บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๕

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๕…

…บอกกล่าวแก่ลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุอยู่เสมอว่า ในการที่จะเผยแผ่ธรรมะนั้นสิ่งที่สำคัญ นั้นก็คือการทำอย่างไรที่จะให้เขาเข้ามาหาเรา ซึ่งต้องใช้หลักจิตวิทยามองหาความชอบพื้นฐานของแต่ละบุคคลนำเสนอในสิ่งที่เขามีความชอบอันประกอบด้วยกุศล ต้องสร้างความคุ้นเคยกัน เพื่อลดความกดดัน ความรู้สึกแปลกแยกแตกต่างระหว่างกันออกไป ไม่ไปยัดเหยียดธรรมให้เขาปฏิบัติ ในขณะที่เขานั้นยังไม่พร้อมน้อมนำธรรมที่เหมาะสมมานำเสนอแก่เขา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๕”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๔

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๔…

…คุณค่าของเวลาที่ผ่านมานั้นจัดสรรให้มีค่ามากที่สุด เท่าที่จะทำได้ไม่ปล่อยให้ผ่านเลยไปโดยไร้ซึ่งประโยชน์ทั้งในเรื่องทางโลกและในเรื่องทางธรรมตอกย้ำจิตสำนึกในบทบาทภาระและหน้าที่เพราะวันเวลาของชีวิตที่ได้ผ่านมานั้นมันคือกำไรของชีวิตแห่งการที่ยังมีลมหายใจอยู่

…ชีวิตก้าวข้ามความตายมาหลายครั้งในสมัยที่ยังไม่รู้จักคุณค่าของชีวิตเดินอยู่บนเส้นทางที่พลาดผิดห่างไกลจากธรรม เพลิดเพลินในการประกอบกรรมอันเป็นอกุศล โดยไม่มีความรู้สึกรักตัวและกลัวตาย ในสิ่งที่ทำ ชีวิตที่รอดมาได้จนถึงวันนี้ มันจึงเป็นกำไรของชีวิตเมื่อมีความรู้สึกสำนึกผิด ชีวิตที่เหลือก็ไม่มีอะไรที่น่ากลัว…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๐…

…สิ่งที่ควรกระทำนั้นต้อง ไม่เป็นภัยต่อชีวิตตนเอง ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อผู้อื่นไม่ฝ่าฝืนพระธรรมวินัยและกฎระเบียบของสังคม เป็นไปตามความเหมาะสมของ จังหวะเวลา โอกาส สถานที่ บุคคล อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล ปัจจัยองค์ประกอบทั้งหลาย เป็นไปโดยชอบ ประกอบด้วยกุศลเป็นมงคลแก่ชีวิต จากสิ่งที่คิดและสิ่งที่ทำ นั้นคือความ “เรียบง่ายไร้รูปแบบ แต่ไม่ไร้สาระ” เป็นกิจที่สมณะนั้นควรคิดควรทำในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาทางจิตไปสู่ความสงบเพื่อความจางคลายของอัตตา กิเลส ตัณหาและอุปาทานทั้งหลาย…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๒๐”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๙…

…”ความสำเร็จของชีวิต อยู่ที่จิตคิดว่าพอ” คือพอเพียงและพอใจในสิ่งที่มีและในสิ่งที่เป็น พึงพอใจในอัตภาพของคนเองชีวิตที่เหลือคือการทำหน้าที่ของตนไปจนสิ้นอายุขัย ความสุขความสบายใจก็จะเกิดขึ้นแก่เขาเหล่านั้น เพราะว่าใจมันบอกว่า “พอแล้ว” …

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๙”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๓

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๓…

…เมื่อใจนั้นยอมรับซึ่งความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลายว่าเรานั้นเป็นผู้กระทำ สิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นผลแห่งวิบากกรรมที่เรานั้น ได้เคยกระทำมา ไม่ไปโทษดินโทษฟ้าหาผู้รับผิดมาแทนเรา ใจนั้นก็จะเบาเพราะได้วางจากกายึดถือทั้งหลาย ความทุกข์ที่มีนั้นก็จะคลาย และเมื่อใจสบาย ความคิดนั้นก็จะโปร่งโล่งเบาเพราะว่าเข้าใจในปัญหาอุปสรรคทั้งหลายที่เกิดขึ้นและเมื่อทำใจยอมรับได้ซึ่งความเป็นจริง อุปสรรคปัญหาในทุกสิ่งนั้นย่อมจะมีหนทางที่จะแก้ไขได้อยู่ที่ว่าเรานั้นทำใจได้แล้วหรือยัง…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๔

