บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๐

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๐…

” คนนั่งนิ่งเขาก็นินทา คนพูดมากเขาก็นินทา “
” นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสินํ นินฺทนฺติ พหุภาสินํ “
…พุทธสุภาษิต ธรรมบท ๒๕/๓๘…

…ชีวิตนี้ยังมีหนทางไป…

๐ ฟ้าครึ้มยามฝนพรำ
เมฆหมอกดำปกคลุมฟ้า
ม่านเมฆหมอกมายา
ปกคลุมฟ้าให้มืดมน

๐ เปรียบเป็นเช่นชีวิต
เมื่อความคิดเริ่มสับสน
จิตใจนั้นกังวล
จิตสับสนไร้หนทาง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๔๐”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๙

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๙…

…อนุวิจฺจการํ กโรหิ…
“จงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ”
…พุทธสุภาษิต อุปาลีวาทสูตร ๑๓/๖๒…

…คำโบราณท่านกล่าวไว้ว่า “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็น ไม่เท่ามือคลำสิบมือคลำ ไม่เท่าทำเอง” เพราะทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ต้องรู้ ต้องเห็นและต้องทำมันจึงจะเข้าใจ ไม่ใช่คิดไป จินตนาการณ์ไปว่ามันคงจะเป็นอย่างนั้น มันคงจะเป็นอย่างนี้ โดยเอาความรู้สึกของตัวเราเองมาเป็นตัวตัดสิน ว่าสิ่งนั้นใช่หรือมิใช่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๙”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๘

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๘…

…ความผิดพลาด ความล้มเหลวหรือความสูญเสียนั้น มันมิใช่ข้อยุติสิ่งเหล่านั้นล้วนแล้ว นำมาซึ่งประสบการณ์ของชีวิต เป็นบทเรียนของชีวิต ที่จะทำให้เราเข้มแข็งและกล้าแกร่งยิ่งขึ้น

…ขอเพียงให้เรายึดมั่นในอุดมคติของเราอย่าได้หวั่นไหว เพราะหนทางที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จนั้น มันต้องฟันฝ่าและเผชิญต่ออุปสรรคปัญหาอยู่ตลอดเวลา อุปสรรคและปัญหาเหล่านั้นคือบทเรียน บททดสอบสติปัญญาและคุณธรรมของเรา

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๘”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๗

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๗…

…สายลมที่พัดผ่าน
หนาวสะท้านทั่วทั้งกาย
สายลมสื่อความหมาย
บอกให้รู้ฤดูกาล

…ยามเช้าที่หนาวเหน็บ
จึงขอเก็บมาเล่าขาน
เรื่องราวของวันวาน
เล่าให้รู้สู่กันฟัง

…ห่างหายและเหินห่าง
เพราะไม่ว่างมีเบื้องหลัง
ภาระที่รุงรัง
ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๗”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๖

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๖…

…บางครั้งในสิ่งที่ไม่อยากจะทำก็ต้องทำและในสิ่งที่อยากจะทำก็ไม่ได้ทำ เพราะว่าทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่กับ จังหวะ เวลา โอกาสสถานที่และตัวบุคคล เป็นเหตุและปัจจัยให้เกิดสิ่งนั้น พิจารณาเป็นธรรมะ มันก็อยู่ในฐานเวทนาหนึ่งในสติปัฏฐาน ๔ คือความยินดีและไม่ยินดี ถ้าเราได้กระทำในสิ่งที่เรายินดี ในสิ่งที่ชอบในสิ่งที่ใช่ใจของเราก็จะมีความยินดีพอใจในสิ่งที่กระทำนั้น

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๖”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๕

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๕…

…ทุกชีวิตย่อมประสพกับอุปสรรคปัญหาด้วยกันทุกคน มากบ้างน้อยบ้างตามกำลังบุญกุศลของแต่ละคนที่ทำมา ไม่มีใครที่จะหนีพ้นอุปสรรคปัญหาไปได้ แต่ในอุปสรรคปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นย่อมที่จะมีทางแก้ไขได้ในทุกปัญหาถ้าหากใช้สติปัญญา ความรู้สึกนึกคิดและจิตที่เป็นกลาง ไม่เข้าข้างความคิดที่ติดอยู่กับผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๕”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๔

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๔…

…บนเส้นทางสายนี้ มีผู้คนใช้สัญจรกันมากมาย มีจุดหมายปลายทางที่แตกต่างกัน หรืออาจจะไปในทิศทางเดียวกัน หลากหลายชีวิตนานาจิตตัง จะให้เหมือนกันทุกอย่างนั้นหาได้ไม่

อ่านเพิ่มเติม “บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๔”

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๓

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๓…

…อารมณ์ที่เกิดขึ้นเหมือนสายลมที่พัดผ่านกาลเวลา ผ่านมาแล้วก็จากไปทิ้งไว้เพียงร่องรอยแห่งความรู้สึกเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับสลับกันไปเมื่อใจไม่ยึดติดและหวั่นไหวกับความคิดทั้งหลายเหล่านั้น ใจของเราก็จะไม่ทุกข์กับอดีตที่ผ่านไปและไม่พะวงกับสิ่งที่ยังไม่มาถึงเพราะจิตนั้นรู้ซึ้งถึงปัจจุบันธรรม…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๔…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๒

…บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๒…

…“เมื่อน้ำนั้นนิ่งใส ก็จะเห็นสิ่งที่อยู่ภายในนั้นชัดเจน ถ้าน้ำนั้นยังกระเพื่อมอยู่ก็เห็นได้ไม่ชัดเจน เปรียบกับจิตที่เป็นหนึ่งหยุดนิ่งย่อมรู้หมด มีอะไรรู้หมด เห็นกายเห็นจิตของตนเองได้แล้วก็ย่อมจะรู้และเข้าใจในกายและจิตของผู้อื่นเช่นกัน”

…วิถีของนักเดินทาง
จงอย่าได้หวั่นไหว
ต่อความยากลำบาก
ที่จะต้องพบเจอ
ในหนทางข้างหน้า
ยิ้มรับกับอุปสรรค
และปัญหาที่มีมา
ชีวิตนี้ก็ไม่มีความทุกข์…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๔…

บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๑

..บันทึกไว้เพื่อความทรงจำ บทที่ ๓๑…

…“อย่าไปหวั่นไหวกับกระแสโลกจนเกินไป คืออย่าไปยินดี ยินร้ายกับคำสรรเสริญและคำนินทา ความสุขหรือความทุกข์ และลาภยศทั้งหลายอย่าไปหวั่นไหวกับมัน เพราะว่าความหวั่นไหวนั้น มันจะทำให้เราขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวของเราเองเรียกว่าเป็นคนไม่แน่นอน ทำอะไรไม่แน่นอน จิตนั้นย่อมทุรนทุรายหวั่นไหวไปกับโลกธรรม นำมาซึ่งความทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเราวางใจให้อยู่เหนือโลกธรรมได้เมื่อไร ใจของเรานั้นก็จะเป็นสุข”…

…ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต…
…รวี สัจจะ – สมณะไร้นาม…
…๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๔…