ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๐

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๐…

…“อย่าทำดีเพียงเพื่อ…ดีกว่าคนอื่น”…

…การทำความดีนั้นจิตใจของเราต้องดีด้วยและไม่มีเจตนาแอบแฝง โดยหวังผลประโยชน์ตอบแทนกลับมา อย่างเช่นทำไปเพื่อให้เขาชมว่าเราดีกว่าคนนั้นคนนี้เรียกว่าทำดีเพื่อเอาดีมาข่ม

…ความคิดอย่างนั้น ภาษาพระท่านเรียกว่ามีความปรารถนาลามก หรือทำดีเพื่อหวังเอาหน้า ให้เขาประกาศให้เขาโฆษณาชื่อเราพอเขาไม่ประกาศชื่อก็น้อยใจ ความน้อยใจนั้นแหละมาตัดกำลังบุญที่จะได้รับ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๗๐”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๙

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๙…

…ชีวิตเคยผ่านร้อนผ่านหนาวผ่านเรื่องราวหลายหลากมามากมายดีและชั่วล้วนแล้วเคยกระทำมาสุขทุกข์ด้วยกิเลสตัณหาเคยพบพานก้าวเดินย่างผ่านบนโลกธรรมทั้งแปดประการ ลาภ ยศ สรรเสริญสุข ทำให้เราลุ่มหลงมัวเมา เสื่อมยศเสื่อมลาภ นินทา ทุกข์ ทำให้เราเศร้าอนิจจา…โลกนี้มันเป็นเช่นนั้นเอง…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๙”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๘

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๘…

…ถ้าหากเราทำงานเพื่อหวังผลของงานเราจะมีความรู้สึกว่า มันหนัก มันเหนื่อยมันมีความวิตกกังวลใจ เพราะว่าใจของเรานั้นมันเข้าไปยึดถือ มันจึงเป็นทุกข์

…แต่ในทางกลับกัน หากเรานั้นทำงานเพื่อเป็นการปฏิบัติธรรม เพื่อทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ โดยไม่คาดหวังผลผลนั้นจะออกมาอย่างไร เรายอมรับในผลที่ออกมา ใจเราก็จะไม่ทุกข์ ไม่กังวลมีแต่ความปีติสุขจากการที่ได้ทำ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๘”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๗

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๗…

…”เมื่อน้ำนั้นนิ่งใส ก็จะเห็นสิ่งที่อยู่ภายในนั้นชัดเจน ถ้าน้ำนั้นยังกระเพื่อมอยู่ก็เห็นได้ไม่ชัดเจนเปรียบกับจิตที่เป็นหนึ่ง หยุดนิ่งย่อมรู้หมด มีอะไรรู้หมด เห็นกายเห็นจิตของตนเองได้แล้ว ก็ย่อมจะรู้และเข้าใจในกายและจิตของผู้อื่นเช่นกัน “…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๗”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๖

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๖…

…จิตระลึกถึงสุภาษิตบทหนึ่งขึ้นมาเป็นโพธิสัตว์คาถาที่ว่า…

…” อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ อธุรายํ นิยุญํํชติ
ทุนฺนโย เสยฺยโส โหติ สมฺมา วุตฺโต ปกุปฺปติ
วินยํ โส น ชานาติ สาธุ ตสฺส อทสฺสนํ “…

…แปลความว่า…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๖”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๕

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๕…

…แต่ละวันที่ผ่านไปนั้น มีเรื่องราวมากมายที่ได้ผ่านเข้ามาในชีวิตที่ทำให้เราคิดและต้องทำ มีผัสสะสิ่งกระทบมากมาย ให้เรานั้นได้รับรู้เราจึงควรจะจดจำเพียงสิ่งที่มีประโยชน์และเป็นสาระ ส่วนสิ่งที่เป็นขยะทางความคิดลบมันไปไม่จดจำใช้สติใคร่ครวญ ทบทวนสิ่งที่ผ่านเข้ามา ว่าสิ่งไหนเป็นสาระ สิ่งไหนไม่เป็นสาระ พิจารณาให้เห็นคุณเห็นโทษ เห็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาพิจารณาเข้าสู่ความเป็นกุศลและอกุศล…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๕”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๔

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๔…

…เมื่อจิตเข้าสู่ความเป็นสมาธิ มีความสงบนิ่งอยู่ มีสติระลึกรู้ในสภาวะแห่งความสงบ เราก็จะพบกับความเป็นจริงทุกสิ่งจะเข้าสู่ความเป็นระบบ

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๔”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๓

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๓…

…ไม่เคยหวังพึ่งโชคชะตาวาสนาบารมีอยู่กับสิ่งที่มีและสิ่งที่เป็นไปได้ โดยการลงมือกระทำ เพราะตนคือที่พึ่งของตนทุกสิ่งมันต้องเริ่มต้นจากตัวของเราเององค์ประกอบภายนอกนั้นคือสิ่งที่ช่วยส่งเสริมเติมต่อในสิ่งที่เราก่อเริ่มไว้ไม่ยึดติดอยู่กับความฝันอันเป็นเพียงจินตนาการ เชื่อมั่นศรัทธาในการลงมือกระทำ…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๓”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๒

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๒…

…”ภายนอกเคลื่อนไหว ภายในสงบนิ่ง” คำว่าสงบนิ่งนั้น หมายถึงการไม่หวั่นไหวไปตามกระแสโลกทั้งหลายไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งที่ประสพพบเห็นวางใจให้เป็นกลาง มองทุกสิ่งอย่างด้วยเหตุและผล ซึ่งอยู่บนหลักแห่งธรรม นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านได้กล่าวสอนไว้ว่า “ให้ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง”คือว่างจากกิเลส คือว่างจากตัณหาและอัตตา พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นธรรมะ ให้สอดคล้องกันทั้งในทางโลกและทางธรรม

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๒”

ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๑

…ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๑…

…เดินไปในเส้นทางธรรม พยายามที่จะดำเนินชีวิตไปตามพระธรรมเดินตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เท่าที่จะทำได้ ตามกำลังสติปัญญาและบุญกุศลของเรา ไม่ใช่เป็นการเห็นแก่ตัว แต่เราต้องเอาตัวของเราให้รอดเสียก่อน ก่อนที่เราจะไปช่วยผู้อื่น ก่อนที่จะไปสอน ไปแนะนำผู้อื่นต้องรู้ ต้องเข้าใจและทำได้ ให้รู้จริง

…เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการแนะนำสั่งสอนเขา ต้องฝึกหัดปฏิบัติที่ตัวเราให้เกิดความกระจ่างชัดในสภาวธรรมทั้งหลาย ทำความรู้ความเข้าใจของเรานั้น ให้ถูกต้องสอดคล้องในหลักธรรม ก่อนจะนำไปเผยแผ่แก่คนทั้งหลาย…

อ่านเพิ่มเติม “ใคร่ครวญธรรมตามกาลเวลา บทที่ ๖๑”