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๔…

…“เมื่อบุคคลไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นและอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป”

“อปฺปมตฺตสฺส อนุปฺปนฺนา เจว
กุสลา ธมฺมา อุปฺปชฺชนฺติ อุปฺปนฺนา
จ อกุสลา ธมฺมา ปริหายนฺติ”
…พุทธสุภาษิต เอกนิบาต ๒๐/๑๑…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๙…

“เรียบง่าย ไร้รูปแบบ แต่ไม่ไร้สาระ”

…บางครั้งจึงเกิดปัญหาแก่ลูกศิษย์ผู้ที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ แล้วเอาไปกระทำตาม คืออยากจะทำอะไรตามที่ใจของตนปรารถนา แล้วบอกว่าเป็นการไม่ยึดติดในรูปแบบซึ่งมันเป็นความเห็นและการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เพราะสิ่งนั้นเกิดมาจากความขี้เกียจ ความมักง่ายไม่ได้เกิดจากความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่เป็นไปเพื่อสนองตัณหา ความอยากกระทำของตนเอง สิ่งนั้นมันไม่ใช่การปล่อยวางแต่มันเป็นการทอดทิ้งธุระ คือการละเลยไม่ทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มิชอบเพราะไม่ประกอบด้วยกุศลจิตเป็นพื้นฐานในการคิดและการกระทำ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๑๙”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๘…

…หลักธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้นจัดเรียงกันอย่างเป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่ไม่มีการขัดแย้งกัน สงเคราะห์อนุเคราะห์เกื้อกูลรองรับซึ่งกันและกัน เราไม่อาจจะไปปรับหลักทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ให้มาตรงกับความคิดเห็นของเรานั้นได้แต่เราสามารถที่จะย้ายจุดยืนของเรานั้นให้ไปตรงกับหลักที่วางไว้ตั้งไว้ได้

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๑๘”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๒

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๒…

…จิตระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตของเช้าวันหนึ่งบนดอยสูงกลางป่าใหญ่ สายฝนได้โปรยปรายลงมาในยามเช้าฉันเฝ้ามองดูหยดน้ำที่ตกจากหลังคาหยดแล้วหยดเล่าที่ตกมาไม่ขาดสาย เพ่งมองจนเวลาผ่านล่วงไปเนิ่นนาน สภาวธรรมได้เกิดขึ้นในจิตสังเวชในชีวิตที่ล้วนแล้วแต่ทุกข์ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้และแน่นอนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตลอดเวลา ไม่สามารถที่จะไปยึดมั่นถือมั่นได้เลย

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๕๒”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๓

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๓…

…สร้างวัดสร้างวัตถุนั้นสร้างได้ง่ายแต่การสร้างคนที่จะมาดูแลรักษานั้นสร้างได้ยาก ในร้อยคนจะหาสักคนก็นับว่ายาก เพราะสิ่งที่ขาดหายไปนั้นคือการเป็นผู้รู้จักเสียสละและมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม เป็นผู้มีความขยัน อดทน ซึ่งมันต้องมีพื้นฐานที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เป็นเด็กดั่งคำโบราณที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ …

…ในอ้อมกอดของขุนเขาใต้ร่มเงาหมู่มวลพฤกษาท่ามกลางสายลมที่พัดโชยมาบนจุดหนึ่งของกาลเวลาได้ถามตัวเองอยู่เสมอว่า… แสวงหาให้ได้มาซึ่งสิ่งใดทบทวนในสิ่งที่ได้ผ่านไปว่าความมุ่งหวังที่ตั้งใจไว้นั้นก้าวไกลถึงไหนแล้ว…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๗๓”