อเจอปัญหา ทำให้สามารถที่จะแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗”