ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๙…

…การทำงานทุกอย่างเป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว เพราะว่าการปฏิบัติธรรมนั้นคือการเจริญกุศลจิตเจริญสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกขณะจิต มีความระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลาทั้งในการคิดและการกระทำซึ่งคนทุกคนนั้นล้วนแล้วแต่มีความคิด มีสติ แต่สิ่งที่ขาดไปคือกุศลจิต ซึ่งเป็นคุณธรรมคุ้มครองจิตไม่ให้คิดไปในทางที่ผิด รู้จักหักห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล รู้จักวางตนอยู่ในสัมมาทิฏฐิซึ่งสิ่งที่ขาดหายไปนั้นเกิดจากพื้นฐานของคุณธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละคน…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๙”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๖

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๖…

…คนเรานั้นต้องมีความหวัง มีเป้าหมายของชีวิต เราต้องหวังให้ไกลและเราต้องไปให้ถึง แม้ว่าหนทางนั้นยังอีกยาวไกล เพราะว่าความสำเร็จนั้นมิได้อยู่ที่จุดเริ่มต้นความผิดพลาดความล้มเหลว ความสูญเสีย มันมิใช่ข้อยุติ สิ่งเหล่านั้นล้วนแล้ว ล้วนนำมาซึ่งประสบการณ์ของชีวิต เป็นบทเรียนของชีวิต ที่จะทำให้เราเข้มแข็งและกล้าแกร่งยิ่งขึ้น

…ขอเพียงให้เรายึดมั่นในอุดมคติของเราอย่าได้หวั่นไหวและท้อถอยเพราะหนทางที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จนั้น มันต้องฟันฝ่าเผชิญต่ออุปสรรคและปัญหาอยู่ตลอดเวลาอุปสรรคและปัญหาเหล่านั้นคือบทเรียน บททดสอบกำลังสติปัญญาและคุณธรรมของเรา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๖”

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๘

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๘…

…วันเวลาแห่งชีวิตของทุกคนนั้นสั้นลงทุกขณะทุกชีวิตกำลังเดินไปสู่ความตาย จะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของแต่ละคนที่ได้ทำมา ซึ่งแตกต่างกันแต่ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วนั้น ทุกคนก็ไม่อาจจะหนีพ้นความตายไปได้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนั้นมันสั้นลงในทุกวินาทีที่ผ่านเลยไปจงใช้เวลาที่เหลืออยู่นั้นให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมให้มากที่สุดเท่าที่เรานั้นจะทำได้อย่าได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเปล่าโดยไร้สาระ ทบทวนใคร่ครวญในสิ่งที่ผ่านมา ว่าเรานั้นได้สร้างได้ทำอะไรมาบ้างแล้ว เรามีความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราได้สร้างได้ทำมาแล้วหรือไม่ ชีวิตนี้มีความทรงจำที่ดีเก็บไว้แล้วหรือยัง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๘”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๓

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๓…

…การปรุงแต่งในปุญญาภิสังขารบางครั้งก็เป็นทุกข์ได้ เพราะว่าเกินความพอดีทำให้เกิดความฟุ้งซ่านได้ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดีและความเหมาะสม ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้เป็นทุกข์เป็นโทษได้เพราะว่าเกินกำลัง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๘

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๘…

“บทสรุปมิได้อยู่ที่ความคิดหรือคำพูด แต่พิสูจน์ด้วยการกระทำ” เพราะเพียงแต่คิดและพูดนั้น มันยังไม่เห็นผลที่เป็นรูปธรรม เราจึงต้องนำความคิดคำพูดนั้นมาปฏิบัติ หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนานั้นเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติ จึงจะเห็นผลเพราะว่ามันเป็น “ปัตจัตตัง” และก่อนที่เราจะหวังในคุณธรรมที่ยิ่งใหญ่นั้น ท่านจงถามตัวท่านเองเสียก่อนว่า สติสัมปชัญญะของเรานั้น มีกำลังเพียงพอแล้วหรือยังมีสติเต็มรอบแล้วหรือยัง ไม่มีใครรู้ซึ้งเท่าหนึ่งจิต ขอเพียงเราคิดและพิจารณา…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๘”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๕

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๕…

…ในความเคลื่อนไหว ขอให้ใจสงบนิ่ง…

…สรรพสิ่ง เคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง
คือความจริง ที่เห็น และเป็นอยู่
ใช้สติ ใคร่ครวญ ทบทวนดู
ก็จะรู้ และเข้าใจ ในหลักธรรม

…มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ
เปลี่ยนสลับ กันไป เหมือนเช้า-ค่ำ
มีสีขาว ก็ย่อมมี ทั้งสีดำ
เพื่อเตือนย้ำ ความแตกต่าง สองอย่างกัน

…และเมื่อเรา วางใจ ไม่ยึดถือ
สิ่งนั้นคือ ของเรา เข้าถือมั่น
เมื่อใจว่าง ก็วางได้ โดยเร็วพลัน
สิ่งสำคัญ คือใจ เป็นประธาน

… เริ่มที่ใจ ที่จิต ต้องคิดก่อน
โดยการย้อน มองสิ่ง ที่พ้นผ่าน
เอาเป็นครู เรียนรู้ ประสพการ
นั่นคืองาน ของจิต ที่คิดทำ

