ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๑

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๑…

… วันเวลาแห่งชีวิตลิขิตไปตามกฎแห่งกรรมสิ่งที่เราเคยได้กระทำมาในอดีตและปัจจุบันส่งผลมาสู่วันนี้ทั้งกรรมดีที่เป็นกุศลส่งผลให้พบสิ่งดีและกรรมที่เป็นอกุศลที่ส่งผลมาเป็นอุปสรรคปัญหา สิ่งที่ผ่านมาแก้ไขอะไรไม่ได้แล้วเพราะมันเป็นอดีตจงยืดอกยิ้มสู้ยอมรับในกฎแห่งกรรม…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๔๑”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๑…

…ถ้าหากเราทำงานเพื่อหวังผลของงานเราจะมีความรู้สึกว่า มันหนัก มันเหนื่อยมันมีความวิตกกังวลใจ เพราะว่าใจของเรานั้นมันเข้าไปยึดถือ มันจึงเป็นทุกข์

…แต่ในทางกลับกัน หากเรานั้นทำงานเพื่อเป็นการปฏิบัติธรรม เพื่อทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ โดยไม่คาดหวังผลผลนั้นจะออกมาอย่างไร เรายอมรับในผลที่ออกมา ใจเราก็จะไม่ทุกข์ ไม่กังวลมีแต่ความปีติสุขจากการที่ได้ทำ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๑”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๖

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๖…

…ทบทวนธรรมคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์…

๐ คติธรรมคำสอนของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ๐
…การตำหนิติเตียนผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วย การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรองเป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตนงดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย…

…ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงควรเห็นคุณค่าของผู้อื่น ผู้มีปัญญาซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความพากเพียรแยกกิเลสให้หมดไป จะไม่เกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน ใครผิดถูกชั่วดีก็ตัวเขาใจของเราเพียรระวังตั้งถนอมอย่าให้อกุศลวนมาตอมควรถึงพร้อมบุญกุศล ผลสบาย…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๖”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๘

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๘…

…เรื่องศีลข้อวัตรและพระวินัยนั้นเป็นไปเพื่อการเจริญสติและสัมปชัญญะ โดยมีหิริและโอตตัปปะซึ่งเป็นองค์แห่งคุณธรรมนั้นควบคุมคุ้มครองอยู่เพราะการที่เราจะทรงไว้ซึ่งศีลและวินัยนั้นได้ เราจะต้องมีสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกขณะจิตระลึกรู้ในทางกายและทางจิตในสิ่งที่คิดและในกิจที่ทำ

…การที่เราไม่ก้าวล่วงล้ำพระธรรมพระวินัย ศีลและข้อวัตรทั้งหลายนั้นเพราะเรามีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ต่ออกุศลกรรม การล่วงละเมิดทั้งหลาย ทำให้การรักษาศีลนั้น จึงเป็นการเจริญสติและสัมปชัญญะและเพิ่มกำลังขององค์แห่งคุณธรรมอยู่ทุกขณะจิตตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในหลักของการปฏิบัติเรื่องไตรสิกขาอันได้แก่ “ศีล สมาธิ ปัญญา” แต่เรามักกลับทำลัดขั้นตอนเพราะใจร้อน อยากจะเห็นผลของความสำเร็จนั้นโดยเร็วไวจึงไม่ค่อยจะใส่ใจในเรื่องของศีลไปเน้นหนักเรื่องจิตเรื่องการภาวนาให้เกิดสมาธิมากเกินไป จึงทำให้จิตสำนึกแห่งคุณธรรมนั้น มีกำลังไม่เพียงพอที่จะเข้าไปต่อสู้กับกิเลสตัณหาทั้งหลายได้

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๘”

ใคร่ครวญธรรมไปตนมกาล บทที่ ๔๐

…ใคร่ครวญธรรมไปตนมกาล บทที่ ๔๐…

…รำพึงธรรมคำกวี ที่ริมหน้าต่าง…

…สายลมที่พัดผ่าน
หนาวสะท้านทั่วทั้งกาย
สายลมสื่อความหมาย
บอกให้รู้ฤดูกาล

…ยามเช้าที่หนาวเหน็บ
จึงขอเก็บมาเล่าขาน
เรื่องราวของวันวาน
เล่าให้รู้สู่กันฟัง

…ห่างหายและเหินห่าง
เพราะไม่ว่างมีเบื้องหลัง
ภาระที่รุงรัง
ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม

…งานหลวงมิให้ขาด
และงานราษฎร์ก็ไม่หลวม
เร่งสร้างเพื่อส่วนรวม
จารึกไว้ในแผ่นดิน

…ศาลาโบสถ์วิหาร
นั้นเป็นงานในเชิงศิลป์
ผู้คนได้ยลยิน
สืบสานต่อเจตนา

…บูชาคุณพระพุทธ
สิ่งสูงสุดศาสนา
บูชาพระธัมมา
ซึ่งคำสอนสัจธรรม

…บูชาซึ่งพระสงฆ์
ที่ดำรงคุณค่าล้ำ
ตัวอย่างที่ก้าวนำ
ปฏิบัติกันสืบมา

…งานนอกคือก่อสร้าง
ทุกสิ่งอย่างต้องเสาะหา
งานในภาวนา
สำรวมจิตให้มั่นคง

…ไม่ว่างภารกิจ
แต่ดวงจิตไม่ลืมหลง
ยึดมั่นและดำรง
ภายในว่างจากอัตตา

…ทำงานทุกชนิด
เจริญจิตภาวนา
รู้กาลรู้เวลา
ว่ากระทำเพื่อสิ่งใด

…ขอบคุณสายลมหนาว
ให้ตื่นเช้ารับวันใหม่
สายลมอาจเปลี่ยนไป
แต่ดวงจิตไม่เปลี่ยนแปลง

…ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ทั่วทุกถิ่นและหนแห่ง
ทำไปตามเรี่ยวแรง
ความสามารถเท่าที่มี