…การทำดี ต้องเริ่มที่ การฝึกคิด
ฝึกทำจิต คิดดี หลายทีซ้ำ
คิดอะไร ก็ให้ดี มาชี้นำ
คือฝึกทำ ฝึกจิต ให้คิดเป็น

…คิดเพื่อหา เหตุผล ต้นความคิด
ต้องฝึกจิต ให้รู้ ดูให้เห็น
ทำประจำ จากเช้า จนถึงเย็น
ไม่ว่างเว้น ฝึกทำ จนชำนาญ

…ให้ใจเรา นั้นอยู่ กับกุศล
เป็นมงคล ชีวิต จิตอาจหาญ
ทำสิ่งใด ก็รู้เท่า ทันเหตุการณ์
นี่คืองาน ฝึกสติ ให้รู้ทัน

… ระลึกรู้ ให้เห็น ความเป็นอยู่
โดยตามดู ความคิด จิตเรานั้น
แยกถูกผิด ชั่วดี ออกจากกัน
ให้ใจนั้น มีสติ อยู่คุ้มครอง

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔…

ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๗

…ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๗…

…ความบริสุทธิ์ของจิตอยู่ที่ไหนอะไรที่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์สภาวะนั้นมันเป็นอย่างไร ได้แต่ถามตัวเอง เคยได้ยินได้ฟัง ได้อ่านได้รู้ ก็เพียงที่เขาเล่ามาหรือในตำราที่ได้อ่าน มันเป็นเพียงสัญญาคือการจำได้หมายรู้ที่บันทึกไว้ในสมองเท่านั้น เพียงท่องได้จำได้ พูดได้ เหมือนว่าจะเข้าใจแต่มันยังไม่ใช่ เพราะมันเป็นเพียงสัญญา ซึ่งเป็นปริยัติ ตามตัวอักษร ที่เราตีความขยายความ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมไปตามกาล บทที่ ๓๗”

บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๒

…บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๒…

…เก็บมา ใคร่ครวญ ขบคิด
ตั้งจิต สนใจ ใฝ่หา
เรียนรู้ กับโลก มายา
ค้นหา ให้เห็น ตัวตน

…ค้นหา ให้เห็น พื้นฐาน
คือการ เรียนรู้ เบื้องต้น
รู้จิต รู้ใจ ของคน
เริ่มต้น ที่ตัว ของเรา

…รู้กาย รู้จิต ของตัว
รู้ทั่ว รู้พร้อม ไม่เขลา
ตามดู รู้เห็น จิตเรา
ขัดเกลา ฝึกจิต คิดดี

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกธรรมย้ำเตือนจิต บทที่ ๗๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๗…

๐ จงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ

..อนุวิจฺจการํ กโรหิ …
…พุทธสุภาษิต อุปาลีวาทสูตร ๑๓/๖๒…

…วันเวลาที่ผ่านไปนั้น ทำงานไปตามบทบาทและหน้าที่ ตาม จังหวะ เวลาและ โอกาสที่พึงมี ทำหน้าที่ของเรานั้นให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยการมีสติและสัมปชัญญะระลึกรู้ในสิ่งที่คิดและกิจที่ทำ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๓๗”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๔

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๔…

…เป็นสิ่งทุกคนไม่คาดคิด ที่เห็นเราในเพศบรรพชิตในวันนี้ เพราะจากอดีตที่ผู้คนเคยสัมผัสมา เคยเป็นคนที่ไม่มีศาสนาเป็นขี้เหล้า ขี้ยา อันธพาล เป็นพวกบ้าอุดมการณ์หัวเอียงซ้าย ถูกมองว่าเป็นคนโหดร้ายหัวรุนแรง ไม่เคยเชื่อในเรื่องบาปกรรม

…ในวันที่ตัดสินใจอำลาวงการไปนั้นก็ไม่ได้บอกให้ใครทราบ หายออกจากที่พักในกรุงเทพฯทิ้งน้องๆไปอย่างไร้ร่องรอย เก็บตัวปฏิบัติอยู่ในป่าเขาไม่ติดต่อกับมิตรสหายเป็นเวลาเกือบสามปี จนมีวันหนึ่งน้อง ๆ ที่พยายามตามหาได้ไปพบ อาศัยปักกรดอยู่ในถ้ำกำลังนั่งเรียงกระดูกที่ขุดขึ้นมาจากป่าช้าอยู่ น้อง ๆ คิดว่าเราเพี้ยนไปแล้วซึ่งช่วงนั้นเรากำลังศึกษาเรื่อง “กายคตากัมมัฏฐานและเรื่องอสุภกัมมัฏฐาน” การพิจารณาร่างกายและความไม่สวยงามทั้งหลาย จึงจำเป็นต้องใช้โครงกระดูกของซากศพคนจริง ๆ มาพิจารณา คนที่ไม่เข้าก็เลยว่าเป็นบ้าเพี้ยนไปแล้ว ซึ่งหลังจากวันที่น้อง ๆ ได้ตามตัวพบแล้วนั้น ก็ได้ออกธุดงค์เข้าป่าไปเก็บตัวอยู่ในหุบเขาเป็นเวลาหนึ่งปีเต็มไม่ได้ติดต่อกับใครอีกเลย…

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๙๔”