…สืบต่อศาสนา
สืบรักษาซึ่งวิถี
สืบต่อสิ่งที่ดี
คือพระธรรมองค์สัมมา

…ละเว้นสิ่งมิชอบ
ไม่ประกอบซึ่งมิจฉา
มรรคแปดที่มีมา
ทางสายเอกให้เดินตาม

…เป็นทางมัชฌิมา
มีคุณค่าอย่ามองข้าม
ไม่เกินพยายาม
ปฏิบัติตามแนวทาง

…ธรรมะในยามเช้า
จากลมหนาวริมหน้าต่าง
ฟ้าเริ่มจะรางราง
เช้าวันใหม่ใกล้จะมา

…เช้าใหม่ชีวิตใหม่
ดำเนินไปให้มีค่า
ตามธรรมองค์สัมมา
ในทางโลกและทางธรรม

…ธรรมะอยู่คู่โลก
ลบรอยโศกและรอยช้ำ
เพียงเรานั้นน้อมนำ
ปฏิบัติและเดินตาม

…ฝากไว้เป็นข้อคิด
แต่มวลมิตรทุกผู้นาม
ฝึกใจให้งดงาม
เป็นพุทธะ”ปัจจัตตัง”…

….(ปัจจัตตังคือการรู้ได้เฉพาะตน)…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๕…

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๐….

“ความเบื่อกับความอยากเป็นของคู่กัน” เมื่อความอยากเกิดขึ้นจิตก็ดิ้นรนขวนขวาย หาเหตุและปัจจัยมาสนองตอบความอยาก ถ้าสนองตอบตัณหาความอยากได้จิตก็ยินดี ถ้าไม่ได้ตามที่ปรารถนา จิตมันก็เกิดปฏิฆะ และเมื่อเสพในความอยากนั้นจนเต็มที่แล้ว จิตมันก็จะเบื่อในอารมณ์นั้น…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๔๐”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๕

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๕…

…อบรมตนเองให้รู้จักข้อวัตรปฏิบัติรู้งาน รู้กาล ว่าควรทำสิ่งใด เพื่อให้เหมาะสม กับเวลา โอกาส สถานที่ รู้หน้าที่และบทบาทของตนเองรู้จักผิดชอบชั่วดี อะไรผิดเราก็จะต้องพยายามลดละแก้ไขไม่ทำตามความคิดฝ่ายต่ำของตัวเราเอง อะไรที่ดีแล้วถูกต้องแล้วก็พยายามขวนขวายกระทำต่อไปให้มากยิ่งขึ้น…

… มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
หมุนสลับ กันไป ทุกแห่งหน
เพราะว่ายัง เวียนว่าย ในวังวน
ยังไม่พ้น จากวัฏฏะ สังขารา

… เก่าดับไป สิ่งใหม่ ก็แทนที่
เป็นอย่างนี้ มานาน กันหนักหนา
เพราะโลกนี้ ล้วนแล้ว แต่มายา
จึงกลับมา เวียนว่าย ไม่หมดกรรม

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๕”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๗

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๗…

…พิจารณาทำความรู้ความเข้าใจในทุกสรรพสิ่ง ในความเป็นจริงของชีวิต คิดทุกอย่างปรัลเข้าหาหลักธรรม ให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ประสพพบเห็นนั้น ว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง เมื่อเข้าใจทุกอย่างก็จบ เพราะมันมีคำตอบอยู่ในตัวของมันเอง ไม่ต้องไปสงสัยไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องไปค้นหาเพราะว่า… ตถตา มันเป็นเช่นนั้นของมันเอง

…พยายามนึกคิดถึงสิ่งที่เป็นกุศลฝึกตนด้วยการเจริญสติ ตั้งอยู่ในพรหมวิหาร ๔ อันมี เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขาเป็นหลักที่พักจิตปรับความคิดให้มองโลกในแง่ดีพิจารณาให้เห็นถึงคุณ ถึงโทษถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ในทุกๆสิ่ง เห็นความเป็นจริงของกฎแห่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นกฎของพระไตรลักษณ์ นั้นคือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา การเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๗”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๙

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๙…

…”เสียหนึ่ง อย่าเสียสอง
เสียของ อย่าเสียใจ
เสียแล้ว ให้เสียไป
ใจอย่าเสีย”…

…เป็นคำสอนของหลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ ประธานสงฆ์วัดถ้ำเสือซึ่งท่านได้กล่าวเตือนสติบรรดาศิษย์ทั้งหลาย ให้นำไปพิจารณาปฏิบัติตามแนวของสติปัฏฐาน ๔ ในเรื่องของจิต คือการมีสติพิจารณาความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติเมื่อมีสิ่งมากระทบแล้วจิตเข้าไปปรุงแต่งตาม

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๙”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๔

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๔…

…ไม่ได้เป็นศิลปินนักเขียนหรือนักกวี เป็นเพียงคนจดบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามจังหวะ เวลา โอกาสของสภาวะจิตจดบันทึกความคิดไว้เป็นตัวอักษรเพื่อบันทึกเป็นความทรงจำย้ำเตือนตน…

…แสงธรรมคือแสงทอง….

…แสงทอง คือแสงธรรม
ที่ชี้นำ สู่เส้นทาง
ส่องโลก ให้สว่าง
ให้ได้เห็น ความเป็นจริง

…ทางโลก นั้นมืดมิด
เพราะว่าจิต ไม่หยุดนิ่ง
วุ่นวาย เพราะหลายสิ่ง
โลกธรรม ชักนำไป

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๔”